รายละเอียด : คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์
ภาษาซีเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นภาษาที่มีโครงสร้างดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการนำภาษานี้มาพัฒนาเป็นโปรแกรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนได้เรียบเรียงตำราเล่มนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน โดยเริ่มจากการออกแบบพัฒนาโปรแกรมอย่างง่าย จากนั้นจะแนะนำคำสั่งพื้นฐานต่างๆ และนำมาสร้างเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่นักเขียนโปรแกรมจำเป็นต้องรู้
คำนำ : คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์
ภาษาซีเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นภาษาที่มีโครงสร้างดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการนำภาษานี้มาพัฒนาเป็นโปรแกรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนได้เรียบเรียงตำราเล่มนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน โดยเริ่มจากการออกแบบพัฒนาโปรแกรมอย่างง่าย จากนั้นจะแนะนำคำสั่งพื้นฐานต่างๆ และนำมาสร้างเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่นักเขียนโปรแกรมจำเป็นต้องรู้
ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาและผู้สนใจการเขียนโปรแกรมภาษาซี เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมขั้นสูงได้เป็นอย่างดี หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู็เขียนขอน้อมรับเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในคราวต่อไป
รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล
สารบัญ : คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์
- บทที่ 1 ภาษาคอมพอวเตอร์และการโปรแกรม
- บทที่ 2 ขั้นตอนการทำงาน
- บทที่ 3 โครงสร้างภาษาซีเบื้องต้น
- บทที่ 4 ประเภทของข้อมูล
- บทที่ 5 การเลือกทำตามเงื่อนไข
- บทที่ 6 โปรแกรมแบบวนรอบทำซ้ำ
- บทที่ 7 การสร้างฟังก์ชันในภาษาซี
- บทที่ 8 ตัวแปรชนิดอาร์เรย์และสตริง
- บทที่ 9 ตัวแปรโครงสร้างและยูเนียน
- บทที่ 10 พอยเตอร์ในภาษาซี
- บทที่ 11 การจัดการไฟล์
- บทที่ 12 การเขียนโปรแกรมติดต่อกับจอภาพและแป้นพิมพ์
- บทที่ 13 กราฟิกในภาษาซี
- บทที่ 14 รู้จักการเขียนโปรแกรม C+ +
เนื้อหาปกหลัง : คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์
เขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมดแบบเป็นขั้นตอนและต่อยอดไปจนถึงการประยุกต์ระดับสูง โดยใช้ภาษา C ที่ได้รับความนิยมสำหรับใช้เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง
โครงสร้างและหลักการเขียนโปรแกรมภาษา C
การเขียนอัลกอริทึมด้วยโฟลว์ชาร์ตและซูโดโค้ด
ชนิดข้อมูล ตัวแปร ค่าคงที่ ฟังก์ชันทางภาษา C
การใช้พอยเตอร์ (Pointer) ในการจัดการหน่วยความจำ
เขียนโปรแกรมจัดการกับไฟล์
สตรักเจอร์และยูเนียน (Structure & Union)
เขียนโปรแกรมติดต่อกับจอภาพและแป้นพิมพ์
วาดภาพเรขาคณิต เช่น วงกลม เส้นโค้ง ไซน์ และโคไซน์
การแสดงอักษรในโหมดกราฟิก (Graphic Mode)