การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

ผู้เขียน: สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

สำนักพิมพ์: พัฒนวิจัย

หมวดหมู่: บริหาร ธุรกิจ , การบริหารธุรกิจ

0 (0) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

พัฒนากรอบในการศึกษาและพัฒนาแนวคิดในเชิงกลยุทธ์ โดยมีการผสมผสาน เพิ่มเติม ขยายความจากแนวคิดเรื่องทฤษฎีเกม (Game theory) ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาเกือยร้อยปี และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพความเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ < แสดงน้อยลง พัฒนากรอบในการศึกษาและพัฒนาแนวคิดในเชิงกลยุทธ์ โดยมีการผสมผสาน เพิ่มเติม ขยายความจากแนวคิดเรื่องทฤษฎีเกม (Game theory) ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาเกือยร้อยปี และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพความเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
146 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 21 x 0.6 CM
น้ำหนัก
0.175 KG
บาร์โค้ด
9786164403604

รายละเอียด : การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นยุครอยต่อระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 อันเป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ซึ่งทำให้เกิดสิ่งที่ Alvin Toffler เรียกว่า คลื่นลูกที่ 3 กับการปฏิวิตอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบดิจิตอล เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) กับฟิสิกส์ ยุคดิจิตอลหรือยุค 3.5 เริ่มก่อตัวและดำเนินมากว่า 30 ปีเป็นยุคที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในวงกว้างและลึกในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติมหาภาค อันหมายถึง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือ มิติจุลภาค อันหมายถึง การเปลี่ยนแปลงขององค์กร และมิติของตัวบุคคลซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและค่านิยม การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลนี้เองได้สร้างแรงกระเพื่อมทั้งในทางบวกและทางลบ ในทางบวก ธุรกิจที่เกิดใหม่ (Start up) ก็เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่อยู่ในวงการ IT เช่น Microsoft ของ Bill Gates, Apple ของ Steve Jobs, Facebook ของ Mark Zuckerberg เป็นต้น ธุรกิจเล็กๆ ประสบความสำเร็จในยุคนี้อาจขยายตัวเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ เช่น ร้านกาแฟ Starbucks และเสื้อผ้า Zara หรือกรณีของประเทศไทย เช่น ความสำเร็จของเถ้าแก่น้อย เป็นต้น ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ได้ก็ล้มหายตายจาก เช่น Kodak ร้านหนังสือ ร้านอาหาร วงการสื่อมวลชนก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน วงการการศึกษาก็เช่นเดียวกันในระดับประเทศ สภาพความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลก็ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประเทศ ประเทศที่ปรับตัวได้ทันก็เจริญรุ่งเรือง ประเทศที่ปรับตัวไม่ทันก็ถดถอย บางแห่งเกิดวิกฤตทั้งทางด้านการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง จุดจบของประเทศคอมมิวนิสต์ อาหรับสปริง (Arab Spring) และการแยกขั้วทางการเมืองไทยที่รุนแรงต่างก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในยุคดิจิตอลทั้งนั้น ในยุคอนาคต ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจะอยู่ในอัตราเร่งและจะส่งผมกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศ ขององค์กร และของบุคคล ในการเผชิญกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมทั้งในยุคดิจิตอล (ยุค 3.5) และในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (ยุค 4.0) องค์ประกอบที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนแปลงระบบคิด (Mindset change) วิธีเดียวในการที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีก็คือ การปรับระบบคิดให้มีความสามารถในการเห็นอนาคต ความเปลี่ยนแปลงทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวได้ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ จะต้องมีวิสัยทัศน์ซึ่งหมายถึงมีระบบคิดทันโลก ทันเหตุการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลง และรู้จักตัวเองได้ดี เพื่อเลือกเส้นทางสู่อนาคต (Strategic direction) ที่ตรงกับสภาพแวดล้อมความเปลี่ยนแปลง และตรงกับจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละคน คนที่มีแนวคิดดังกล่าวนี้ คือ นักคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinker) การพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการขับเคลื่อนองค์กร ประเทศ และส่วนตัวสู่ความสำเร็จ ในยุคที่โลกมีความเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น การพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในยุค 3.5 และยุค 4.0 ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้พัฒนากรอบในการศึกษาและพัฒนาแนวคิดในเชิงกลยุทธ์ โดยมีการผสมผสาน เพิ่มเติม ขยายความจากแนวคิดเรื่องทฤษฎีเกม (Game theory) ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาเกือบร้อยปี และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพความเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากมีกรอบในทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์แล้ว ยังมีการยกตัวอย่าง การนำมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ การเมือง สังคม องค์กร และส่วนตัว กล่าวอีกนัยหนึ่งการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นกุญแจที่สำคัญยิ่ง (Driver) สู่ความสำเร็จของทั้งเรื่องส่วนตัว องค์กร และของประเทศ


สารบัญ : การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

    • กระบวนทัศน์ในการคิด (Thinking paradigm)
    • กับดักทางความคิด (Box thinking)
    • การพัฒนาความคิดให้หลุดจากกับดักทางความคิด (Out of the box thinking)
    • ระบบคิดแบบมีชีวิต (Organic thinking)
    • แนวทางในการพัฒนาระบบคิดแบบมีชีวิต (Organic thinking)
    • ความคิดแบบมีชีวิต (Organic thinking) กับการปรับใช้ในทางปฏิบัติ
    • ความคิดแบบมีชีวิตกับการพัฒนาประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือ
    • ทฤษฎีเกมกับการพัฒนาศักยภาพในการคิดเชิงกลยุทธ์

เนื้อหาปกหลัง : การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

ชีวิตของอาจารย์สมชายประสบความสำเร็จเพราะมีอุปนิสัย หรือ Habit ในการอ่านหนังสือ ซึ่งผมก็ชอบอ่านหนังสือคล้ายอาจารย์สมชาย แต่เสียเปรียบที่ผมอ่านได้แค่ 2 ภาษา คือภาษาอังกฤษกับภาษาไทย แต่อาจารย์สมชายอ่านได้หลายภาษา ทำให้มีมุมมองที่กว้างมากๆ น่าชื่นชม จึงเป็นที่มาของความสามารถในการคิดที่มีคุณค่า และถ่ายทอดมาเป็นหนังสือเล่มนี้  (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และประธาน Chira Academy)

ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าในช่วงระยะเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมาตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นักวิชาการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของนักวิชาการไทย ที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์และทำนายเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลกได้คือใคร? ผมคิดว่าหนึ่งในสุดยอดของนักวิชาการไทยที่ผมยอมรับนับถือมากที่สุดคือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต)

อาจารย์สมชายเป็นนักวิชาการ "อัจฉริยะ" รอบรู้ศาสตร์ต่างๆ อย่างลึกซึ้งทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ไม่เพียงแต่มีความรู้ทางทฤษฎีที่ทั้งลึกและรอบด้าน ยังมีประสบการณ์จริงจากการให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาจารย์สมชายจึงสามารถบูรณาการความรู้ที่เป็นนามธรรมและประสบการณ์รูปธรรมเข้าด้วยกันเป็นภูมิปัญญาที่ คม ชัด ลึก (ศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์)

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ จบปริญญาตรีอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาตรี โท และเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Nancy ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัย Madrid ประเทศสเปน เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาจารย์ผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยและต่างประเทศ และเป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาและการประชุมวิชาการสำคัญทั้งในไทยและต่างประเทศ เคยเป็นวุฒิสมาชิก รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมของ ESCAP องค์การสหประชาชาติ



รีวิวโดยผู้เขียน : การพัฒนา ความคิดเชิงกลยุทธ์

ในโลกซึ่งการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจ หรือส่วนตัว อันเป็นลักษณะของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) กลยุทธ์ในการบริหารจึงมีการพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเครื่องมือใหม่ๆ ในการบริหารการจัดการมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีลักษณะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจกับเครื่องมือและแนวทางการบริหารแผนใหม่ เป็นสิ่งซึ่งสามารถเรียนรู้กันได้ทั่วทุกคนด้วยการอ่านหนังสือ ฝึกอบรม หรือการสะสมจากประสบการณ์จากการทำงานโดยตรง (On the job training) เครื่องมือในการบริหาร (Manggement tools) เปรียบเสมือนอาวุธ แต่ความสำเร็จในการใช้อาวุธมิได้ขึ้นอยู่กับประเภทหรือลักษณะของอาวุธที่มีอยู่แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้อาวุธนั้นๆ คนบางคนอาจมีก้อนหินเพียงก้อนเดียว แต่สามารถในการเอาชนะคนที่มีปืน หรือคนบางกลุ่มอาจจะใช้เครื่องมือเพียงแค่มีด (Cutter) และวางแผนจี้เครื่องบินและยอมตาย ก็สามารถทำความเสียหายให้กับประเทศที่ทรงพลังด้วยอาวุธมหาประลัยมากมาย ดังในกรณีเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ปี ค.ศ. 2001 ฉันใดก็ฉันนั้น การเรียนรู้เครื่องมือหรือวิธีการในการบริหาร ซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธจึงมิใช่หลักประกันสู่ความสำเร็จในการบริหารการจัดการสู่ชัยชนะในโลกที่เข้มข้นด้วยการแข่งขันองค์ประกอบหรือปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการบริหารการจัดการสู่ความสำเร็จทั้งในระดับมหาภาค ระดับธุรกิจ หรือระดับส่วนตัว ย่อมขึ้นอยู่กับระบบของบุคคล คนใดมีระบบคิดที่ฉลาดกว่า ลึกซึ้งมากกว่า ย่อมได้เปรียบผู้ที่มีระบบคิดที่ตื้นเขินกว่าแม้ว่าอาวุธที่มีจะน้อยกว่าก็ตาม ระบบคิดจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวในการปกครอง ในระดับมหาภาค หรือการบริหารการจัดการในระดับธุรกิจและส่วนตัว

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว