คนใบเลี้ยงเดี่ยว

ผู้เขียน: กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

สำนักพิมพ์: นาคร/Nakorn

หมวดหมู่: วรรณกรรม , เรื่องสั้น

0 (0) เขียนรีวิว

162.00 บาท

180.00 บาท ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

นี่คือรวมเรื่องสั้นชุดที่สองของนักเขียนหนุ่ม-กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ซึ่งแสดงภาวะแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเข้มข้น < แสดงน้อยลง นี่คือรวมเรื่องสั้นชุดที่สองของนักเขียนหนุ่ม-กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ซึ่งแสดงภาวะแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเข้มข้น
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

162.00 บาท

180.00 บาท
180.00 บาท
ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
208 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
12.8 x 18.4 x 1.3 CM
น้ำหนัก
0.219 KG
บาร์โค้ด
9786167184685

รายละเอียด : คนใบเลี้ยงเดี่ยว

คนใบเลี้ยงเดี่ยว

นี่คือรวมเรื่องสั้นชุดที่สองของนักเขียนหนุ่ม-กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ซึ่งแสดงภาวะแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเข้มข้น เป็นภาพแทนของคนผู้ยังยืนหยัดกับความสุข ความภาคภูมิใจกับการได้กระทำสิ่งที่ตนเองรัก อันเป็นวิถีที่พวกเขาควรจะเป็น ชีวิตของคนชั้นต่ำที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อเงินตรา หน้าตา แต่สูญเสียความเป็นผู้เป็นคน คนในปางไม้ที่ละเลียดตีบรรทัดแต่ละเส้น เลื่อยไม้ทีละซีก ใช้แรงงานของตนเองอย่างภาคภูมิใจ ท้าทายกับความโง่ของเลื่อยจักรที่เพียงแต่เอามือจับก็กินเนื้อไม้ได้ หรือไม้นั้นก็เดินทางไปใช้แรงงานในเหมืองแร่เป็นกุลีให้เขาโขกสับ แลกกับเงินและโลกแห่งการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย คนเหล่านี้ใครคือคนใบเลี้ยงเดี่ยว ที่ล้มลุกคลุกคลาน หรือที่สุดแล้วคนใบเลี้ยงเดี่ยวยุคแล้วยุคเล่าไม่มีที่สิ้นสุด


สารบัญ : คนใบเลี้ยงเดี่ยว

    • บ่ายบัดซบ
    • กลางฝนยามค่ำ
    • อีกฝั่งฟาก
    • พระราชาธิราช
    • ในป่าลึก
    • ชานชาลา
    • เพื่อนระหว่างทาง
    • วันรอ
    • ผีจากภูเขา


รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : คนใบเลี้ยงเดี่ยว

กนกพงศ์ได้เขียนเรื่องสั้นออกมาสามเล่ม คือ "สะพานขาด" อันเสมือนการบอกเล่าถึงปัญหาทางสังคม-การเมืองที่เกิดสภาพแตกหักระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง ระหว่างวิถีเดิมของชาวบ้านกับวิถีใหม่ที่เป็นทุน "คนใบเลี้ยงเดี่ยว" อันเสมือนการพูดถึงสภาพสับสนในจิตใจของปัจเจกบุคคล ซึ่งสำแดงออกโดยพฤติกรรม อันเป็นผลพวงจากการเดินออกจากรากเหง้าเดิมของผู้คน เข้าสู่วัฒนธรรมใหม่โดยกระแสของสังคม หลายคนจำเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่หลายคนสามารถพลิกเข้าเส้นชัยในระบบทุนได้ "แผ่นดินอื่น" จึงเป็นข้อสรุปอันชัดเจนถึงภาวะของคนใบเลี้ยงเดี่ยวผู้ดิ้นรนในสังคมได้มากขึ้น

การศึกษางานเขียนของกนกพงศ์ หากจะดูถึงประเด็นทางสังคมกันแล้วจึงไม่อาจอ่านเพียงหนึ่งเล่มใดได้ แต่ในส่วนลึกภายในจิตวิญญาณที่สอดใส่เข้าไปในงานเขียนแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าที่กนกพงศ์ฉายภาพต่างๆ ออกมาโดยผูกติดอยู่กับสังคมอย่างนี้ เพราะกนกพงศ์คงอยากเห็นสังคมที่เขาสังกัดอยู่ยังคงความดีงาม ยังเป็นสังคมที่มีศีลธรรม มีจริยธรรม ซึ่งความหมายโดยนัยก็คือการบูรณะสังคมให้คืนกลับสู่ความผาสุกเยี่ยงวิถีแห่งปู่ย่าตายายนั่นเอง มิใช่เพื่อตัวเราในวันนี้ แต่เพื่อลูกหลานของเราในอนาคตด้วย

เจน สงสมพันธุ์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว