การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)

ผู้เขียน: คาร์ล มาร์กซ์

สำนักพิมพ์: สมมติ/Sommot

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

หนังสือแปลโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์ เชื่อว่าแนวคิดและวิธีวิทยาของมาร์กซมีความเป็น 'วิทยาศาสตร์แห่งสังคม' (Science of society) ทำให้การศึกษาและการวิเคราะห์สังคมสามารถทำได้ในหลากหลายมิติ และอย่างมีชีวิตจิตใจ เพราะแม้จะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ละเลยความเป็นมนุ < แสดงน้อยลง หนังสือแปลโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์ เชื่อว่าแนวคิดและวิธีวิทยาของมาร์กซมีความเป็น 'วิทยาศาสตร์แห่งสังคม' (Science of society) ทำให้การศึกษาและการวิเคราะห์สังคมสามารถทำได้ในหลากหลายมิติ และอย่างมีชีวิตจิตใจ เพราะแม้จะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ละเลยความเป็นมนุ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
191 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.4 x 20.8 x 1.2 CM
น้ำหนัก
0.225 KG
บาร์โค้ด
9786167196800

รายละเอียด : การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)

การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)

การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ (Pre-Capitalist Economic Formations) โดยแจ๊ค โคเฮน (Jack Cohen) เป็นผู้แปล และอีริค ฮอบสบอว์ม (Eric John Ernest hobsbawm) เป็นบรรณาธิการและผู้เขียนบทกล่าวนำในการแนะนำและวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานชิ้นนี้ของมาร์กซอย่างลึกซึ้ง เหตุผลที่เลือกแปลเรื่องนี้เนื่องมาจากว่า มีการเรียกร้องให้ขบวนการปฏิวัติไทยหันมาศึกษางานเขียนที่เป็นหลักของปรมาจารย์ลัทธิมาร์กซบ้าง ขณะนั้นหนังสือที่ฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะนักศึกษาใช้ในการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการต่อสู้ปฏิวัติมาจาก สรรนิพนธ์ เหมาเจ๋อตุง เป็นหลัก ความรับรู้ทางทฤษฎีโดยเฉพาะที่มาจากต้นธารนั้นแทบไม่มี อีกหนึ่งเหตุผลเพราะเห็นว่าปัญหาของการวิเคราะห์สังคมไทยว่าเป็นสังคมอะไร มีความเป็นมาอย่างไร ยังเป็นปัญหาที่แม้มีการอภิปรายและโต้เถียงกันมาพอสมควร แต่ก็ยังหาข้อสรุปที่เป็นของเราเองและเป็นที่ยอมรับกันไม่ค่อยได้ เหตุหนึ่งคือการขาดแคลนความรู้และความเข้าใจในวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจก่อนทุนนิยม เหตุใดบางสังคมจึงสามารถพัฒนาจากระบบฟิวดัลหรือศักดินาเข้าสู่ระบบทุนนิยม ในขณะที่อีกหลายสังคมไม่สามารถเข้าสู่การเป็นระบบทุนนิยมได้ หรือถ้ามีปัจจัยบางด้านของระบบทุน แต่ก็ไม่แสดงผลที่เป็นแบบระบบทุนนิยมในตะวันตก ถึงจุดหนึ่ง หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับการเรียกระบบเศรษฐกิจการเมืองในโลกที่สามว่าเป็น "ระบบกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา" หรือกึ่งทุนนิยม เหล่านี้คือที่มาและความเรียกร้องต้องการให้มีการผลิตงานในเชิงทฤษฎีที่เป็นของมาร์กซออกมา เพื่อจะได้ช่วยในการวิเคราะห์สังคมและบริบทที่ดำรงอยู่ในระยะต่างๆ ได้

 


สารบัญ : การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)

    • คำชี้แจงของผู้แปลฉบับภาษาไทย
    • บทนำ
    • วิวัฒนาการของชุมชนและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม
    • การก่อรูปของระบบทุนนิยม
    • ภาคผนวก : ปรัชญาประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ

เนื้อหาปกหลัง : การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (Pre-Capitalist Economic Formations)

ประเด็นที่เป็นใจกลางของเรื่องนี้คือ มนุษย์ได้สูญสิ้นความสามารถในการควบคุมวิวัฒนาการของตัวเขาเองและได้แต่มองดูการกำกับควบคุมนี้ตกไปอยู่กับองคาพยพอื่น ดังนั้นแล้วอะไรที่เคยเหมาะสมถูกต้องสำหรับมนุษย์ บัดนี้ได้กลายเป็นสิ่งแปลกแยกสำหรับเขาไปเสียแล้ว - บางส่วนจาก บทนำ โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ -

ยุคโบราณให้ความพอใจที่จำกัดแก่เรา ขณะที่โลกสมัยใหม่ทิ้งความไม่พอใจให้แก่เรา หรือถ้ามันมีความพอใจใตัวมันเองก็เป็นสิ่ง "สามานย์" และ "ไร้ค่า" - บางส่วนจาก การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม -

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว