รายละเอียด : ชาวนาการเมือง (อ่อน)
ชาวนาการเมือง (อ่อน)
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ สังคมไทยหมกมุ่นสนใจอยู่กับประเด็นเรื่องอำนาจ ในเดือนกันยายน 2549 รัฐบาลที่ก่อให้เกิดการวิวาทะโต้เถียงกันอย่างรุ่นแรงของทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐี ถูกโค่นล้มโดยการทำรัฐประหารของกองทัพ รถถังที่เคลื่อนขบวนเข้าสู่ท้องถนนของกรุงเทพมหานครมีริบบิ้นสีเหลืองผูกไว้กับตัวกระบอกปืนสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนาน โดยอาศัยการผูกโยงพระราชอำนาจมหาศาลของพระมหากษัตริย์เข้ากับเป้าหมายทางการเมืองของตน คณะผู้ก่อการรัฐประหารหวังจะแสดงให้เห็นว่า การล้มล้างรัฐบาลที่ได้รับความชอบธรรมมาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวนั้นมีเหตุผลอันสมควร พระราชอำนาจซึ่งมรการผสมผสานคุณธรรมทางพุทธศาสนากับการปกครองโดยธรรมเข้าด้วยกันอย่างโดดเด่นถูกนำมาใช้เพื่อสยบสิทธิอำนาจของระบบรัฐสภา สำหรับผู้ก่อการรัฐประหารแล้วอำนาจของทักษิณและกลไกพรรคการเมืองที่น่าเกรงขามของเขานั้น วางอยู่บนความพัวพันอันน่ารังเกียจของเงินตรา ความรุนแรง ระบบอุปถัมภ์ และเป็นไปได้อย่างมากกว่าจะมีการติดต่อสัมพันธ์กับพลังเหนือธรรมชาติอันน่าสงสัยด้วยวิธีการนอกรีตนอกรอย อิทธิพลของรัฐบาลทักษิฯที่มาจากการเลือกตั้งอันไม่บริสุทธิ์นั้น เกิดจากการใช้นโยบายประชานิยมดึงดูดใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชนบทภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ด้อยการศึกษา และเห็นแก่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าของตน
เนื้อหาปกหลัง : ชาวนาการเมือง (อ่อน)
แน่นอนว่าสังคมการเมืองในชนบทไม่สมบูรณ์แบบ แต่กระนั้นบทบาทในระดับชีวิตประจำวันของมันที่ดีต่อวิถีประชาธิปไตยของชาติก็ควรได้รับความสนใจอย่างเคารพมากกว่าที่เป็นอยู่ การอภิปรายถึงทางเลือกต่างๆ ในการเสริงสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งในประเทศไทยและที่อื่นๆ นั่นจะรุ่มรวยขึ้นหากตระหนักถึงความหลากหลายของปฏิบัติการทางการเมืองธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้กระบวนการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยมีความชอบธรรม หากปราศจากการเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างให้ความเคารพกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ (และบางครั้งก็ไม่น่าดึงดูดใจ) แบบนี้แล้ว ก็มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงที่บรรดาผู้เขียนเรื่องวิกฤตการณ์ของการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยร่วมสมัยจะกลายเป็นผู้สนับสนุนโดยไม่ได้ตั้งใจของทัศนะที่มองว่า คะแนนเสียงที่มาจากการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ
รีวิวโดยผู้เขียน : ชาวนาการเมือง (อ่อน)
บุคคลหลายคนมีส่วนสำคัญในการทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาได้ ผู้เขียนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณและรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างมากต่อรุ่งนภา เกษมราช ผู้ช่วยวิจัยในช่วงที่ผู้เขียนลงพื้นที่เก็บข้อมูลในบ้านเทียม รุ่งได้ใช้เวลาในบ้านเทียนนานกว่าผู้เขียนมาก และความอดทน ความมุมานะตลอดจนรายงานที่ละเอียดของเธอทำให้ผู้เขียนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเขียนหนังสือเล่มนี้ สุปราณี เดวิส ผู้ช่วยวิจัยอีกคนหนึ่ง ได้ช่วยเเหลือผู้เขียนเป็นอย่างมากในช่วงเริ่มเก็บข้อมูลที่แสนจะวุ่นวาย สุเป็นผู้สำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประชากร การเกษตร และอำนาจเหนือธรรมชาติ นิโคลัส ฟาร์เรลลี (Nicholas Farrelly) ผู้เป็นทั้งมิตรและเพื่อร่วมงานได้ร่วมลงพื้นที่ที่บ้านเทียมกับผู้เขียนในช่วงแรกๆ จองการวิจัย ในระหว่างดารลงพื้นที่ช่วงนั้นและในการสนทนาที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง นิดได้ช่วยทำให้ความคิดของผู้เขียนเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสังคมไทยเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างมาก
แน่นอนว่าผู้เขียนจะต้องขอบคุณชาวบ้านหลายคนในหมู่บ้านซึ่งผู้เขียนเรียกว่า "บ้านเทียม" ผู้เขียนอยากจะระบุชื่อเสียงเรียงนามของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเปิดเผยของผู้เขียนบางส่วนได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้มีอำนาจในสังคมไทย และผู้เขียนไม่ต้องการสร้างปัญหาความยุ้งยากใดๆ ให้แก่มิตรสหายและครอบครัวเจ้าของบ้านที่ผู้เขียนไปพักอาศัย อีกทั้งประเด็นอ่อนไหวบางประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาอภิปรายในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นเหตุผลอันสมควรที่จะต้องปกปิดชื่อเสียงเรียงนามที่แท้จริงของพวกเขาไว้
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ชาวนาการเมือง (อ่อน)
ในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2551 แอนดรู วอล์คเกอร์ (Andrew Walker) นักมานุษย-วิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ในขณะนั้น ได้นำเสนอบทความเรื่อง "Royal Suffiency and Elite Misrepresentaion of Rural Livelihoods" ซึ่งท้าทายวิธีคิดและการนำเสนอภาพชนบทของชนชั้นนำไทยผ่านการวิพากษ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งยังชวนให้เรามองเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นเครื่องมือเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน ทางกองบรรณาธิการฟ้าเดียวกันก็ได้นัดสัมภาษณ์แอนดรู วอล์เกอร์ และได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ในชื่อ "เศรษฐกิจพอเพียง ประชาธิปไตยพอเพียงและรัฐธรรมนุญชาวบ้าน" (ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551) ซึ่งนัยเป็นการร่วมงานกันครั้งแรกระหว่างสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันกับวอล์คเกอร์
ในปีเดียวกันนั้นเองเขาได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "The Rural Constitution and the Everday Politics of Elections in Northern Thailand" ในวารสาร Journal of Contemporary Asia ซึ่งถือเป็นหนึ่งในงานบุกเบิกที่ร่วมกันฝ่าวาทกรรม "โง่ จน เจ็บ" ของผู้เลือกตั้งในชาวชนบทไทยที่ครอบงำการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน บทความชิ้นดังกล่่าวเป็นหนึ่งในบทความสำคัญ 4 ชิ้นที่สำนักพิทพ์ฟ้าเดียวกันได้จัดแปลและรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือ การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง : วาทกรรมอำนาจ และพลวัตชนบทไทย โดยมีประจักษ์ ก้องกีนติ เป็นบรรณาธิการ (และเป็นบทที่ 7 ของหนังสือเล่มนี้)