ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงษ์ อรพีพัฒนพงศ์

สำนักพิมพ์: อมรินทร์

หมวดหมู่: บริหาร ธุรกิจ , การเงิน การลงทุน

0 (0) เขียนรีวิว

140.25 บาท

165.00 บาท ประหยัด 24.75 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

กฏหมายที่ทุกคนต้องรู้และทำความเข้าใจ ใครได้ใครเสีย < แสดงน้อยลง กฏหมายที่ทุกคนต้องรู้และทำความเข้าใจ ใครได้ใครเสีย
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือในเครืออมรินทร์ลดเลย 15%

140.25 บาท

165.00 บาท
165.00 บาท
ประหยัด 24.75 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 21 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.251 KG
บาร์โค้ด
9786161825577

รายละเอียด : ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์

ภาษีการรับมรดกคือ ภาษีเรียกเก็บจากผู้รับทรัพย์มรดกที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีรับมรดกในอัตราร้อยละ 5 (กรณีที่ทายาทเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน) หรือร้อยละ 10 (กรณีที่ทายาทเป็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากบุพการีและผู้สืบสันดาน) ของมูลค่าทรัพย์มรดก เฉพาะส่วนที่มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้พิจารณาจากมูลค่าทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ทรัพย์มรดกซึ่งต้องเสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ทรัพย์สิน 5 ประเภทที่ พรบ.ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ต้องเสียภาษีการรับมรดกเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินนอกจากที่กฏหมายกำหนดไว้ ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก

หนังสือเกี่ยวกับภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้เล่มแรกในประเทศไทยที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับพ.ร.บ. ภาษีมรดกที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ เนื้อหาสมบูรณ์ที่สุดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชื่อดังที่มีดีกรีเป็นทั้งที่ปรึกษากฎหมายของภาคเอกชนและภาครัฐ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีการรับมรดก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ภาษีมรดกคืออะไร การยื่นชำระภาษีต้องทำอย่างไร มีมรดกเท่าไหร่ถึงต้องยื่นภาษี หากไม่ยื่นจะต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่ มีกรณีตัวอย่างของการจ่ายภาษี การรับมรดกและการได้รับมรดก ว่าได้รับเท่าไหร่ถึงต้องจ่ายภาษี มรดกแบบไหนที่ต้องเสียภาษี แบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่าลืมว่า ทุกคนที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกหรืออยากรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ได้รับมรดกไหมเมื่อญาติเสียชีวิต ความรู้ด้านกฎหมายและภาษีการรับมรดก จะช่วยรักษาสิทธิ์ของทุกคน


สารบัญ : ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

    ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์

    • ภาษีการรับมรดก
    • รู้จักภาษีการับมรดก
    • มรดกและการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
    • การเสียภาษีการรับมรดก
    • การยื่นแบบ การชำระภาษี และการประเมินภาษี
    • การบังคับชำระภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มและโทษทางอาญา
    • ภาษีการให้และการรับให้
    • การให้ประเภทต่างๆ
    • หลักการเบื้องต้นของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • รู้จักภาษีการให้และการรับให้
    • ภาษีการให้และการรับให้
    • ข้อคิดการวางแผนภาษีการรับมรดกภาษีการให้และภาษีการรับให้

เนื้อหาปกหลัง : ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์

หนังสือความรู้เกี่ยวกับภาษีการรับมรดก รวมทั้งกฏหมายที่เกี่ยวข้องฉบับสมบูรณ์ มีมรดกเท่าใดจึงต้องชำระภาษี ได้รับมรดกเท่าใดจึงต้องชำระภาษี ได้รับมรดกที่ถึงเกณฑ์ต้องชำระภาษีแล้วต้องชำภาษีเมื่อใด จัดการมรดกเพื่อวางแผนอนาคตสำหรับตัวเองและครอบครัวอย่างไร

ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ที่สนใจกฏหมาย ผู้ที่สนใจเรื่องภาษีการรับมรดก ภาษีการให้ และภาษีการรับให้ ผู้ที่สนใจเรื่องพินัยกรรมและพินัยกรรมชีวิต ทุกคนที่มีสิทธิได้รับมรดกหรืออยากรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ได้รับมรดกไหมเมื่อญาติเสียชีวิต



รีวิวโดยผู้เขียน : ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์

หนังสือ ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีการรับมรดก ภาษีการให้ และภาษีการรับให้ และเพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฏหมาย โดยหากมีภาษีการรับมรดก ภาษีการให้ และภาษีการรับให้ที่พึงต้องเสียก็จะได้เสียภาษีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องภาษีการรับมรดกอาจเข้าใจผิดว่า ภาษีการรับมรดกเป็นเรื่องน่ากลัวและจะต้องเสียภาษีการรับมรดกในจำนวนมากก็เลยรีบโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรหลาย เพื่อไม่ให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นทรัพย์มรดก และบุตรหลายจะได้ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก อย่างไรก็ตาม การโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรหลายในขณะผู้โอนยังมีชีวิตอยู่ก็อาจสงผลให้บุตรหลายต้องเสียภาษีการรับให้แทน นอกจากนี้บุตรหลายก็อาจขายทรัพย์สินดังกล่าวออกไป ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้โอนที่จะรักษาการถือครองทรัพย์สินดังกล่าวให้อยู่กับสมาชิกในครอบครัวต่อไป อีกทั้ง เมื่อบุตรหลายได้รับทรัพย์สินไปแล้ว ก็อาจไม่เลี้ยงดูบุพการีก็เป็นได้

ในทางตรงกันข้าม หากท่านมีความรู้กฏหมายภาษีการรับมรดกภาษีการให้ และภาษีการรับให้ในเบื้องต้นแล้ว ท่านก็จะไม่กังวลใจมากนักเพราะภาษีการรับมรดกจัดเก็บในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์มรดกที่ได้รับ เฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการจัดเก็บภาษีการรับมรดกในอัตราค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษี การรับมรดกยังจัดเก็บเฉพาะการรับมรดกที่เป็นทรัพย์สินบางประเภทที่กฏหมายกำหนดเท่านั้น และหากท่านประสงค์ที่จะยกทรัพย์สินให้แก่บุตรหลายในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ก็สามารถทยอยทรัพย์สินให้แก่บุตรหลานได้ทุกปี ปีละไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีการให้และภาษีการรับให้

นอกจากภาษีการรับมรดก ภาษีการให้และการรับให้แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิต เพื่อแสดงเจตนาในการบริหารจัดการชีวิตของผู้ทำพินัยกรรมเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร และเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัวหรือกับทายาทในภายหลัง

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงษ์ อุรพีพัฒนพงศ์



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์ (ปกใหม่)

ภาษีการรับมรดก ฉบับสมบูรณ์

กฏหมายเป็นเรื่องที่หลายคนคิดว่าไกลตัว แต่ความเป็นจริงแล้ว หากเราไม่รู้กฏหมายอาจทำให้เราโดนเอาเปรียบและเสียผลประโยชน์ในหลายๆ ด้านได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐได้พยายามจะทำกฏหมายภาษีมรดกขึ้นมาหลายครั้งแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก 2558 มีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันถัดมาหลังวันประกาศใช้ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษีมรดกและภาษีการให้และการรับให้ฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่ามีมรดกเท่าใดจึงต้องชำระภาษี ได้รับมรดกเท่าใดจึงต้องชำระภาษี เมื่อได้รับมรดกทึ่ถึงเกณฑ์ต้องชำระภาษีแล้วต้องชำระภาษีเมื่อใด รวมถึงการจัดการมรดกเพื่อวางแผนอนาคตสำหรับตัวเองและครอบครัว

เมื่อเรารู้กฏหมายฉบับนี้แล้ว จะช่วยให้ผู้ที่มีมรดกและผู้ที่ได้รับมรดกจัดการมรดกที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สำนักพิมพ์อมรินทร์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว