รายละเอียด : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
เศรษฐกิจพอเพียงก็คือเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน เศรษฐกิจแบบนี้ตอบสนองความต้องการด้วยผลผลิตจากธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ผู้ปฏิบัติตามนี้ จะสามารถอุ้มชูตัวเองได้ ถ้าระบบเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการพัฒนาให้เกิดมรรคเกิดผลขึ้นทั่วไปในประเทศก็มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะอยู่รอดได้อย่างแน่นอน ถ้าประเทศไทยจะอยู่รอด ก็ต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียง
คำนำ : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
ความต้องการของคนเรานี่แหละ ทำให้เกิดเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคน แต่ความต้องการของคนเรานี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑) ความต้องการอันไม่มีขอบเขตหรือไม่จำกัด ได้แก่ ความต้องการสิ่งเสพปรนเปรอตน ซึ่งจัดเป็นตัณหาฝ่ายชั่ว
๒) ความต้องการอันมีขอบเขตหรือจำกัด ได้แก่ ความต้องการคุณภาพชีวิต ซึ่งจัดเป็นฉันทะฝ่ายดี
ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ครอบงำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอยู่นี้ เป็นระบบเศรษฐกิจที่การผลิตมุ่งหมายรับใช้ตัณหา ความทะยานอยาก แล้วนำไปสู่การแข่งขัน ช่วงชิง การเอารัดเอาเปรียบ เกิดการต่อสู้กันระหว่างคนกับคน ทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิต ความรุนแรงในสังคม รบกวนสันติภาพมาตลอด
คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นทุกข์นี้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงมองเห็นอย่างแจ่มชัด จึงมีพระราชดำริยุทธศาสตร์ในทางเศรษฐกิจเสียใหม่ โดยทรงเสนอ "เศรษฐกิจพอเพียงจากรากฐานของมัชฌิมาปฏิปาในพระพุทธศาสนา"
เศรษฐกิจพอเพียง ก็คือเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน เศรษฐกิจแบบนี้ มีความต้องการตอบสนองความต้องการด้วยผลผลิตจากธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ผู้ปฏิบัติตามนี้จะสามารถอุ้มชูตัวเองได้ มีชีวิตอยู่ดีมีสุขพอสมควร ไม่เดือดร้อน ที่แรกตั้งตัวเองให้พอมีพอกันให้ได้ก่อน ถ้าสามารถจึงค่อยสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ขยับขยายสูงขึ้นไปอีกได้
ถ้าระบบเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการพัฒนาให้เกิดมรรคเกิดผลขึ้นได้ทั่วไปในประเทศ ก็มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะอยู่รอดได้อย่างแน่นอน ถ้าประเทศไทยจะอยู่รอดได้ ก็ต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียง
อุดมพร อมรธรรม
สารบัญ : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
- ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของพระเจ้าอยู่หัว
- ความเข้าใจเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"
- การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุตสาหกรรม
- ทฤษฎีใหม่ วิถีไทยพอกิน ไม่อดอยาก
- ให้มีพอกินพอใช้ก่อน จึงค่อยขยับขยาย
- วิถีชีวิตพอเพียง
- เศรษฐกิจพอเพียง งดงามด้วยวัฒนธรรมชาวพุทธ
- พึ่งตนเองให้ได้
- ดำเนินชีวิตไม่ประมาท
- ทำงานให้สนุก เป็นสุขอยู่ด้วยการงาน
- เสริมหัวใจเศรษฐี มีวิธีปฏิบัติต่อทรัพย์สินเงินทอง
- มีหลักแห่งความสำเร็จ