รายละเอียด : Re-Learniong : จากเรียนรู้สู่เรียนคิด
Re-Learniong : จากเรียนรู้สู่เรียนคิด
"เมื่อใดที่ห้องเรียนเป็นพื้นที่แ่ห่งอำนาจเด็กจะไม่กล้าคิด เมื่อไม่กล้าคิด ก็ไม่เกิดความคิดหลากหลายมาแชร์กันมันก็ไม่เกิดความสัมพันธ์ในการ ถาม ตอบ เถียง โต้แย้ง เรียนรู้ เอาข้อมูลที่เถียง ที่โต้แบ่ง มาประมวลสรุป...มันไม่มีก็ต้องรอฟังอย่างเดียวหรือหลายเป็นว่าฉันต้องเชื่อครูอย่างเดียว"
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในปัญหาที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไทยเอาไว้ไม่ให้ไปไหน หนีไม่พ้นมหากาพย์ด้านการศึกษา แม้จะมีผู้หาญกล้าอาสาช่วยแก้มาโดยตลอด
เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงหลายมิติ ทั้งยังฝักรากลึกเกินกว่าจะขุดรากถอนโคนขึ้นมาแก้ไขได้หมดในคราวเดียว การจะสังคายนาปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งในภาพลึก ภาพกว้าง และภาพรวม
คำนำ : Re-Learniong : จากเรียนรู้สู่เรียนคิด
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรียกร้องให้มนุษย์พัมนาทักษะชีวิตมากยิ่งขึ้น จากเดิมทักษะขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีคือ อ่านออก เขียนได้คิดคำนวณเป็นแต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านโลกมีความซับซ่อนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงความเท่าทันในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิตอล
จนมาถึง พ.ศ. ปัจจุบัน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมนุษย์ยุคนี้ต้องมีทั้งทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ สามารถปรับตัวเข้าทุกสถานการณ์ คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นจัดการตนเองได้โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นมาคอยสั่งการ
คุณลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมานี้กล่าวนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ หากต้องผ่านการบ่มเพาะปลูกฝันอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ที่บ้านไปจนถึงรั้วโรงเรียน
งานวิจัยด้านการศึกษาของ รศ.ดร.สุะีระ ประเสริฐสรรพ์ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา มุ่งคลายปมปัญหาของระบบการศึกษาไทยอย่างลงลึกถึงระดับพลิกฟื้นจิตวิญญาณครู จัดสมดุลเชิงอำนาจใหม่ระหว่าง "ผู้สอน" กับ "ผู้ถูกสอน" พร้อม ๆ กับออกแบบกระบวนการเรียนการสอนที่กระดับจากการ "เรียนรู้" สู่การ "เรียนคิด" ให้ทั้งครูและผู้เรียนได้ฝึกการตั้งคำถาม การสังเกต ทดลอง ฝึกฝนทักษะการคิดอย่างอิสระ คิดอย่างมีตรรกะ คิดอย่างเป็นเหตุผล มิใช่เพียงการท่องจำเหมือนเช่นในอดีต
เป็นความจริงที่ว่า ประเทศไทยล้มลุกคลุกคลานกับระบบการศึกษามานานเกินกว่าจะเรียกร้องให้มีการปฏิรูปตาบเท่าที่ยังไม่มีใครลงมือทำเสียตั้งแต่วันนี้ ย่อมไม่มีทางบรรลุผลสำร็จ จุดนี้เองที่ท รศ.ดร.สุธีระ ได้ทำให้เห็นแล้วว่าการลงมือทำวิจัยจากภาคทฤษฏีไปสู่ภาคปฏิบัตินั้นสามารถทำได้จริง