รายละเอียด : ดั่งสลักและขัดเงา
'ดั่งรักและขัดเงา' เป็นวลีคำพูดในบทสนทนาระหว่างขงจื่อกับจื่อก้งในคัมภีร์หลุนอี่ว์ เล่มที่ 1 บทที่ 15 เรื่องราวการสนทนาอยู่ที่คำของขงจื่อก้งที่ให้ขงจื่อประเมินคุณค่าของคนจนที่ไม่ยกยอปอปั้นกับคนมั่งมีที่ไม่หยิ่งจองหอง คำตอบของขงจื่อค่อนไปทางบวกแต่ก็เสริมขึ้นว่า แม้มนุษย์ที่จื่อก้งให้ประเมินนั้น ก็ดีอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงกับคนจนที่แช่มชื่นและคนมั่งมีที่รักหลี่ได้ จื่อก้งจึงกล่าวว่าในคัมภีร์กวีนิพนธ์กับจื่อก้งได้เพราะจื่อก้งไม่เพียงแต่เข้าใจสิ่งที่ขงจื่อกล่าว หากแต่ยังสามารถเข้าใจเรื่องที่กำลังจะพูดถึงต่อไปอีกด้วย
คำนำ : ดั่งสลักและขัดเงา
บทความนี้เขียนขึ้นโดยมุ่งให้สอดรับกับคุณูปการในงานทางปรัชญาของ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ โดยมุ่งเน้น 3 ข้อ ประการแรก ไม่เพียง ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ จะเป็นนักปรัชญาศาสนาแถวหน้าเท่านั้น หากแต่ท่านยังเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งด้านปรัชญาจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาของขงจื่อ ปัจจุบันกล่าวได้ว่าท่านมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและปลุกฟื้นการศึกษาใคร่ครวญขงจื่อให้มีชีวิตในวงวิชาการไทย โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างงานเช่น กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจและจารีต (2539) ความเรียงใหม่รื้อสร้างปรัชญาตะวันออก (2547) หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา (2555) อารมณ์กัชีวิตที่ดีในปรัชญาขงจื่อ (2557) จริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ (2557)
สารบัญ : ดั่งสลักและขัดเงา
- บทบรรณาธิการ
- คำสอนงอกเงย
- จำเป็นต้องตรวจสอบ
- มีมิตรสหายจากแดนไกล
- กังวลว่าจะไม่รู้จักคน
- เสียงจากศิษย์คือดนตรีแห่งเสา
เนื้อหาปกหลัง : ดั่งสลักและขัดเงา
[...] ความรู้ทั้งมวลในประเทศของเราไม่ได้ผ่านบทสนทนา ถกเถียง และโต้แย้งอย่างจิงจัง ความรู้ที่เราได้มาจากการศึกษาเน้น 'อะไรก็ไม่รู้' มาตลอด ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงคิดไม่ได้ไกลและไม่ก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น เรายังคงเป็น 'ผู้จำ' ความจริงเพียงชุดเดียว และไม่ใช่ 'ผู้รู้' และ 'ผู้ริเริ่ม' ของใหม่ บนรากฐานเก่าได้ในหลายหรืออาจจะทุกกรณี[...]
[...] คุณูปการของการสรทนา ถกเถียง และโต้แย้ง นอกจากจะไม่ใช่ท่าทีที่ก้าวร้าวแล้ว ยังทำให้มนุษย์เติบโตขึ้นพร้อมทั้งยังติดเครื่องมือให้เราทำความเข้าใจสิ่งที่เราไม่รู้จัก ก่อนที่จะตัดสินใจและตัดสินใจตัดสัมพันธ์กับผู้ที่คิดต่าง และใช้ความรุนแรงต่อสิ่งที่เราไม่อาจเข้าใจได้ในทันที
[...] ผู้อ่านคงเห็นได้เองว่าอาจารย์สุวรรณาไม่ใช่ผู้วิเศษที่ลงมาโปรดโลก ไม่ใช่ปราชญ์ที่พูดสิ่งใดล้วนจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ใช่ศาสดาทั้งทางจิตวิญญาณและทางการเมือง อาจารย์เป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ปราณีศิษย์ เป็นเพียงครูที่ขยับแว่นตั้งคำถามกับความเป็นไปของลูกศิษย์และโลก โดยไม่ลืมที่จะเป็นแรงบรรดาลใจในการทำงานของทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอาจารย์[...]
[...] หนังสือเล่มนี้ได้มอบสิ่งมีคุณค่ายิ่งแก่ชีวิตคนคนหนึ่งที่สอนหนังสือมาเกือบตลอดชีวิต ครูได้เห็น 'เงาจางๆ' ของตนเองในชีวิตของศิษย์ ครูได้เห็น 'เมล็ดพืช' ที่ได้ไปแตกหน่องอกงามในจิตใจและปัญญาของเธอ ครูได้เป็น 'กระจก' ที่เธอใช้ส่องสะท้อนดูตนเอง ทั้งเงา เมล็ดพืช และกระจก ได้มีส่วนช่วยพวกเธอให้ค้นพบตนเอง พัฒนาตนเองให้งอกงามอย่างหลากหลาย