เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙

ผู้เขียน: อภิชัย พันธเสน

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือม.รังสิต

หมวดหมู่: หนังสือพระราชนิพนธ์ , หนังสือพระราชประวัติราชวงศ์

0 (0) เขียนรีวิว

190.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 10.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจ และก็ พอเพียง พอเพียงก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าพอเพียงอะไร แต่ความคิดของตัว พอเพียง ก็คือว่า ทำอะไรไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำอะไรให้มันเิกินไป เมื่อทำแล้วได้ผลในการทำ ถ้าไ้ด้ผล ก็หมายความว่าประหยัดสำหรับชาวบ้าน คนที่ทำเศรษฐกิจนี้ < แสดงน้อยลง เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจ และก็ พอเพียง พอเพียงก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าพอเพียงอะไร แต่ความคิดของตัว พอเพียง ก็คือว่า ทำอะไรไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำอะไรให้มันเิกินไป เมื่อทำแล้วได้ผลในการทำ ถ้าไ้ด้ผล ก็หมายความว่าประหยัดสำหรับชาวบ้าน คนที่ทำเศรษฐกิจนี้

Tags: ในหลวง , รัชกาลที่ 9 , ภูมิพลอดุลยเดช , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , พระราชกรณียกิจ , พระมหากษัตริย์ไทย , พระราชดำรัส , เศรษฐกิจพอเพียง

190.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 10.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 20.9 x 0.7 CM
น้ำหนัก
0.155 KG
บาร์โค้ด
9786164210356

รายละเอียด : เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙

หนังสือที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีความเข้าใจภูมิสังคมของไทยอย่างลึกซึ้ง โดยทรงเล็งเห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรด้านอาหารที่จะทำให้คนไทยทุกคนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้โดยไม่ยาก ถ้าหากพวกเราช่วยดูแลทรัพยากรธรรมชาติของพวกเรา รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด คือ วิธีการของ "คนจน" (คือการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ด้วยวิธีการที่เรียบง่ายแต่ถูกหลักวิชาการ) ขณะเดียวกันก็แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ให้ความรักความเมตตาแก่เพื่อนร่วมชาติเพื่อให้เกิดเป็นความสามัคคี เกิดเป็นพลังของความสำเร็จร่วมกัน ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ที่สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าในระยะยาว คือ ถ้าหากจะพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่สัมพันธ์สภาวะของประเทศและประชาชน หรือไม่คำนึงถึงผลกระทบทางลบที่มีต่อสังคมและคุณภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดความไม่สมดุลหรือปัญหาต่างๆ

หนังสือเล่มนี้เป็นการเรียบเรียงจากความรู้ความเข้าใจของผู้เขียนเอง โดยมิได้มีความใกล้ชิดพระองค์แม้แต่น้อย เป็นการย้ำให้เห็นว่า "ธรรมะ" หรือคำสอนของพระองค์ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้พวกเราเข้าใจพระองค์และปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ให้เกิดเป็นมงคลแก่ชีวิตของพวกเราเองได้ ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาจะได้รับทราบจะด้วยญาณวิถีใดๆ ก็ตาม คงไม่มีอะไรที่พระองค์จะทรงปรารถนามากไปกว่านี้


คำนำ : เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙

หนังสือของ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน เป็นหนึ่งในงานเขียนที่ได้ประมวลความรู้เกี่ยวกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้านที่มา ความหมาย ที่สำคัญคือมีเรื่องของหลักการทรงงาน 23 ประการ โครงการต้นแบบ และการประยุกต์ใช้ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเผยแพร่สู่มหาชน และในวงการศึกษาที่จะนำไปสู่การขยายผลต่อไปในอนาคต

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์- อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

 

สำหรับผลงานชิ้นล่าสุดนี้ของท่านอาจารย์อภิชัย "เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9" เป็นงานเขียนที่ผมเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ความคิดของท่านในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกำลังสุกงอม (Maturity) อย่างเต็มที่ เพราะท่านไม่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงในระดับจุลภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นการวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยจากมุมมองเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมหภาค (Macro Analysis) อีกด้วย

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์- คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

 


สารบัญ : เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙

    บทที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะต่างๆ

    • เศรษฐกิจพอเพียงในฐานะแนวทางการพัฒนาประเทศ
    • เศรษฐกิจพอเพียงในฐานะแนวทางการพัฒนาครอบครัว ชุมชน องค์กร และสังคม
    • ครั้งแรกที่มีพระราชดำรัสคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"
    • เศรษฐกิจพอเพียงสามารถเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ในโครงการที่ทันสมัยได้

    บทที่ 2 ความหมายและตัวแบบของเศรษฐกิจพอเพียง

    • ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
    • ตัวแบบเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
    • แสดงตัวแบบของ สศช. โดยการวิเคราะห์เชิงระบบและการขยายความ

    บทที่ 3 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในและต่างประเทศ

    • การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศ
    • การให้การยอมรับเศรษฐกิจพอเพียงจากต่างประเทศ

    บทที่ 4 ข้อท้าทายและพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงองค์สุดท้าย

    • ข้อท้าทาย
    • พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงองค์สุดท้าย

เนื้อหาปกหลัง : เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙

"คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบ พออยู่ พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่าพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้"

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต 4 ธันวาคม พ.ศ.2517

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว