เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

ผู้เขียน: ถาวร สิกขโกศล

สำนักพิมพ์: ศยาม/Sayam

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

351.00 บาท

390.00 บาท ประหยัด 39.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

เล่าเบื้องหลังข้อเท็จจริง ปูชนียบุคคลต้นแบบเอกลักษณ์ หลักวิชา แนวทางคุณธรรม < แสดงน้อยลง เล่าเบื้องหลังข้อเท็จจริง ปูชนียบุคคลต้นแบบเอกลักษณ์ หลักวิชา แนวทางคุณธรรม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: ประวัติและวิจารณ์ , ดนตรีไทย , โหมโรง , ศิลปวัฒนธรรม , เครื่องดนตรี

351.00 บาท

390.00 บาท
390.00 บาท
ประหยัด 39.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
384 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 20.9 x 2.1 CM
น้ำหนัก
0.477 KG
บาร์โค้ด
9789743159282

รายละเอียด : เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เรื่อง "โหมโรง" สร้างขึ้นจากชีวประวัติของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง พ.ศ.2424-2497) ในเรื่องมี "นายศร" ซึ่งเป็นชื่อจริงของท่านเป็นพระเอก แต่ได้สร้างตัวละครสมมติจากครูดนตรีไทยผู้ยิ่งใหญ่อีก 2 ท่าน คือ ขุนอินทร์ ตัวจริงคือ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน พ.ศ.2409-2492) เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงปลายรัชกาลที่5 ครูเทียน ตัวจริงคือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์ พ.ศ.2403-2467) เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่6 ในชีวิตจริง หลวงประดิษฐไพเราะเมื่อครั้งยังเป็นจางวางศรของวังบูรพาได้ประชันระนาดกับนายแช่ม คนระนาดเอกวังบ้านหม้อ ซึ่งในภาพยนตร์ใช้ชื่อสมมติว่า ขุนอินทร์ โดยมีครูแปลก ซึ่งในภาพยนตร์ใช้ชื่อสมมติว่า ครูเทียน เป็นครูชี้แนะและ "ติวเข้ม" ให้นายศร ตามเรื่องในภาพยนตร์และละคร นายศร "ชนะขาด" และขุนอินทร์เป็น "ตัวโกง" ที่ชั่วร้าย แต่ตัวตนของขุนอินทร์คือพระยาเสนาะดุริยางค์เป็นครูดนตรีผู้ยิ่งใหญ่และประเสริฐยิ่งคนหนึ่งในประวัติการดนตรีไทย มีผลงานทางดนตรีโดดเด่นไปคนละด้านกับหลวงประดิษฐไพเราะ ที่สำคัญเป็นคนที่หลวงประดิษฐไพเราะชื่นชมยกย่องมากคนหนึ่ง ดังหลักฐานที่จะกล่าวถึงข้างหน้า และผลประชันจริงก็ "ก้ำกึ่ง" เพราะนายศรชนะ "ไหว" นายแช่มชนะ "จ้า" อีกทั้งการชนะไหวนั้นก็ไม่ "เอกฉันท์"


สารบัญ : เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

    • เสนาะดุริยางค์ เจ้ากรมปี่พาทย์วังหลวง
    • สุนทร นามสกุลพระราชทาน
    • พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ขุนอินทร์ตัวจริงผู้ยิ่งใหญ่
    • ตัวตนจริงของ "ครูเทียน" "พระกาฬ" ผู้ไม่เคยแพ้ใคร ในยุทธจักรดนตรีไทย
    • หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) พระเอกในภาพยนตร์เรื่องโหมโรง

เนื้อหาปกหลัง : เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

ตัวตนจริงของขุนอินทร์ ครูเทียน จางวางศร และปรมาจรย์ในยุทธจักรการะประชันระนาดในเรื่อง "โหมโรง" และการประชันปี่ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กล่าวถึง ความรู้เรื่องดนตีไทยที่อ่านสนุก แหมะสำหรับครู นักศึกษาวิชาดนตรีไย ละผุ้สนใจทุกคน

รีวิวโดยผู้เขียน : เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

เรื่อง เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย นี้เสนอเรื่องราวของยอดฝีมือในยุทธจักรดนตรีไทยและความจริงอันอยู่เบื้องหลังการประชันระนาดเอกในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" เรื่องของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ตัวตนจริงของ "ขุนอินทร์" และเรื่องของพระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ตัวตนจริง "ครูเทียน" นั้นปรับปรุงเพิ่มเติมจากบทความที่เขียนลงนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ส่วนเรื่องความยิ่งใหญ่ของครูหลวงประดิษฐไพเราะนั้นเขียนขึ้นใหม่ทั้งหมดและยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน โดยได้เขียนเรื่องของพระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก ดุริยางกูร) ไว้ข้างต้นด้วย เพราะเป็นบุคคลสำคัญของดนตรีสำนักประดิษฐไพเราะ ทั้งยังมีเรื่องของครูช้อย สุนทรวาทิน อัจฉริยะศิลปินดนตรีตาบอดและครูท่านอื่นตลอดจนเรื่องอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมีข้อมูลด้านประวัติการดนตรีไทยในแง่มุมต่างๆ อยู่หลากหลาย อ่านสนุก น่าสนใจ ในการเขียนนั้น เขียนไปตามแรงบันดาลใจและความรู้สึกนึกคิดในแต่ละช่วง ต่างเวลากัน ทำนองเขียน จึงออกจะต่างกันไปด้วย ซึ่งผู้อ่านพอจะรับรู้ได้เมื่ออ่านในแต่ละช่วงแต่ละตอน

ถาวร สิกขโกศล



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย

อันที่จริงภายใน เจ้ายุทธจักรดนตรีไทย เล่มนี้ นอกจากมีรายละเอียดเรื่องความเป็นมาของพระยาประสานดุริยศัพท์ พระยาเสนาะดุริยางค์ หลวงประดิษฐไพเราะ ที่บรรยายไว้อย่างลึกซึ้งถึงบรรพชนต้นตระกูลแล้ว ส่วนหนึ่งก็ยังอธิบายบริบทแวดล้อมทางประวัติศาสตร์สังคมไทยสมัยนั้น สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันเป็นเครือข่ายอำนาจทางวัฒนธรรมดนตรีไทยแต่ละสำนักซึ่งมีหลักวิชาที่โดดเด่นแตกต่างกัน โดยแสดงหลักคุณธรรมและคำสอนของครูผู้เป็นเจ้าสำนักแต่ละท่านไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด ที่น่าสนใจคือเรื่องการใช้พลังฝีมือเฉพาะทางของตนเองบรรเลงเพลงประชันแข่งขันต่อสู้ เพื่อต้องการรู้ผลแพ้ชนะและอวดขั้นเชิงทักษะที่สูงส่งเหนือกว่าอีกฝ่าย วิถีทางดูคล้ายกับการแสวงหาอำนาจและบทบาทผู้นำภายในอาณาจักรของนักดนตรี โดยมีวิชาความรู้พร้อมทั้งเครื่องดนตรีคู่มือเป็นอาวุธ นำไปสู่จุดสูงสุดหรือประสบความสำเร็จบนฐานวัฒนธรรมที่รองรับด้วยระบบอุปถัมภ์ตามแนวคิดเชิงปัจเจกบุคคล อันเป็นปรากฏการณ์อีกด้านหนึ่งที่เปี่ยมไปด้วยสีสันบรรยากาศในมิติทางประวัติศาสตร์ดนตรีไทยสมัยรัตนโกสินทร์

เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว