บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม

ผู้เขียน: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

สำนักพิมพ์: สมมติ/Sommot

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

พลังของความปรารถนา < แสดงน้อยลง พลังของความปรารถนา
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
218 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.2 x 20.9 x 1.4 CM
น้ำหนัก
0.23 KG
บาร์โค้ด
9786167196671

รายละเอียด : บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม

หลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralism) เป็นสกุลความคิดสายฝรั่งเศษ (the French thought) สกุลหนึ่งที่มีอิทธิพลมากต่อโลกวิชาการสมัยใหม่ทางด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขณะเดียวกัน สกุลความคิดนี้ก็สร้างการถกเถียงที่เผ็ดร้อนให้เกิดขึ้นมากในโลกวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอเมริกัน เนื่องจากรูปแบบและลีลา (style) การวิเคราะห์ของสกุลความคิดนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอนโคน (radical suspicion) ต่อบรรดามโนทัศน์หลักๆที่สังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์เรื่องความหมาย (meaning) การเป็นตัวแทน (representation) การรับรู้ (subjectivity) เจตนา (intention) หรือเอกลักษณ์/ตัวตน (identity ) สำหรับนักทฤษฏีแนวหลักโครงสร้างนิยมอย่าง ฌาคส์ แดร์ริดา มโนทัศน์ทางวิชาการเหล่านี้ ต่างมีฐานะเป็นเพียง'สัญญะ' (sign) ชนิดของอภิปรัญญาตะวันตก (metaphysics)

คำนำ : บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำความคิดของนักคิดชาวฝรั่งเศษ 6 คน ได้แก่ ฌาคส์ แดร์ริดา ( Jacques Derrida ) ฌาค์ส์ ลากอง ( Jacques Lacan ) มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ฌ็อง-ฟร็องซัวส์ สีโยตาร์ด (Jean-Francois Lyotard) และ ชีลส์ เดอเลิซ (Gilles Deleuze ) กับ เฟลิกส์ กัตตารี (Fellx Guattari ) ซึ่งนักคิดเหล่านี้ 'ถูกจัด' ให้อยู่ในสกุลความคิดที่เรียกว่า หลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralism) และเป็นกลุ่มนักคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางปัญญา (intellectual Iandscape) ของโลกวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตรฺ์ในปลายศตวรรษที่ 20 สาเหตุที่ผมใช้คำว่า 'ถูกจัด' เนื่องจากนักคิดเหล่านี้ไม่เคยคิดหรือยอมรับในป้าย 'หลังโครงสร้างนิยม' (รวมตลอดถึง หลักสมัยใหม่นิยม) ที่โลกวิชาการภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงวิชาการอเมริกันติดให้แต่อย่างใด ส่วนวัตถุประสงค์ที่ผมเขียน - สรุป เรียบเรียง ตัดต่อ ถ่ายโอนความหมายและความคิด (paraphrase) เกี่ยวกับความคิดของนักคิดเหล่านี้ก็เพื่อต้องการเปิดพื้นที่ในส่วนของ 'ทฤษฏีและวิธีการหาความรู้ ในแวดวงการศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ในประเทศไทยให้มีความแตกต่างแลกหลากหลายมากกว่าที่เป็นอยู่  


สารบัญ : บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม

    • คำนำสำหรับการพิมพ์ครั้งแรก (Preface to the First Edition)
    • คำนำสำหรับการพิมพ์ครั้งที่สอง (Preface to the Second Edition)
    • บทนำ
    • สาระสำคัญ
    • นักคิดและผลงาน
    • นักคิดรุ่นที่ 1
    • นักคิดรุ่นที่ 2
    • รัฐศาสตร์แนวหลังโครงสร้างนิยม
    • หลักโครงสร้างนิยมกับหลังสมัยใหม่นิยม
    • สรุป: ภาพรวมของญาณวิทยาและวิธีวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยม/หลังสมัยนิยม
    • บรรณานุกรม
    • ดรรชนี

เนื้อหาปกหลัง : บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม

[...] การวิเคราะห์ของสกุลความคิดนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอนโคน (radical suspicion) ต่อบรรดามโนทัศน์หลักๆที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงวิชาการทางด้านมนุษน์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์เรื่องความหมาย (meaning) การเป็นตัวแทน (representation) การรับรู้ (subjectivity) เจตนา (intention) หรือเอกลักษณ์/ตัวตน (identity) [...]

[...] สำหรับเป้าหมายของการศึกษา/วิจัยในแบบหลังโครงสร้างนิยม/หลังสมัยใหม่นิยมไม่ใช่การค้นหาและสถาปนากฏสากลอย่างวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแต่เป็นการศึกษาเพื่อต้องการตัดข้ามหรือฉีกออกไปจากบรรดากฏเกณฑ์ที่ดำรงอยู่เพื่อสร้างพื้นที่ราบให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากขึ้น[...]

[...] การพูดถึงการล่มสลายของเรื่องเล่าขนาดใหญ่อย่างวิทยาศาสตร์และความจริง มีผลให้ความจริงถูกสลายสั่นคลอน และถูกตั้งคำถามซึ่งทำให้ทึกทักล่วงหน้าอีกต่อไปไม่ได่ว่ามี 'ความจริง' ดำรงอยู่เป็นเอกเทศล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ว่า 'อะไรคือความจริง?' กลับกลายมาเป็นประเด็นที่ต้องขบคิดและถกเถียงกันอีกครั้ง[...]

[...] สำหรับนักทฤษฏีแนวหลังโครงสร้างนิยม/หลังสมัยใหม่นิยม มนุษย์ไม่ใช่พลังแห่งเจนจำนงเสรี แต่มนุษย์เป็นเพียงผลผลิตและผลพลอยได้แห่งยุคสมัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว