ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

ผู้เขียน: วรเจตน์ ภาคีรัตน์

สำนักพิมพ์: อ่าน/read

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

531.00 บาท

590.00 บาท ประหยัด 59.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 21 คะแนน

หนังสือที่นำเสนอแนวความคิด และการสำรวจความคิดหลักในทางนิติปรัชญาของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนการเดินทางด้วยขบวนรถไฟ < แสดงน้อยลง หนังสือที่นำเสนอแนวความคิด และการสำรวจความคิดหลักในทางนิติปรัชญาของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนการเดินทางด้วยขบวนรถไฟ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

531.00 บาท

590.00 บาท
590.00 บาท
ประหยัด 59.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 21 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
526 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
17 x 24.6 x 3.5 CM
น้ำหนัก
0.994 KG
บาร์โค้ด
9786167158761

รายละเอียด : ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

หนังสือประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา เล่มนี้ ผู้เขียนตั้งใจสํารวจความคิดหลักเกี่ยวกับกฎหมาย การเมือง และรัฐ ของนักคิดคนสําคัญที่ปรากฏ ตัวขึ้นบนเวทีประวัติศาสตร์ปรัชญาของโลก โดยเหตุที่ความคิดของมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ได้ปรากฏขึ้นอย่างไร้สาเหตุ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นผลจากบริบททางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนวัฒนธรรมในห้วงเวลาที่มนุษย์คนนั้นมีชีวิตอยู่ และในบางกรณีก็เป็นผลมาจากชีวิตส่วนตัวของมนุษย์ผู้นั้น ผู้เขียนจึงไม่ได้นําเสนอ เฉพาะความคิดของนักคิดแต่ละคนเท่านั้น แต่พยายามที่จะฉายภาพความเป็นไปแห่งชีวิตของนักคิดแต่ละคน เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นบริบททางประวัติศาสตร์ที่แวดล้อมนักคิดแต่ละคนด้วย การสํารวจความคิดหลักในทางนิติปรัชญาของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนการเดินทางด้วยขบวนรถไฟสํารวจความคิดที่ผู้เขียน เริ่มออกเดินทางจากสถานีต้นทางในยุคกรีกโบราณสู่สถานีปลายทางในศตวรรษที่ ๒๐ ความคิดของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนสถานีที่ขบวนรถไฟสํารวจ ความคิดได้หยุดลงเพื่อให้ผู้เขียนได้มีโอกาสสํารวจสถานีทางความคิดเหล่านั้น แต่ละสถานีทางความคิดมีความน่าสนใจในตัวเองแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่จะต้องเดินทางไปให้ถึงศตวรรษที่ ๒๐ ให้ทันตามกําหนดเวลา ขบวนรถไฟสํารวจความคิดขบวนนี้จึงไม่สามารถหยุดทุกๆ สถานีได้ บางสถานีผู้เขียนต้องผ่านไปก่อน โดยหวังว่าเมื่อมีโอกาสเดินทางย้อนกลับไปจากศตวรรษ ที่ ๒๐ จะได้หยุดที่สถานีทางความคิดซึ่งจําต้องผ่านเลยไปในการพิมพ์ครั้งแรกนี้

ในการสํารวจความคิดและนําเสนอความคิดของนักคิดแต่ละคนนั้น ผู้เขียนพยายามที่จะนําเสนอให้เป็นภววิสัยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม โดยที่ผู้เขียนก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งเติบโตและใช้ชีวิตในกาละเทศะ และบริบททางประวัติศาสตร์ที่แน่นอนบริบทหนึ่ง การเสนอความคิดของนักคิดแต่ละคนจึงทําผ่านสายตาของผู้เขียนที่ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ย่อมคัดกรองสิ่งที่ต้องการเสนอและไม่ต้องการเสนอโดยปริยาย และถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว หนังสือประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญาเล่มนี้จะมีลักษณะเป็นการนําเสนอแนวความคิดของนักคิด ยิ่งกว่าจะมีลักษณะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดทางนิติปรัชญาจากทัศนะของผู้เขียนเอง แต่ในกรณีที่ผู้เขียนเห็นว่าจําเป็นผู้เขียนก็จะได้แสดงทัศนะของตนเองไว้ในการแสดงทัศนะของตนเองนั้น ผู้เขียนตระหนักว่าบางกรณีย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องวิจารณ์ความเห็นที่ถือได้ว่าเป็นความเห็นกระแสหลักในวงการนิติปรัชญาของไทยด้วย ซึ่งหากจําเป็นต้องกระทําผู้เขียนก็จะกระทําอย่างตรงไป ตรงมาเท่าที่จะกระทําได้ภายใต้สถานการณ์ที่เสรีภาพในทางวิชาการดูจะแห้งแล้งเต็มทนในเวลานี้


สารบัญ : ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

    • บทที่ ๑ การอุบัติขึ้นของนิติปรัชญาและนิติปรัชญาในยุคเริ่มต้น
    • บทที่ ๒ นิติปรัชญาโสฟิสต์
    • บทที่ ๓ กฎหมายและความยุติธรรม : ว่าด้วยปรัชญาของโสคราตีส เพลโต และอาริสโตเติล
    • บทที่ ๔ นิติปรัชญาสโตอิกและนิติศาสตร์โรมัน
    • บทที่ ๕ นิติปรัชญาสมัยกลาง
    • บทที่ ๖ นิติปรัชญาช่วงรอยต่อระหว่างสมัยกลางและสมัยใหม่
    • บทที่ ๗ นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงแรก)
    • บทที่ ๘ นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงหลัง)
    • บทที่ ๙ นิติปรัชญาปลายศตวรรษที่ ๑๘ และนิติปรัชญาในศตวรรษที่ ๑๙
    • บทที่ ๑๐ นิติปรัชญาในศตวรรษที่ ๒๐

     


เนื้อหาปกหลัง : ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

ถึงแม้ว่าโดยหลักแล้วผู้เขียนมุ่งหวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบการบรรยายวิชานิติปรัชญาของผู้เขียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หากหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์ วิชาปรัชญา หรือวิชาการทางสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไปที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญาและกฎหมาย ผู้เขียนจะรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง หวังว่าหนังสือประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญาเล่มนี้จะช่วยทําให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจ เห็นความหลากหลายในทางความคิดเกี่ยวกับการตอบคําถามที่เป็นปัญหารากฐานของกฎหมายมากขึ้น มีความรอบรู้ มีโลกทัศน์และมีจิตใจที่กว้างขวางขึ้น และหวังว่างานเขียนเรื่องนี้จะช่วยสร้างเสริมเติมแต่งสิ่งที่ยังขาดอยู่ในวงวิชาการทางนิติปรัชญาในประเทศไทยแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม - บางตอนจากคํานํา

เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่เกิดการล้มล้างรัฐธรรมนูญและการแย่งชิงอํานาจรัฐ หรือการรัฐประหารหลายครั้งหลายหน เราจะพบว่าบรรดานักกฎหมายที่เข้าไปรับใช้คณะรัฐประหาร ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เข้าไปเพราะมีทัศนะหรือจุดยืนทางนิติปรัชญา แต่เข้าไปเพราะทัศนะทางการเมืองหรือเข้าไปเพราะแสวงหาผลประโยชน์หรืออํานาจ ... อาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายไทยที่เข้าไปรับใช้อํานาจของคณะรัฐประหาร ไม่อาจจัดว่ามีความคิดทางนิติปรัชญาในสํานักไหนได้ทั้งสิ้น ความคิดหลักของนักกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งก็คือการรับใช้อํานาจ ไม่มีทางจะถือเป็นสํานักความคิดทางนิติปรัชญาได้ - บางตอนจากบทที่ ๙

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว