รัฐศาสตร์สาร ปี 38/2 (พค- สค.2560)

ผู้เขียน: คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

สำนักพิมพ์: ม.ธรรมศาสตร์

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 (0) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

เรื่องเล่าจากต่างแดน < แสดงน้อยลง เรื่องเล่าจากต่างแดน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
438 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 20.8 x 2.3 CM
น้ำหนัก
0.543 KG
บาร์โค้ด
9770125135536

รายละเอียด : รัฐศาสตร์สาร ปี 38/2 (พค- สค.2560)

การเดินทางมีความเกี่ยวเนื่องกับการสร้างอัตตลักษณ์ความเป็นชายในมิติของพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชายได้แสดงความคิด ความสามารถตลอดจนอำนาจผ่านการปะทะสังสรรค์กับความเป็นอื่น เนื่องจากพื้นที่ในประเทศมีข้อจำกัดและมีปมปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถแสดงบทบาทความเป็นชายได้อย่างเต็มที่ ในบทความนี้ได้มุ่งวิเคราะห์การประกอบสร้างอัตตลักษณ์ความเป็นชายที่สัมพันธ์กับเรื่องเล่าการเดินทางในไพรัชนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2484 -2489 ได้แก่ นวนิยายชุด ปักกิ่งนครแห่งความหลัง (2484-2485,2489) ของ สด กูรมะโรหิต ตระเวนมนิลา (2486) ของวิตต์ สุทธเสถียร ชัยชนะของคนแพ้ (2486) และ ไม่มีข่าวจากโตเกียว (2488) ของเสนีย์ เสาวพงศ์ จากการศึกษาพบว่านวนิยายกลุ่มดังกล่าวได้นำเรื่องเล่าการเดินทางไปต่างประเทศมาใช้สร้างอัตตลักษณ์ตัวละครเอกชายผ่านทางสถานที่ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร นอกจากนั้นภาพของตัวละครเอกชายที่ปรากฏในวรรณกรรมชุดนี้ยังเผยให้เห็นความเป็นชายที่เชื่อมโยงกับอุดมการณ์ของชนชั้นกลาง อาทิ หน้าที่การงาน ความสามารถส่วนบุคคล และแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนซึ่งสอดคล้องกับบริบททางสังคมในทศวรรษ 2480 ที่ชนชั้นกลางกำลังมีอำนาจในสังคมและการเมือง


คำนำ : รัฐศาสตร์สาร ปี 38/2 (พค- สค.2560)

ไพรัชนิยายไทยดังที่ได้หยิบยกมาศึกษาแสดงให้เห็นลักษณะร่วมกันคือการให้ตัวละครเอกชายเป็นสามัญชนในการเล่าเรื่องทั้งเป็นนักเรียนนอกและนักหนังสือพิมพ์ซึ่งแตกต่างไปจากเรื่องเล่าการเดินทางหรือไพรัชนิยายในอดีตที่ส่วนมากมักใช้ตัวละครเอกเป็นชนชั้นสูงหรือมีเชื้อสายราชวงศ์ เนื่องจากในทศวรรษ 2480 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนคุณค่าและอุดมการณ์ เนื่องจากอำนาจของกลุ่มชนชั้นสูงที่เริ่มตกต่ำลงทำให้ค่านิยมที่เคยยึดถือชาติกำเนิดของคนเปลี่ยนไปยึดถือความสามารถอันเกิดจากการกระทำและหน้าที่การงานของบุคคล ไพรัชนิยายจากตัวบทที่ศึกษาจึงนำเสนอชุดคุณค่าหรืออุดมคติของชนชั้นกลางผ่านการสร้าง           อัตตลักษณ์ความเป็นชาย โดยสัมพันธ์กับการเดินทาง โดยพื้นที่ในต่างแดนได้เปิดโอกาสให้ตัวละครเอกชายหรือผู้เล่าชายแสดงความเป็นชายของตนเอง เนื่องจากพื้นที่ในสังคมไทยมีข้อจำกัดและเต็มไปด้วยปมปัญหาที่ตัวละครเอกชายไม่สามารถแก้ไขได้ พื้นที่ต่างแดนจึงกลายเป็นพื้นที่ที่สามารถเยียวยา เติมเต็ม หรือยกระดับสถานะทางสังคมให้แก่ตัวละครเอกชายได้ โดยตัวละครเอกชายสร้างอัตตลักษณ์ความเป็นชายผ่านขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณี

โดยสรุปแล้วการสร้างอัตตลักษณ์ความเป็นชายผ่านเรื่องเล่าการเดินทางในไพรัชนิยายไทยที่ศึกษาได้เผยให้เห็นถึงชุดคุณค่าหรืออุดมการณ์ของชนชั้นกลาง โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่สังกัดอยู่ในกลุ่มของปัญญาชน เช่น นักเรียนนอกหรือนักหนังสือพิมพ์ที่พยายามช่วงชิงอำนาจกับชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองด้วยการลอกแบบ ต่อรอง และต้านกับชุดคุณค่าหรืออุดมการณ์ความเป็นชายในอดีตหรือความเป็นชายที่มีลักษณ์อำนาจนำในช่วงเวลาร่วมสมัย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าอัตตลักษณ์ความเป็นชายในสังคมไทยมิได้เป็นเอกภาพหรือแก่นสารเพียงหนึ่งเดียว


สารบัญ : รัฐศาสตร์สาร ปี 38/2 (พค- สค.2560)

    • บรรณาธิการ
    • "เรื่องเล่าจากต่างแดน" กับการสร้างอัตตลักษณ์ความเป็นชาย ชนชั้นกลาง ในไพรัชนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2484-2489
    • ความเคลื่นไหวของหอศิลป์เอกชนและการซื้อขายงานศิลปะในกรุงเทพมหานคร ช่วง พ.ศ. 2500 ถึง 2509
    • จาก "โซ๊ด" สู่ "สะวิง" อัสดงคตนิยายกับการเมืองของการแปลทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่
    • การพัฒนากองทัพจีนให้ทันสมัย
    • ยุทธศาสตร์ใหญ่ของเมตเตอร์นิคกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1815-1848)
    • เมื่อเนปิดอว์ปฏิรูป: ความท้าทายและการปรับตัวในควาสัมพันธ์เมียนมาร์และจีน (2008-2015)
    • การพัฒนาเกณฑ์การตัดสินใจระดับการจัดการ สาธรณภัยและขั้นตอนปฏิบัติมาตรฐานการใข้งานศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน
    • ตอบธเนศ: สนทนาเรื่องชาติพันธุ์และชาติ
    • บทตอบนิติ ภวัครพันธุ์
    • ข้อสังเกตบางประการต่อ บันทึกของลีโอ สเตราส์ เรื่อง The Concept of the Political ของคาร์ล ชมิทท์
    • บทความปริทัศน์: โลกาภิวัตน์กับความไม่เท่าเทียมกัน ของ Francois Bourguignon

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว