อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

ผู้เขียน: ประภัสสร์ ชูวิเชียร

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

441.00 บาท

490.00 บาท ประหยัด 49.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 17 คะแนน

แกะรอยศิลปกรรมสมัยอยุธยา ท่ามกลางความศิวิไลซ์ของมหานคร < แสดงน้อยลง แกะรอยศิลปกรรมสมัยอยุธยา ท่ามกลางความศิวิไลซ์ของมหานคร
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

441.00 บาท

490.00 บาท
490.00 บาท
ประหยัด 49.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 17 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
368 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.2 x 23.9 x 1.9 CM
น้ำหนัก
0.531 KG
บาร์โค้ด
9789740215943

รายละเอียด : อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

ความเฟื่องฟูของเมืองธนบุรี หรือ "บางกอก" ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่แถบนี้ได้รับความสนใจจากกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมากเพราะสามารถตั้งฐานกำลังควบคุมการเดินทางเข้าออกพระราชอาณาจักร และยังมีผลผลิตพิเศษ เช่น ของสวน อาหารทะเล ส่งผ่านแม่น้ำลำคลองขึ้นมาป้อนยังราชธานีอย่างอุดมสมบูรณ์ ข้อมูลดังกล่าวปรากฏชัดในเอกสารประวัติศาสตร์เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และท้ายที่สุดนั้น ด้วยความเหมาะสมพรั่งพร้อมด้านทรัพยากรกับยุทธศาสตร์ พื้นที่แถบนี้ก็ถูกเลือกขึ้นเป็นมหานครศูนย์กลางพระราชอาณาจักรแทนที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งถูกทำลายล้างไปใน พ.ศ. 2310 ภาพทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้คงแจ่มชัดขึ้นหากนำเอาหลักฐานศิลปกรรมโบราณมาวางไว้เคียงคู่กับข้อมูลสนเทศด้านภูมิศาสตร์แม่น้ำลำคลอง เพื่อเห็นความงอกเงยของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สำหรับหนังสือ "อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง" นี้ผู้เขียนได้พัฒนาปรับปรุงมาจากงานวิจัยเรื่อง "หลักฐานศิลปกรรมอยุธยาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ในฐานะหัวเมือง "ปากใต้" สมัยอยุธยา" ซึ่งได้รับทุนวิจัยและสร้างสรรค์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2557 โดยเกิดจากความตั้งใจที่จะบันทึกร่องรอยเก่าแก่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในรูปของศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่นับวันจะถูกคุกคามจากความเจริญอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมานี้ อาจทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของกรุงเทพฯ และเมืองโดยรอบสูญหายไปในเวลาอันสั้นดังที่ได้เกริ่นมาข้างต้น ผู้เขียนขอคารวะแก่ดวงจิตของ น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฎะ) ผู้ทุ่มเททำการสำรวจเผยแพร่หลักฐานศิลปกรรมของชุมชน วัดวาอารามในย่านบางกอกและใกล้เคียงไว้ด้วยใจรักและศรัทธา หาไม่แล้วคงไม่มีหลักฐานใดเหลือให้ศึกษาได้อีกต่อไป

ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร


คำนำ : อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงน้ำท่วมบ่อย เป็นคำถามที่คนกรุงเทพฯ ยุคใหม่ต่อบไม่ได้ คงเพราะกายภาพดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ถูกกลืนหายไปกับโครงสร้างการพัฒนาขนาดใหญ่ในปัจจุบันจนเกือบหมดสิ้นแล้ว กายภาพที่ว่านั้นคือการตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ลุ่มต่ำสองฝากฝั่งแม่น้ำลำคลองซึ่งดำเนินมาจากอดีตหลายรร้อยปีและเพิ่งถูกเปลี่ยนแปลงไปในระยะเพียงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กรุงเทพฯ ไม่ได้สร้างเสร็จขึ้นมาเพียงแค่ ๒๐๐ กว่าปีของการถูกสถาปนาให้เป็นราชธานี แต่มีรากเหง้าเค้ารอยมานานกว่านั้นนับเท่าตัว หลักฐานของชุมชนยุคแรกๆ ยังคงถูกทิ้งไว้ตามหย่อมย่านที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งกลางเมืองและชานเมืองของกรุงเทพฯ บางแห่งอยู่ในสภาพไม่ต่างจากเศษขยะจากอดีต สุดท้าย ผู้เขียนเองคงขอออกตัวว่างานชิ้นนี้ยังคงมีข้อบกพร่องอีกมากที่ต้องการชี้แนะจากผู้รู้จริง รวมทั้งจะขอขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครและเมืองปริมณฑล หากได้เก็บรักษาและใส่ใจกับร่องรอยเก่าแก่อันสื่อถึงรากเหง้าความเป็นมาของพื้นที่แห่งนี้เพื่อรู้เท่าทันกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้ากันในปัจจุบันอย่างสมเหตุสมผล ดังเช่นปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑลที่ไม่เคยถูกนำเอาความรู้จากอดีตมาใช้ประโยชน์เลย

ประภัสสร์ ชูวิเชียร


สารบัญ : อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

    • บทนำ กรุงเทพฯ และปริมณฑล : ปากใต้ ของกรุงศรีอยุธยา
    • 1. แม่น้ำลำคลองกับชุมชนที่ "ปากใต้" พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยา
      • คำจำกัดความของชื่อหัวเมือง "ปากใต้"
    • 2. วัดปรางค์หลวง สถาปัตยกรรมอยุธยาที่เก่าแก่ที่สุดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
      • แผนผังกับความสัมพันธ์ด้านกายภาพ
    • 3. พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาที่พบในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หลักฐานศิลปกรรมสำคัญของยุคแรก
      • ข้อสังเกตเพื่อบ่งระบุรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา
    • 4. ใบเสมา : ร่องรอยการสถาปนาวัดวาอารามสมัยอยุธยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
      • กลุ่มที่ 1 ใบเสมาอายุช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 21
    • 5. อาคารอุโบสถวิหาร หลักฐานความเฟื่องฟูของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในสมัยอยุธยา
      • อาคารแบบรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
    • 6. เจดีย์ศิลปะอยุธยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับหลักฐานที่เหลืออยู่จำกัด
      • ปรางค์สมัยอยุธยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    • 7. พัฒนาการของย่านกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยา วิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างศิลปกรรมกับภูมิประเทศและชุมชน การกระจายตัวของหลักฐานศิลปกรรมสมัยอยุธยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล : ข้อสังเกตเบื้องต้น
    • 8. บทสรุป ข้อเสนอแนะ การเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไร้อดีตของกรุงเทพฯ และปริมณฑล

เนื้อหาปกหลัง : อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง กรุงเทพฯ ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นจากการสถาปนาพระราชวัง หรือกำแพงเมืองแต่อย่างใด แต่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวจากชุมชน เรือกสวน ไร่นา มีวัดวาอารามอันเสมือนเป็นศูนย์กลางประจำท้องถิ่น ปัจจุบันเขตแดนเหล่านี้กำลังจะถูกกลืนกินด้วย "ความเจริญ" ที่คืบคลานจากกลางเมือง สู่ชานเมืองกรุงเทพฯ และปริมณฑล ศิลปกรรมบางแห่งถูกทิ้งร้างไม่ต่างจากเศษขยะของอดีต ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร สำรวจ แกะรอยตามเส้นทางคมนาคมเดิมคือ แม่น้ำ ลำคลอง ทั่งทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้พบงานศิลปกรรมที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ฉายภาพให้เห็นถึงชุมชนโบราณดั้งเดิมที่เรียกว่า "หัวเมืองปากใต้" ของอยุธยา การค้บพบนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นแสงสว่างในอุโมงค์ลึก ท่ามกลางเงามืดแห่งความศิวิไลซ์ของมหานครแห่งนี้

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว