รายละเอียด : จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ปราชญ์แห่งกลศึก เล่ม 2
จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ปราชญ์แห่งกลศึก เล่ม 2
นิยายอิงพงศาวดารเรื่องสามก๊ก แต่งแต้มจูกัดเหลียงหรือขงเบ้งไว้มากมายใช้หรือฟางยืมธนูและกลเมืองร้างเป็นต้น ล้วนพิสดารพันลึกจนยากจะเชื่อชาวบ้านร้านถิ่นก็แต่งแต้มสีสันจนลึกลับดุจเพยดาพันกว่าปีมานี้จูกัดเหลียงตัวจริงจมอยู่ในค่ำร่ำลือเกินจริงและนิทานหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอจูกัดเหลียงตัวจริงที่มีเลือดมีเนื้อมีรักมีอารมณ์ และมีความฉลาดล้ำลึกในการวางกลศึกตลอด 50 ปีในชีวิตของเขา
ยึดจิบโจว จูกัดเหลียงวาดภาพข้างตัวอักษร "จิงโจว" : "หากโจโฉถอยร่นขึ้นเหนือจิงโจวจะว่างลง เราจึงนำทัพเข้าสยบได้" เล่าปี่ลังเลแล้วกล่าวว่า "จิวยี่ อยู่ที่นี่จะยึดจิงโจวหาได้ไม่!" จูกัดเหลียงกล่าวอย่างมั่นใจว่า "ให้พวกเขาแย่งชิงกับโจโฉทางฝั่งเหนือพวกเราจัดทัพเล็กโจมตีสี่แคว้นของเจียงหนาน!
สยบสู่ฮั่น จูกัดเหลียงยิ้มพราย "พอฉางฝางตายก็จะทำให้จูโพคลายใจจากทางการและไม่ถึงกับวุ่นวายดังแคว้นจังเคอ" เตียวติดงุนงง ถามว่า "ท่านมหาเสนาบดีสละฉางฝางจะมิทำให้จูโพกบฏหรือ?" "ไม่ถอก" จูกัดเหลียงกล่าวอย่างเยือกเย็นว่า "แต่จะทำให้จูโพกบฏช้าลง" เตียวติด เงียบเงิน เสียสละคนผู้หนึ่งเพื่อให้แคว้นสู่ฮั่นมีเวลาอาจเป็นวิธีเดียวที่เป็นไปได้
คำนำ : จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ปราชญ์แห่งกลศึก เล่ม 2
ดูจากประวัติศาสตร์จีนแล้ว คงไม่มีใครเปี่ยมด้วยเสน่ห์เกินหน้าจูกัดเหลียงและมีแฟนคลับมากขนาดนี้ การแนะนำตัวเขาเป็นเรื่องเกินความจำเป็น ชาวจีนทุกรูปทุกนามต่างก็รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้ว คนผู้นี้แทบจะกลายเป็นเทพเจ้าไปแล้ว
และไม่ใช่เทพเจ้าธรรมดา หากยังเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาสมบูรณ์แบบ ความซื่อสัตย์ภักดีสมบูรณ์แบบและยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบหลังผ่านการแต่งแต้มมาหลายพันปีการยกย่องบูชาทำเอาใบหน้าของจูกัดเหลียงถูกแต่งเติมด้วยสีสันชั้นแล้วชั้นเล่าคล้ายหินดินที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ และโฉมหน้าที่แท้จริงภายใต้สีสันกลับถูกกลบไปจนหมดสิ้น ชนรุ่นหลังดื่มด่ำอยู่กับสีสันที่แต่งเติมและรัศมีของเทพเจ้า จนค่อย ๆ ลืมเลือนไปแล้วแทบจะไม่มีใครสามารถบอกหน้าเดิมของขงเบ้งได้ว่าเป็นอย่างไร
ผมเชื่อว่าถ้าขงเบ้งมาเกิดใหม่ก็คงไม่อยากเห็นตนเองถูกเสริมแต่งเช่นนี้จูกัดเหลียงไม่ใช่เทพ จูกัดเหลียงคือมนุษย์ เขาควรจะเหมือนคนทั่วไป มีทุกข์มีสุข มีโกรธมีเศร้า มีความรักและความชัง เขาคงมีบ้างที่ขลาดกลัวและคงมีสิ่งที่เขาหวาดเกรง บางครั้งคงหัวเราะฮ่าฮ่าและบางครั้งก็คงสลดใจให้เห็นบ้าง นี่จึงจะเป็นจูกัดเหลียงขงเบ้งที่มีเลือดมีเนื้อโดยมิใช่รูปปั้นที่ไร้ชีวิตในวัดวาศาลเจ้า เราจำเป็นต้องเช็ดล้างคราบไคลของสีสันออกไป เผยให้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริง รู้จักกับขงเบ้นตัวจริงที่นุ่มนวลเป็นกันเองและมีชีวิตชีวา
รีวิวโดยผู้เขียน : จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ปราชญ์แห่งกลศึก เล่ม 2
วรรณกรรมนิยายอิงพงศาวดารเรื่องสามก๊กเป็นที่นิยมของชาวจีนทุกยุคทุกสมัย มีผู้สนใจค้นคว้าและเขียนเพิ่มเติมอยู่บ่อยครั้งจนปัจจุบันในประเทศจีนมีหนังสือเกี่ยวกับสามก๊กหลายสิบเวอร์ชั่นแต่นี่เป็นครั้งแรกที่นำเอาจู่กัดเหลียงมาเขียนเป็นนวนิยาย โดยอ้างอิงชีวประวัติจูกัดเหลียงที่ผ่านการค้นคว้าถึงสิบปี และใช้เวลาในการเขียนนานสองปีครึ่ง จูกัดเหลียงคือบุคคลระดับหัวใจของสามก๊ก เพราะเล่าปี่ผู้รำศึกระเหเร่ร่อนมานานร่วมยี่สิบปี ลงหลักปักฐานสำเร็จหลังพบกับจูกัดเหลียงวัยยี่สิบหก ทำให้แผ่นดินจึนเมื่อพันแปดร้อยปีก่อนอยู่ในสภาพยันกันเป็นสามก๊ก จึงกล่าวได้ว่าจูกัดเหลียงคือจุดเริ่มต้นของก๊กที่สาม และทำให้ในเวลาต่อมาแผ่นดินจีนมีฮ่องเต้สามพระองค์ในยุคเดียวกัน
หนังสือชุดนี้ผู้เขียนใช้กลวิธีการเขียนโดยยึดตัวจูกัดเหลียงเป็นแกน แล้วนำเอาบุคคลและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องมาเรียงร้อยพันรอบแกนนี้โดยแยกออกเป็นหลายหมวด แต่ละหมวดมีหลายบทตามท้องเรื่อง ส่วนสถานการ์แผ่นดินโดยรวมย่อไว้ที่ต้นหมวดและท้ายหมวดขณะเดียวกันก็ปล่อยตัวละครออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้อ่านจึงไม่สับสนได้ทั้งอรรถรสการอ่านนวนิยายและประวัติศาสตร์ในเวลาเดียวกัน
ในประเทศไทยมีการแปลวรรณกรรมสามก๊กมานานกว่าสองร้อยปี คือตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งในยุคก่อนการแปลชื่อตัวละครและสถานที่ใช้สำเนียงฮกเกี้ยนซื่นซินแสที่มาอยู่ในคณะการแปลมีหลายคน ทำให้มีความลักลั่นเรื่องชื่อเฉพาะอยู่มาก ทำให้เป็นการยากที่จะทราบว่าชื่อเดิมในภาษาจีนคืออะไร อีกทั้งสามก๊กมีตัวละครถึงพันกว่าชื่อและชื่อสถานที่อีกหลายร้อย จึงทำให้คนรุ่นใหม่ค่อนข้างขยาดในการอ่านสามก๊กด้วยจำไม่หวาดไม่ไหวและสับสน ด้วยเหตุที่ไทยเราส่งเสริมการเรียนภาษาจีนกลางมาร่วมสามสิบปีแล้ว จึงทำให้คนไทยซึ่งไม่ว่าจะรู้เรื่องสามก๊กมากเท่าใดก็คุยกับคนจึนไม่รู้เรื่องเพราะเหตุผลทางสำเนียงดังกล่าว
ขอคารวะ
ชาญ ธนประกอบ
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ปราชญ์แห่งกลศึก เล่ม 2
นวนิยายจีนขนาดยาวอิงชีวประวัติบุคคลในประวัติศาสตร์จีนช่วงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกถึงสมัยสามก๊กชุดนี้เล่าถึงจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ตัวละครหนึ่งที่โดดเด่นในวรรณากรรมสามก๊กในภาพลักษณ์ผู้ใฝ่รู้หลายแขนงวิชา หลักแหลม สุขุมคัมภีรภาพรุ่มรวยคารมคมคาย วิถีชีวิตแสนสามัญ การเดินเรื่องสลับฉากไปมาระหว่างพัฒนาการของความสัมพันธ์ต่าง ๆ และบริบทแวดล้อม เช่น ผู้คนในครอบครัว เพื่อน คนรัก ไปจนถึงเหล่านักรบ ขณะที่บรรยากาศบ้างเมืองห่มไว้ด้วยข่าวคราวศึกสงครามระหว่างทัพ กองศพ และขบวนผู้เร่ร่อน
ยรั่วชีปะติดปะต่อข้อมูลทางประวัติศาสตร์เข้ากับมิติตื้นลึกหนาบางของตัวละครหลัก ซึ่งเขาใช้เวลาค้นคว้านานนับสิบปี ถ่ายทอดให้เห็นมิติความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ่ง เช่น ความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ อย่างมีที่มาที่ไป สัมพันธ์ไปกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันวิจิตรและสถานการณ์วงครามเข่นฆ่าผู้คนอย่างสะเทือนขวัญ โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน ผู้อ่านจึงอาจได้รับทั้งอรรถรสและรับรู้เค้าโครงประวัติศาสตร์ช่วงนั้นในคราวเดียวกัน ส่วนอารมณ์ของผู้อ่านก็อาจขึ้นลงตามเหตุการณ์ที่ตัวละครเผชิญ ราวกับนั่งอยู่บนใหล่ของเขาทั้งหลาย
สำนักพิมพ์ทยอยจัดพิมพ์เผยแพร่วรรณกรรมสามก๊ก นับจากชุด "หงสาจอมราชันย์ ภาคพิเศษ" และนวนิยายชีวประวัติโจโฉ จนมาถึงมหากาพย์จูกัดเหลียงเรื่องนี้ ก็เพราะมีแฟน ๆ วรรณกรรมสามก๊กให้การตอบรับเสมอมา หวังว่ากุศโลบายจากเรื่องสามก๊กจะยังประโยชน์ให้แก่ยุคสมัยแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้และในโอกาสอื่น ๆ ด้วยไม่มากก็น้อย
โพสต์บุ๊กส์