รายละเอียด : คันจิ น่าคัด
คันจิ น่าคัด
"คันจิ"(Kanji) เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทอักษรคำ ใช้ร่วมกับตัวอักษรอีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิระงะนะ(Hiragana) คะตะคะนะ(Katakana)โรมะจิ(Fomaji) และตัวเลขอารบิก
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งตัวอาจอ่านได้หลายเสียงอาจถึงสิบเสียงหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค คำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินัันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.เสียงอง 2.เสียงคุน
คำนำ : คันจิ น่าคัด
ใน "คันจิ น่าคัด" เล่มนี้ รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับลำดับของการเขียนตัวอักษรคันจิตามลำดับขีด ทีละขีดๆ ตั้งแต่ 1-7 ขีด กำกับเสียงอ่านด้วยคำอ่านโรมะจิและคำอ่านภาษาไทยทั้งสองแบบ คำศัพท์ท้ายตารางฝึกคัด และความรู้เสริมเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นท้ายเล่ม
สารบัญ : คันจิ น่าคัด
- ฮิระงะนะ
- คะตะคะนะ
- ตัวเลข
- คนและอวัยวะ
- สัตว์และพืช
- สถานที่และคุณลักษณะ
- สิ่งของและอื่นๆ
- คัดศัพท์ท้ายเล่ม
เนื้อหาปกหลัง : คันจิ น่าคัด
"ฝึกคัดอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่น 85 ตัว ตามลำดับการเขียนทีละขีดๆเสียงอ่านทั้งแบบจีนและญี่ปุ่นพร้อมคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของอักษรคันจินั้นๆ"
รีวิวโดยผู้เขียน : คันจิ น่าคัด
"คันจิ"(Kanji) เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทอักษรคำ ใช้ร่วมกับตัวอักษรอีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิระงะนะ(Hiragana) คะตะคะนะ(Katakana)โรมะจิ(Fomaji) และตัวเลขอารบิก
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งตัวอาจอ่านได้หลายเสียงอาจถึงสิบเสียงหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค คำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินัันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.เสียงอง(onyomi)แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนันตามเสียงภาษาจีน จะกำกับเสียงอ่านด้วยคะตะคะนะ
2.เสียงคุน(kunyomi)แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาญี่ปุน จะกำกับเสียงอ่านด้วยฮิระงะนะ
ใน "คันจิ น่าคัด" เล่มนี้ รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับลำดับของการเขียนตัวอักษรคันจิตามลำดับขีด ทีละขีดๆ ตั้งแต่ 1-7 ขีด กำกับเสียงอ่านด้วยคำอ่านโรมะจิและคำอ่านภาษาไทยทั้งสองแบบ คำศัพท์ท้ายตารางฝึกคัด และความรู้เสริมเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นท้ายเล่ม
การเขียนเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนภาษาต่างประเทศ หากผู้เรียนมีความพยายามในการฝึกฝนจนเป็นนิสัยแล้ว การเรียนภาษาย่อมก้าวหน้าอย่างแน่นอน ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนก้าวจากจุดเริ่มต้นไปสู่ก้าวแห่งความสำเร็จในอนาคตได้ ขอขอบคุณ
ผู้เขียน