ผู้หญิงอยุธยา

ผู้เขียน: บินหลา สันกาลาคีรี

สำนักพิมพ์: The Writer' s Secret

หมวดหมู่: นิยาย , นิยายสืบสวนสอบสวน นิยายลี้ลับ

0 (0) เขียนรีวิว

279.00 บาท

310.00 บาท ประหยัด 31.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

สิ่งซุกซ่อนทางประวัติศาสตร์ ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นคน < แสดงน้อยลง สิ่งซุกซ่อนทางประวัติศาสตร์ ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นคน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

279.00 บาท

310.00 บาท
310.00 บาท
ประหยัด 31.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
315 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
12.7 x 18.3 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.298 KG
บาร์โค้ด
9786167751993

รายละเอียด : ผู้หญิงอยุธยา

ผู้หญิงอยุธยา

ประวัติศาสตร์มักจะบอกเล่า ถ่ายทอด เรื่องราวของผู้ชายทั้งนี้เพราะผู้ชายเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์? หรือเพราะผู้ชายอยู่ในฐานะ "ผู้แสดง" ในประวัติศาสตร์? หรือเพราะวิถีคิดของสังคมในเวลานั้นให้เทน้ำหนักไปที่เพศชาย? แต่ความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธก็คือ ร้อยทั้งร้อย เบื้องหลังการตัดสินใจใดๆ ของผู้ชายก็คือผู้หญิง ที่น่าตระหนกกว่าก็คือ หลายครั้งที่มันซ่อนร้นอยู่ใต้จิตสำนึก กระทั่งผู้ชายไม่รู้ตัว โดยภาพรวมผู้หญิงในกรุงศรีอยุธยาก็คือผู้หญิงในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ทั้งผู้หญิงหรือเมียแต่ละคนในบ้านก็มีศักดิอำนาจไม่เท่ากัน กฎหมายศักดินาระบุไว้ชัดเจนว่า "อนึ่งภรรยาข้าราชการ คือภรรยาพระราชทานก็ดี ภรรยาหลวงก็ดี ถือศักดิ์นากึ่งนาผัวตามบันดาศักดิ์ อนุภรรยาศักดิ์นากึ่งภรรยาหลวง ทาสภรรยามีบุตรแล้วศักดิ์นาเสมออนุภรรยา" จึงไม่แปลกที่สังคมนี้จะมีสำนวนหนึ่งว่า "ช้างเท้าหลัง" ที่หมายถึงผู้หญิง เมื่อเวลาผ่านมาถึงวันนี้ สำนวนนี้ถูกตั้งคำถาม และตั้งข้อสังเกตเชิงปฏิเสธอย่างมากว่า "ล้าสมัย" เป็นวิธีคิดแบบกดขี่ทางเพศประการหนึ่ง หลายคนถามว่า ทำไมต้องเป็นช้าง "เท้าหลัง"? คำตอบที่ได้ยิ่งเพิ่มความหงุดหงิด อาทิ คำอธิบายว่า ผู้ชายเปรียบตัวเองเป็นเท้าหน้าที่จะต้องลุยฝ่าดงหนาม ย่ำหล่มโคลนก่อนเท้าหลังจะย่างตามสะดวกสบาย หรือไม่ก็อธิบายว่าเป็นสำนวนที่ได้มาจากสนามรบ เท้าหน้าของช้างจะต้องเผชิญหอกดาบช้าศึกก่อนเท้าหลัง นี่จึงเป็นความเสียสละของเพศชายเพื่อปกป้องเพศอ่อนแอว่า แน่นอนว่าคำอธิบายนี้มีช่องโหว่ ไม่สมเหตุผล โดยเฉพาะเรื่องของช้างในสนามรบ ถ้าเท้าหน้าช้างต้องเผชิญภยันตรายมากกว่าเท้าหลังจริง ทำไมจึงมีทหาร "จตุลังคบาท" จึงคุ้มกันทั้ง 4 เท้าของช้าง ทำไมไม่คุ้มกันเฉพาะ 2 เท้าหน้าเท้านั้น ลดกำลังทหารไปได้ครึ่งหนึ่งทีเดียว ในประวัติศาสตร์การรบเราพบว่า ช้างศึกที่ถูกทำร้ายทางเท้าหลังก็มี ช้างศึกที่ใช้เท้าหลังยันจอมปลวก ยันโคนต้นพุดชาเป็นจุดเปลี่ยนในการเอาชนะคู่ต่อสู้มาแล้วก็มี ดังนั้นเท้าหน้าจึงมิได้เสี่ยงกว่าเท้าหลังแต่อย่างไร นักประนีประนอมบางคนเห็นว่า ในเมื่อคำอธิบายเหล่านี้ล้วนไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว จึงเสนอให้เปลี่ยนสำนวนเป็น "ช้างเท้าซ้ายเท้าขวา" เพื่อจะได้เดินไปข้างหน้าพร้อมกัน


คำนำ : ผู้หญิงอยุธยา

งานเขียนชุดนี้เริ่มด้วยความอยากรู้อยากทราบส่วนตัว และหนังสือชุดนี้ ในราวปี พ.ศ.2536 หรือราว 25 ปีที่แล้ว ผมได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งที่ร้านศึกษาภัณฑ์ ถนนราชดำเนิน ในราคาที่ถูกมากๆ คือเล่มละ 10 บาทเท่านั้น หนังสือชื่อ "ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 8" อย่าเพิ่งงงว่าทำไมคนคนหนึ่งถึงเริ่มอ่านหนังสือโดยเริ่มที่ภาค 8 ความเป็นจริงคือผมหาหนังสือภาคที่ 1-7 ไม่พบ มาพบก็ภาค 8 แล้ว ผมซื้อเพราะพลิกดูสารบัญมีเรื่องหนึ่งคือ "คำให้การจีนกั๊ก เรื่องเมืองบาหลี" เวลานั้นผมคิดจะไปเที่ยวที่นั่นพอดีจึงลองหยิบมาอ่านดู เรื่องบาหลีในเล่มนั้นสนุกดี มีหลายแง่มุมที่ไม่เคยทราบ แต่เรื่องอื่นๆ ก็สนุกไม่แพ้กัน หลายเรื่องยังสร้างความสนใจให้ผมยิ่งกว่า อย่างเรื่อง "คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์" มันคือคำบอกเล่าเหตุการณ์วันที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ.2310 โดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โดยผู้ที่ตามเสด็จพระเจ้าเอกทัศน์ที่กระเซอะกระเซิงหนีพม่า ผมอ่านแล้วขนลุก ทั้งสนุกและตื่นเต้น พลางสงสัยว่าทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ให้นักเรียนไทยเรียนเรื่องนี้ หรือเพราะเฒ่าสาไม่ใช่ผู้ชาย? ขณะที่ประวัติศาสตร์ไทยถูกเขียนให้เป็นเรื่องของทหารเป็นการรบการสงคราม เป็นเรื่องความรักชาติและความเป็นฮีโร่มันจึงเป็นพื้นที่พิเศษของผู้ชายไป ผมคิดว่านี่คือความผิดพลาดอย่างยิ่งของวิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่องราวเฒ่าสาค้างอยู่ในจิตใจผมนานหลายปี สิ่งที่ทำได้คือไปหาหนังสือประชุมพงศวดารภาคอื่นๆ มาสะสมเก็บไว้อ่าน แต่เนื่องจากหนังสือชุดนี้หลายเล่มหลายตอนตีพิมพ์มาตั้งแต่ก่อนปีที่ผมเกิด พูดได้ว่าเป็นเพราะผมเพิ่งรู้จักหนังสือชุดนี้ขณะที่นักอ่านส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ผมจึงหาเก็บได้ไม่ครบชุด แม้ว่าจะพยายามเพียงใดก็ตามที ต่อมาในปี 2554 เมื่อเริ่มทำนิตรสารไรท์เตอร์ ผมมีคอลัมน์ชื่อ "เราพบกันเพราะหนังสือ" อยู่ในนั้นด้วย จึงนำเรื่องเฒ่าสามาถ่ายทอดบอกเล่าต่อพร้อมทั้งหาข้อมูลเสริมเติมต่อด้วยหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นๆ ผมทำงานชุดนี้ได้ช้ามากทั้งที่สนุกกับมัน แต่ถึงอย่างนั้น ในที่สุดมันเก็บก็บริบูรณ์ดังใจหวังเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้เอง เพราะ 95% เป็นงานที่เก็บความมาจากหนังสือเล่นโน้นเล่มนี้ (ราว 5% ที่เหลือคือการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์) ผมจึงขออุทิศหนังสือเล่มนี้ให้กับหนังสือทุกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง

บินหลา สันกาลาคีรี


สารบัญ : ผู้หญิงอยุธยา

    • พระนางจามเทวี
    • พระนางสร้อยดอกหมาก
    • นางหินลอย
    • เจ้าหญิงปะคำทอง
    • ยายศรีอายุ
    • พระนางเซียนเลียะซือลิ่ง
    • คุณท้าวยอดมณเฑียร
    • พระมหาเทวีในพระเจ้าสามพระยา
    • แม่นางมงคลเทวีศรีพระแก้ว
    • แม่ญั่วศรีสุดาจันทร์
    • พระสุริโยทัย
    • พระบรมดิลก
    • พระเทพกษัตริย์
    • พระแก้วฟ้า, พระแก้วฟ้า
    • ชายาพระราเมศวร
    • พระวิสุทธิกษัตริย์
    • พระอินทรเทวี
    • พระสุพรรณกัลยา
    • เจ้าขรัวมณีจันทร์
    • เจ้าหญิงมังตรานะมะโค
    • ยาย
    • อี่เกิด, อำแดงอุ่น
    • นางฟาน ฟลีต
    • พระองค์อัมฤทธิ์
    • จันทรา

เนื้อหาปกหลัง : ผู้หญิงอยุธยา

417 ปี ของกรุงศรีอยุธยาเรารู้จัก "ผู้หญิง" น้อยมากมีเพียง 4 คนเท่านั้นที่ถูกกล่าวซ้ำไปซ้ำมาคือ พระสุริโยทัย ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสุพรรณกัลยา และท้าวทองกีบม้า ต่อเมื่อส่องกล้องมองดีๆ จึงจะเห็นผู้หญิงอีกหลายคนมีทั้งเรื่องการเมืองการทหาร เรื่องความซื่อสัตย์ความกลิ้งกลอก เรื่องของความรักแผ่นดินและความทรยศ เรื่องความฉลาด โง่เขลา เรื่องชู้สาว เหยื่อราคะ เหยื่อสงคราม เรื่องความเป็นครู ความเป็นแม่ และความเป็นเมีย ฯลฯ ผู้หญิงเหล่านี้บ้างเป็นชาวสยาม บ้างเป็นสตรีต่างชาติ บ้างทรงศักดิ์สูงส่งอยู่ในวัง บ้างก็เป็นนางทาสในเรือนเบี้ย ไม่ว่าอย่างไร พวกเธอล้วนมีชะตากรรม และสร้างสีสันรอยจำให้แผ่นดินนี้ กรุงศรีอยุธยา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว