ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

ผู้เขียน: สังคีต จันทนะโพธิ

สำนักพิมพ์: เพชรประกาย/phetpraguy

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

107.10 บาท

119.00 บาท ประหยัด 11.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

เมื่อปากที่พูด เรื่องราวที่เราได้ยิน ภาษาที่เพี้ยน เปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีความเป็นมาอันน่าทึ้งอย่างไร มาอมยิ้มไปพร้อมกัน < แสดงน้อยลง เมื่อปากที่พูด เรื่องราวที่เราได้ยิน ภาษาที่เพี้ยน เปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีความเป็นมาอันน่าทึ้งอย่างไร มาอมยิ้มไปพร้อมกัน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

107.10 บาท

119.00 บาท
119.00 บาท
ประหยัด 11.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
192 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.1 x 20.5 x 1 CM
น้ำหนัก
0.232 KG
บาร์โค้ด
9786164411081

รายละเอียด : ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

เห็นชื่อ สังคีต จันทนะโพธิ หนอนหนังสือที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ในเรื่องสารคดีคงจะนึกออกว่าเป็นมือเขียนสารคดีอาชีพ ฉะนั้นไม่ต้องแนะนำตัวผู้เขียนมากนัก ใน เล่มนี้ จะว่าเป็นคำพังเพยก็ไม่ใช่ คนไทยเราชอบพูดมีสร้อยยืดยาว และการเรียกเพี้ยนนี้ก็เป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ยกตัวอย่างคำว่าปากน้ำโพล่ ซึ่งหมายถึงแม่น้ำสี่สายมาบรรจบกันเรียกไปเรียกมาเป็นปากน้ำโพ สมัยราชกาลที่ 4 มีฝรั่งคนหนึ่งเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย ชื่อโรเบิร์ต ฮันเตอร์ ตามความนิยมของฝรั่งชอบเรียกนามสกุลกัน ก็เลยเรียก "ฮันเตอร์" หรือมิสเตอร์ฮันเตอร์ ต่อมาคนไทยก็เรียนเพี้ยนเป็น "หันแตร" จนกลายมาเป็นชื่อติดประวัติแบบนี้ไปก็มี หนังสือ ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน เล่มนี้ ผู้เขียนได้เก็บรวบรวม "ความเพี้ยน" ของคนไทยไว้มากมาย อ่านแล้วน่าจะให้ทั้งความรู้และความสนุกไปด้วย จึงหวังว่าจะพอใจในผลงานชิ้นใหม่ของนักเขียนสารคดีผู้นี้

กองบรรณาธิการ


สารบัญ : ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

    • กว่าจะมาเป็น เพลงชาติไทย
    • คาใจ! ลาวไหนที่เป็นลาวดวงเดือน
    • ดอกโสน ถึง ดอกคัดเค้า
    • เลี่ยวจ๊าไกว๋-ลิ่วจาก๊วย ปาท่องโก๋
    • ข้าวต้มกุ๊ยมาจากข้าวต้มพุ้ย
    • กะโหลก-กะลา-กระจา-กระบวย
    • อะไร! คือ น่ำแช สาวโคมเขียว
    • ดั้งเดิมของ "ไม้เท้า"
    • ไม้เท้า-ไม้สักกะเท้า คนละอันกับตะพด
    • ชุดราชปะแตน RAJ PATENT
    • ชุดพระราชทาน รัชกาลที่ 5
    • มังคุด เดิมเรียก มงกุฎ MANGOSTEEN
    • ตะเภาเดียวกัน
    • ทิดสึกใหม่
    • ผัาขอขมา

เนื้อหาปกหลัง : ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

เมื่อวันเวลาหมุนเวียนผ่านไปนานวันแบบแผน ประเพณีและวิวัฒนาการก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สถานที่ทุกสถานที่มีประวัติและอดีตมีชื่อเรียกขานสืบต่อกันมา ชื่อเก่าๆ ที่ใช้เรียกขานยังคงเป็นภาษาคาใจแก่คนรุ่นหลัง เพราะหาชื่อนี้ไม่พบ ทำไมถึงเรียกแบบนี้และยังคงหาคำตอบไม่ได้ ถึงแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความรู้สึกและความทรงจำของคนรุ่นเก่าก็ยังคงอยู่และได้รวบรวมไว้ใน "ภาษาคาใจ ปากพูด หูเพี้ยน"

รีวิวโดยผู้เขียน : ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน

วัน เวลา ของโลกหมุนเวียนผ่านไปตลอดเวลาที่ชาติไทยหรือสยาม (SIAM) ได้ปักหลักครองผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ (แหลมทอง) เป็นถิ่นเริ่มบุกเบิกชีวิต ยิ่งนานไปแบบแผนประเพณี วิวัฒนาการก็เปลี่ยนไปคนไทยผูกพันอยู่กับ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อถือ ศาสนา ทำสงครามเพื่อชีวิต เพื่อแผ่นดิน และความอยู่รอด สถานที่ทุกตารางนิ้วมีประวัติและอดีต มีชื่อเรียกขานสืบต่อกันมา แต่กาลเวลาเปลี่ยนแปลงความรู้สึกและความทรงจำแก่คนรุ่นใหม่ ชื่อเก่าๆ ที่ใช้เรียกขาน เช่น จังหวัดธนบุรี ต่อไปภายภาคหน้าก็คงจะคาใจคนไทย เพราะหาชื่อนี้ไม่พบ ไม่รู้ว่าอยู่ภาคไหนของประเทศคนรุ่นเก่าเอาชื่อนี้มาพูดได้อย่างไร หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง คือ ปฐมอักขระ (รากเหง้าของภาษาไทยในปัจจุบัน) เป็นปูชนียวัตถุสำหรับศึกษาภาษาไทยตลอดมา แต่หากนำมาพูดก็คงเชยสุดๆ ผลไม้ที่เรียกกันว่า "มังคุด" แทบจะทุกๆ ท่านผู้อ่านคงรู้จักดี แต่คงไม่ทราบว่าเดิมนั้นชื่อ "มงกุฎ" เรียกตามรูปลักษณ์ของขั้วผลไม้นั้น ต่อมาจึงเพี้ยนมาเป็นมังคุด ต่อมาเมืองไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามาก ฝรั่งรู้จักผลไม้ไทยเพียงแค่มะม่วง ฝรั่งเรียก "แมงโก้ส" ฝรั่งเห็นมังคุดเขาไปถามแม่ค้าปากจัดว่า "แมงโกส" ใช่ไหม? แม่ค้าตอบอย่างเคืองๆ โดยด่าตอบไม่ว่า "แมงโกสตีน (ส้นตีน)" ฝรั่งจึงซึ่งว่าผลไม้นี้ชื่อเป็นเช่นนี้ และก็เรียกกันมาถึงทุกวันนี้ ชื่อสถานที่และสิ่งของจากชื่อโบราณ ทุกอย่างมีที่มาที่ไปมีอีกนับร้อยนับพัน ทุกเรื่องในเล่ม ภาษาคาใจ ปากพูดหูเพี้ยน ผมเก็บสะสมไว้เป็นแรมปีทุกเรื่องมีที่มาและที่ไป

สังคีต จันทนะโพธิ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว