สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

ผู้เขียน: สุภางค์ จันทวานิช

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

351.00 บาท

390.00 บาท ประหยัด 39.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

ความต้องการเผยแพร่ข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้ยังปรากฏในวาระสำคัญต่าง ๆ < แสดงน้อยลง ความต้องการเผยแพร่ข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้ยังปรากฏในวาระสำคัญต่าง ๆ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: สำเพ็ง , ไชน่าทาวน์ , ชุมชนชาวจีน , เยาวราช

351.00 บาท

390.00 บาท
390.00 บาท
ประหยัด 39.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.4 x 25.6 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.404 KG
บาร์โค้ด
9789740335122

รายละเอียด : สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

ความต้องการเผยแพร่ข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้ยังปรากฏในวาระสำคัญต่าง ๆ ของชุมชน เช่น งานฉลองสมณศักดิ์ของพระภิกษุในวัดที่ตั้งอยู่ในสำเพ็งได้แก่ งานวันบำเพ็ญกุศลวันอดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์และสมโภชหิรัญบัฏผู้ช่วยเจ้าอาวาส งานตรุษจีน งานเปิดตัวศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชหรือพิพิธภัณฑ์ที่วัดไตรมิตร ฯลฯ บรรณาธิการได้รับคำขออนุญาตใช้ข้อมูลจากหนังสือสำเพ็งในวาระเหล่านี้และได้รับการบอกเล่าจากหนึ่งในคณะผู้เขียนว่าหนังสือเล่มนี้มีพลังในการสื่อสารสร้างความเข้าใจได้ง่าย โดยการนำเสนอในรูปบทความ เหมาะแก่การขยายวงนักวิจัยไปยังกลุ่มนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลับ สิ่งนี้ช่วยยินยันว่าหนังสือสำเพ็งยังคงเป็นที่ต้องการในวงกว้างและมีประโยชน์ในการเรียนรู้ทั้งในกระบวนการผลิตองค์ความรู้และผลผลิตที่สำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มหนังสือ นอกจากนั้นยังได้มีการหารือถึงการแปลหนังสือนี้เป็นภาษาจีนด้วย เพื่อใช้เผยแพรในหมู่ผู้อ่านที่ใช้ภาษาจีน แต่การหารือดังกล่าวยังคงไม่คืบหน้าไปสู่การปฏิบัติ


คำนำ : สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

หนังสือ "สำเพ็ง : ประวัติศาสตร์ชุมชนจีนในกรุงเทพฯ" ได้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2548 โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับความสนใจจนไม่มีหนังสือเหลืออยู่ในท้องตลาด สถาบันเอเชียศึกษาจึงได้ดำริที่จะจัดให้มีการตีพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยมีนโยบายให้บรรณาธิการเสนอให้สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับเป็นผู้จัดพิมพ์เผยแพร่บรรณาธิการจึงได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับใหม่ให้เป็นไปตามแนวทางในคู่มือการจัดทำต้นฉบับเพื่อส่งสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับภาพประกอบในหนังสือ และการเพิ่มบทความใหม่เรื่องชวนชิมในเยาวราช ตามคำแนะนำของ รศ. ดร.สุเนตร ชตินทรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาในขณะนั้น

ในช่วงเวลาที่หนังสือ "สำเพ็ญ : ประวัติศาสตร์ชุมชนจีนในกรุงเทพฯ" ขาดตลาดได้มีผู้เรียกร้องให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ใหม่ เพราะความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนจีนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลทั้งทางวิชาการและเหตุผลด้านอื่น ๆ

ในทางวิชาการ การศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ การเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์เข้าไปอยู่ในสังคมหรือชุมชนใหม่ การบูรณาการเข้ากับคนกลุ่มอื่นในพื้นที่ใหม่ เครือข่ายทางสังคมที่กลุ่มสร้างขึ้น เช่น สมาคมแซ่ ตำบล อำเภอ สมาคมภาษาพูด ศาลเจ้า ฯลฯ การสร้างอัตลักษณ์ที่ผนวกเอาคุณลักษณะจากพื้นที่ต้นทางเข้ากับพื้นที่ปลายทาง องค์ความรู้เหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการ ชุมชนสำเพ็งอาจถือเป็นตัวอย่างคลาสสิกที่ผู้สนใจจะถอดบนเรียนให้เข้าใจความคลี่คลายของกลุ่มชาติพันธุ์เชื่อสายจีน ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายร้อยปี นับได้ถึง 3-5 ชั่วอายุคนในสมัยรัตนโกสินทร์ ความคลี่คลายดังกล่าวมีทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อะไรที่ผู้คนในสำเพ็งเลือกเก็บไว้? และอะไรที่เขาเหล่านั้นได้สละไปทั้งโยเต็มใจหรือฝืนใจ ? ความเข้าใจนี้เป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้วิเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้ทั้งในและนอกประเทศไทย เป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อความเข้าใจปัจจุบันและเห็นแนวโน้มในอนาคต


สารบัญ : สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

    • สำเพ็ง : ประวัตศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพฯ
    • จากผืนน้ำสู่แผ่นดิน จากตรอกเล็กสู่ถนนใหญ่ : คลองถนนซอย สะพาน และการคมนาคมในสำเพ็ง
    • การค้าและการขนส่งในย่านสำเพ็ง : จากท่าเรือสำเภาสู่ท่าเรือกลไฟ
    • สำเพ็ง : แหล่งรวมเศรษฐกิจ แหล่งรวมความบันเทิง
    • สำเพ็งกับพราราชวงศ์จักรี
    • วัดจักรวรรดิราชวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม)
    • ชวนชิมในเยาวราช

เนื้อหาปกหลัง : สำเพ็ง ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพ

เมื่อพูดถึงไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ คนจะต้องเอ่ยชื่อเยาวราช เพราะเยาวราชคือไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ แต่มีไม่กี่คนที่รู้ว่าชื่อเดิมของไชน่าทาวน์แห่งนี้คือสำเพ็ง สันนิษฐานกันว่าชื่อสำเพ็งมาจากคำว่า "สามแพร่ง" ที่คนจีนออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเพ็ง สามแพร่งหรือสำเพ็งที่เป็นต้นกำเนิดไชน่าทาวน์ตั้งอยู่ใกล้สามแยกหน้าวัดปทุมคงคา (วัดสำเพ็ง) ที่แยกออกไปเป็นตรอกวานิชและถนนทรงวาด (ตรอกวานิชก็คือชื่อใหม่ของตรอกสำเพ็งเติม) เป็นบริเวณที่ชุมชนชาวจีนย้ายเข้ามาอยู่หลังจากการเริ่มตั้งกรุงรัตโกสินทร์และพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ.2325 ชื่อสำเพ็งอยู่กับชุมชนจีนมาเป็นเวลากว่า 200 ปี จึงมีชื่อเรียกที่เกี่ยวข้องกับคำว่าสำเพ็ง เช่น งั้วสำเพ็ง ผู้หญิงสำเพ็ง ตรอกสำเพ็ง จวบจนเมื่อมีการตัดถนนใหม่ผ่านสำเพ็งในช่วงปี พ.ศ. 2435-2443  และถนนนี้ได้รับชื่อพระราชทานว่าถนนเยาวราช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวิรุณหิศ ชื่อเยาวราชจึงเกิดขึ้นในภายหลัง แต่กระนั้นคนก็ยังเรียกย่านนี้ว่าสำเพ็งต่อมาอีกนาน แห่งนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ถึงรากเหง้าความเป็นมาของสำเพ็งจากต้นกำเนิด

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว