วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

ผู้เขียน: ชนิดา จิตตรุทธะ

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

450.00 บาท

500.00 บาท ประหยัด 50.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 18 คะแนน

การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการไปสู่สังคมประชาธิปไตย < แสดงน้อยลง การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการไปสู่สังคมประชาธิปไตย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

450.00 บาท

500.00 บาท
500.00 บาท
ประหยัด 50.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 18 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
351 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0 KG
บาร์โค้ด
9789740335498

รายละเอียด : วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการไปสู่สังคมประชาธิปไตยจำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเกิดจากความพร้อมของสังคมที่จะเปลี่ยนไปสู่แบบจำลองธรรมาภิบาล โดยละทิ้งลำดับชั้นบังคับบัญชาของวัฒนธรรมอำนาจในแบบพีระมิดไปสู่วัฒนธรรมความร่วมมือของพลเมืองใจแบบแพนเค้ก การลดระยะห่างของอำนาจในความสัมพันธ์ทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากศูนย์กลางอำนาจที่ยอดพีระมิดให้เป็นการตัดสินใจจากด้านข้างของแพนเค้ก อำนาจในองค์การและสังคมจะถูกแจกจ่ายออกไปยังสมาชิกซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีการสนทนาติดต่อกับเครือข่ายในสังคมมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานอย่างใหม่ในศตวรรษที่ 21 วัฒนธรรมแพนเค้กยินยอมให้สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะของอาสาสมัครที่เต็มใจให้ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคมโดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน


คำนำ : วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

หนังสือเล่มนี้เกิดจากความตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทางการเมือง และการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคมของไทย (Thai social cuture) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยอันสะท้อนถึงแบบแผ่น ค่านิยม ความรู้ ความเชื่อ ความชอบ หรือ บุคลิกภาพทางการเมืองของสังคมไทย ตัวแสดงทางการเมือง อาทิ ผู้เล่นการเมือง ผู้เกี่ยวข้องกับการเมือง และประชาชนไทยว่ามีทัศนะต่อระบบการเมืองไทยอย่างไรมีการรับรู้ เข้าใจและให้คุณค่าต่อสถาบันการเมืองอย่างไร อาทิ ความเข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะของพลเมือง บทบาทของรัฐบาล รัฐสภา องค์กรอิสระ กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มกดดันต่าง ๆ ทางการเมือง และมีความเชื่อลึก ๆ ต่อระบอบการเมืองหรือความเป็นประชาธิปไตยอย่างไรบนแนวคิดว่า วัฒนธรรมของสังคมไทยมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมือง โดยผู้เขียนทำการพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านวัฒนธรรมทางสังคมของไทยกับการทำให้เป็นประชาธิปไตยเพื่อตอบคำถามว่า วัฒนธรรมทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย ประเด็นหลักที่ผู้เขียนสนใจคือ การศึกษามิติทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า "ระยะห่างของอำนาจ"  เพื่อทำความเข้าใจว่าวัฒนธรรมทางสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมที่มีระยะห่างของอำนาจสูงหรือต่ำและส่งผลกับการทำให้เป็นประชาธิปไตยอย่างไร เพราะเหตุใด บริบททางวัฒนธรรมในมิติใดที่อิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางสังคมของไทยโดยมีข้อสมมติว่าวัฒนธรรมทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมแบบพีระมิด (Pyramid culture) หรือ เป็นวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (Authorian culture)  ซึ่งระยะห่างของอำนาจสูง และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย

รองศาสตราจารย์ ดร.ชริดา จิตตรุทธะ

 


สารบัญ : วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

    • วัฒนธรรมทางสังคม : ธรรมชาติและความแตกต่าง
    • วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทย : บริบทสำคัญใน 4 มิติ
    • วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรมแบบแพนเค้ก
    • การทำให้เป็นประชาธิปไตย : จุดหมายในฝันหรือความจริงที่เอื้อมถึง
    • ระยะห่างของอำนาจ : เครื่องกีดขวางหรือสนับสนุนการทำให้เป็นประชาธิปไตย
    • วัฒนธรรมอำนาจนิยม : พีระมิด 3 ระดับ
    • สภาวะของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย
    • วัฒนธรรมอำนาจนิยมกับการดิ้นรนสู่การทำให้เป็นประชาธิปไตย

     

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว