เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

ผู้เขียน: รื่นฤทัย สัจจพันธุ์

สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์แสงดาว/saengdao

หมวดหมู่: วรรณกรรม , วรรณคดีไทย

5 (1) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

บทละครเรื่องนี้มีหลากหลายอารมณ์ ให้ความเพลิดเพลินชวนติดตาม และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณีโบราณหลายอย่างไว้ด้วย < แสดงน้อยลง บทละครเรื่องนี้มีหลากหลายอารมณ์ ให้ความเพลิดเพลินชวนติดตาม และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณีโบราณหลายอย่างไว้ด้วย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
240 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 20.9 x 1.4 CM
น้ำหนัก
0.261 KG
บาร์โค้ด
9786163882998

รายละเอียด : เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา 4 องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี และยังมีนครหมันหยาซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติกันกับนครเหล่านี้  กษัตริย์แห่งวงศ์เทวามีมเหสี 5 องค์เรียงลำดับตามตำแหน่งดังนี้ 1.ประไหมสุหรี 2.มะเดหวี 3.มะโต ลิกู และ 4.เหมาหลาหงี ต่อมาท้าวกุเรปันได้โอรสกับมเหสีเอก ซึ่งโอรสองค์นี้มีวาสนาสูง องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นต้นวงศ์เทวาอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชวิเศษลงมาให้พร้อมจารึกชื่อไว้บนกริชว่า "หยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเองหยังตาหลา" เรียกสั้นๆ ว่า อิเหนา ท้าวหมันหยามีธิดากับมเหสีเอกชื่อ จินตะหราวาตี และท้าวดาหามีธิดากับมเหสีเอกของตนเช่นเดียวกันชื่อว่า บุษบา ท้าวกุเรปันได้ขอตุนาหงัน (หมั้นไว้) บุษบาให้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการสืบราชประเพณี"...ตามจารีตโบราณสืบมาเพื่อมิให้วงศาอื่นปน..."ส่วนอิเหนาเติบโตเป็นเจ้าชายรูปงาม ชำนาญการใช้กริช ครั้นเมื่อพระอัยกีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาได้ไปในงานปลงพระศพแทนพระบิดาและพระมารดาซึ่งทรงครรภ์แก่ ได้ไปพบนางจินตะหราก็หลงรัก และได้นางเป็นชายา โดยไม่ฟังคำทัดทานจากท้าวกุเรปัน และได้บอกเลิกตุหนาหงันนางบุษบาเสียเฉยๆ ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองพระทัยมาก ดังนั้นพอจรกาซึ่ง "รูปชั่วตัวดำ" มาขอบุษบา ท้าวดาหาก็ยกให้เพราะแค้นใจอิเหนา ฝ่ายองค์อสัญแดหวา (ปะตาระกาหลา) เทวดาผู้ทรงเป็นต้นวงศ์เทวาไม่พอพระทัย อิเหนา เห็นว่าต้องดัดสันดานให้สำนึกตัว จึงบันดาลให้วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิงเก็บรูปนางบุษบาได้ เกิดคลั่งไคล้รบเร้าให้พระบิดาไปขอ ท้าวดาหาก็ให้ไม่ได้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็รักลูกมาก จึงยกทัพไปรบเพื่อแย่งชิงนางบุษบา ท้าวดาหาแจ้งข่าวให้ท้าวกุเรปันและจรกายกทัพมาช่วย ท้าวกุเรปันโปรดให้อิเหนาเป็นแม่ทัพยกไปช่วย อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหรายกทัพไปช่วยท้าวดาหารบจนได้ชัยชนะ และฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำตาย หลังจากเสร็จศึกแล้ว อิเหนาได้เข้าเฝ้าได้ท้าวดาหา และเมื่อได้พบนางบุษบาเป็นครั้งแรก อิเหนาถึงกับตะลึงหลงนางบุษบา เรื่องราวมันไม่ง่ายนักถ้า อิเหนาจะมารักกับบุษบาและครองคู่กัน ต้องผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อสิ้นเวรสิ้นกรรมแล้ว กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งหมดก็ได้พบกันอีก อิเหนาก็ได้ปรับความเข้าใจกับนางจินตะหราและได้ครองเมืองกุเรปันอย่างมีความสุขสืบไป


สารบัญ : เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

    • ตอนที่ ๑ กำเนิดอิเหนา บุษบาและพระโอรสพระธิดา
    • ตอนที่ ๒ งานศพที่เมืองหมันหยา
    • ตอนที่ ๓ อิเหนาลอบรักนางจินตะหรา
    • ตอนที่ ๔ อิเหนาเสด็จประพาสป่า
    • ตอนที่ ๕ อิเหนารบกับระตูบุศสิหนา
    • ตอนที่ ๖ อิเหนาเสด็จเข้าเมืองหมันหยา
    • ตอนที่ ๗ อิเหนาตัดรอนบุษบา
    • ตอนที่ ๘ จรกาส่งช่างไปวาดรูป และสู่ขอบุษบา
    • ตอนที่ ๙ วิหยาสะกำคลั่งรักนางบุษบา
    • ตอนที่ ๑๐ ศึกชิงนางที่เมืองดาหา
    • ตอนที่ ๑๑ อิเหนาจากเมืองหมันหยา

เนื้อหาปกหลัง : เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย นับว่าเป็นเพชรน้ำงามเม็ดหนึ่งแห่งวงวรรณกรรมไทย เพราะมีคุณสมบัติเด่นคือเป็นวรรณกรรมที่มีความไพรเราะงดงามด้วยถ้อยคำที่เลือกเฟ้นเจียระไนมาแล้ว เป็นอย่างดี และยังมีคุณค่าทางด้านศิลปะการประพันธ์ เพราะเป็นบทละครรำที่สามารถนำไปใช้แสดงได้อย่างเหมาะเจาะทุกบททุกตอน นับเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะสองแขนงควบคู่ไป คือ วรรณศิลป์และนาฏศิลป์ จนได้รับยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดแห่งบทละครรำ

แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนา จะมีที่มาจากวรรณคดีเรื่องสำคัญของชวาก็ตาม แต่เนื้อหาซึ่งเกี่ยวพันกับความรักและการผจญภัยของตัวละครเอก เหมือนเช่นเดียวกับวรรณคดีไทยโดยมาก โดยเฉพาะบุคลิกลักษณะของอิเหนาก็ไม่ต่างไปจากตัวละครชายอื่นๆ ในวรรคคดีไทย คือ เจ้าชู้และรบเก่ง เป็นต้น บทละครเรื่องนี้มีหลากหลายอารมณ์ ให้ความเพลิดเพลินชวนติดตาม และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณีโบราณหลายอย่างไว้ด้วย



รีวิวโดยผู้เขียน : เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว

เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว เล่มนี้เป็นหนังสืออ่านสำหรับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่านทั่วไป ที่นอกจากมีจุดประสงค์ต้องการทราบเรื่องราวของวรรณคดีเรื่องอิเหนาโดยละเอียดแล้ว ยังปรารถนาเสพอรรถรสทางวรรณศิลป์ของวรรณคดีเรื่องนี้อย่างดื่มด่ำอีกด้วย ผู้เขียนจึงพยายามเก็บเนื้อความจากบทละครเรื่องนี้ เรียงร้อยเป็นภาษาร้อยแก้วให้ครบถ้วนและสละสลวย พร้อมทั้งคัดสรรบทร้อยกรองที่ไพเราะกินใจให้ผู้อ่านได้สัมผัสสุนทรียรสของภาษากวีอย่างจุใจ ผู้เขียนหวังว่า เล่าเรื่องอิเหนา ฉบับร้อยแก้ว เล่มนี้จะกระตุ้นผู้อ่านให้เกิดความรักวรรณคดีเรื่องนี้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการติดตามอ่านบทละครเรื่อง อิเหนา ฉบับพระราชนิพนธ์ ในโอกาสอันควรต่อไป

ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันะธุ์

รีวิว


5.0
5 (1)
  • 5
    100 %
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว