พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้เขียน: ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

333.00 บาท

370.00 บาท ประหยัด 37.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 13 คะแนน

คนไทยมองการจัดกลุ่มของคนว่าคล้ายกับการจัดกลุ่มของช้าง คือต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้คนในลุ่มเดียวกันทำตาม < แสดงน้อยลง คนไทยมองการจัดกลุ่มของคนว่าคล้ายกับการจัดกลุ่มของช้าง คือต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้คนในลุ่มเดียวกันทำตาม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

333.00 บาท

370.00 บาท
370.00 บาท
ประหยัด 37.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 13 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
304 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.8 x 14.4 x 1.7 CM
น้ำหนัก
0.369 KG
บาร์โค้ด
9786167150642

รายละเอียด : พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

คนไทยมองการจัดกลุ่มของคนว่าคล้ายกับการจัดกลุ่มของช้าง คือต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้คนในลุ่มเดียวกันทำตาม ทั้งในกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จะมีคนหนึ่งบัญชาการให้คนอื่นทำตาม กลุ่มมิได้เกิดขึ้นแค่เพียงเพราะคนในกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกัน แต่เกิดจากความสัมพันธ์สองฝ่าย ระหว่างหัวหน้ากลุ่มกับสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชาซึ่งก็ยังหมายถึงขึ้นอยู่กับฐานะของข้าราชการตามที่ะบุไว้ในระบบศักดินาในบางกรณี สายการบังคับบัญชาอาจถูกกระทบโดยความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่นเมื่อผู้ใหญ่ออกคำสั่งให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ทำสิ่งที่ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยตรงของบุคคลนั้น แต่ตราบใดที่ความต่างในเรื่องฐานะ ตามระบบศักดินาไม่ถูกกระทบ เหตุการณ์ทำนองนี้ก็สามารถคลี่คลายได้ด้วยพลังของความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เพราะผู้น้อยต้องเคารพและ "เกรงใจผู้ใหญ่" ทุกคนรู้ฐานะของตัวเอง และรู้ว่าควรปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างไรให้เหมาะสมกับฐานะของตน  


คำนำ : พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แปลจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของ ดร.มรว. อคิน รพีพัฒน์ และนักมานุษยวิทยาไทยหลายคนคงมองว่าเป็นผลงานทางวิชาการที่มีชื่อเสียงที่สุดของอาจารย์อคิน วิทยานิพนธ์ดังกล่าวเคยได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรก ใช้ชื่อเรื่องว่า สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2416 โดย ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข และ พรรณี ฉัตรพลรักษ์ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2527 แม้เวลาผ่านพ้นไปนาน แต่หนังสือเล่มดังกล่าวยังมีคุณูปการต่อวงการวิชาการไทยศึกษา และผู้อ่านทั่วไป ที่ต้องการเข้าใจสภาวการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน โครงการจัดพิมพ์คบไฟจึงจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้ง เราจุด "คบไฟ" ขึ้นโดยหวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือที่ทรงคุณค่าดังเช่นเล่มนี้ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้ เพื่อจะได้ช่วยจรรโลงสังคมไทยให้เข้มแข็ง มีพลัง ปลอดพ้นจากแมลงร้ายและความมืด "คบไฟ" ขอทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่สาธารณชนดังที่ได้ทำมาแล้วสืบต่อไปอย่างดีที่สุด หวังว่าท่านผู้อ่านคงสนใจติดตามผลงานของ "คบไฟ" ในอันดับต่อๆไป

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

กรรมการโครงการจัดพิมพ์คบไฟ


สารบัญ : พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

    • บทนำ
    • ภูมิหลังและประวัติศาสตร์
    • สถาบันกษัตริย์
    • การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    • การจัดระเบียบสังคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    • การแบ่งชั้นทางสังคม
    • การเปลี่ยนแปลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    • การเขยิบฐานะทางสังคม
    • บทสรุป

เนื้อหาปกหลัง : พระมหากษัตริย์-ขุนนาง นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

คนไทยมองการจัดกลุ่มของคนว่าคล้ายกับการจัดกลุ่มของช้าง คือต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้คนในลุ่มเดียวกันทำตาม ทั้งในกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จะมีคนหนึ่งบัญชาการให้คนอื่นทำตาม กลุ่มมิได้เกิดขึ้นแค่เพียงเพราะคนในกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกัน แต่เกิดจากความสัมพันธ์สองฝ่าย ระหว่างหัวหน้ากลุ่มกับสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชาซึ่งก็ยังหมายถึงขึ้นอยู่กับฐานะของข้าราชการตามที่ะบุไว้ในระบบศักดินาในบางกรณี สายการบังคับบัญชาอาจถูกกระทบโดยความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่นเมื่อผู้ใหญ่ออกคำสั่งให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ทำสิ่งที่ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยตรงของบุคคลนั้น แต่ตราบใดที่ความต่างในเรื่องฐานะ ตามระบบศักดินาไม่ถูกกระทบ เหตุการณ์ทำนองนี้ก็สามารถคลี่คลายได้ด้วยพลังของความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เพราะผู้น้อยต้องเคารพและ "เกรงใจผู้ใหญ่" ทุกคนรู้ฐานะของตัวเอง และรู้ว่าควรปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างไรให้เหมาะสมกับฐานะของตน  

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว