140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557)

ผู้เขียน: ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร

สำนักพิมพ์: ศรีปัญญา/SRIPANYA

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

4 (1) เขียนรีวิว

562.50 บาท

625.00 บาท ประหยัด 62.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 22 คะแนน

กระทั่งถึงยุคโซเชียลมีเดีย พฤติกรรมและสื่อในการอ่านก็เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง แต่การ์ตูนก็ยังคงอยู่และเป็นที่ต้องการของสังคม < แสดงน้อยลง กระทั่งถึงยุคโซเชียลมีเดีย พฤติกรรมและสื่อในการอ่านก็เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง แต่การ์ตูนก็ยังคงอยู่และเป็นที่ต้องการของสังคม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

562.50 บาท

625.00 บาท
625.00 บาท
ประหยัด 62.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 22 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
776 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
15.6 x 21.6 x 4.3 CM
น้ำหนัก
0.928 KG
บาร์โค้ด
9786164370494

รายละเอียด : 140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557)

140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557)

คำว่า "การ์ตูน" ที่พวกเราคนไทยต่างเรียกขานพูดคุยกันด้วยความคุ้นเคยอยู่จนถึงทุกวันนี้ มิใช่คำที่มีอยู่ในขนบการเขียนหรือพูดของชาวสยาม ที่เป็นภาษาท้องถิ่นประจำชาติดั้งเดิมมาตั้งแต่โพ้นอดีต หากทว่าเป็นคำที่เริ่มต้นเกิดขึ้นจากการเลียนเสียงการสะกดคำของชาวตะวันตก ซึ่งก็คือการพูดทับศัพท์จากคำว่า "CARTOON" ของพวกฝรั่งยุโรป-อเมริกัน ที่เป็นผู้นำเอาผลผลิตอย่างพวก "ภาพวาดการ์ตูน" และคำบัญญัติเรียกขานดังกล่าวเข้ามาให้ชาวสยามได้ทำความรู้จัก เมื่อยุคที่ยังเป็น "ราชอาณาจักรสยาม" นั่นเองถือเป็นการหยิบยืมเอาภาษาของชนชาติอื่น มาใช้สอยจนหลอมกลืนกลายเป็นภาษาพูดที่ชาวสยามคุ้นเคยแบบทื่อๆ ตรงๆ ด้วยการสร้างรูปคำในภาษาเขียนของไทยเป็น "การ์ตูน" ที่แรกเริ่มเดิมที ชาวสยามยังอ่านออกเสียงแบบชาวยุโรปตามขนบของผู้คนเมื่อครั้งอดีตว่า "คาทูน" หรือ "คาร์ทูน" จนกลายมาเป็นคำเขียนว่า "การ์ตูน" เยี่ยงปัจจุบันในที่สุด


คำนำ : 140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557)

นอกจากท่อง ก ไก่, ข ไข่..และตำราเรียนต่างๆ หนังสือการ์ตูนคงเป็นหนังสือชนิดแรกที่คนทั่วไปเริ่มอ่าน เพราะมีภาพมากกว่าคำ เข้าใจได้ไม่ยาก มีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน มักมีอารมณ์ขัน เด็กๆ จึงชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ไม่ต้องถูกบังคับให้ต้องจดจำอะไรเพราะไม่ได้เอาไปสอบ หรือส่งการบ้าน ภาพการ์ตูนก็อาจจะถือว่าเป็นการออกแบบตัดทอนแรกๆ ที่มนุษย์รู้จัก บุคลิกตัวการ์ตูนต่างๆ ที่ถูกสร้างเพื่อให้เป็นที่จดจำได้ง่ายมีอิทธิพลต่อเด็กๆ จำนวนไม่น้อยให้เติบโตมาเป็นจิตรกร, มัณฑนากร,สถาปนิก หรือกระทั่งนักโฆษณา

ยิ่งกว่านั้น หนังสือการ์ตูนยังเป็นที่บ่มเพาะจินตนาการชั้นต้นให้เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะในความเป็นการ์ตูนอะไรที่เป็นไปไม่ได้ก็สามารถกลายเป็นิส่งที่เป็นไปได้ และหนังสือการ์ตูนส่วนใหญ่มักนำเสนอในผลลัพธ์บั้นปลายที่ว่า "ธรรมะย่อมชนะอธรรม" ซึ่งมีส่วนช่วยหว่านเมล็ดพันธุ์ในด้านดีงามให้สังคม (อาจจะยกเว้นบ้างในการ์ตูนยุคใหม่ หรือนิยายภาพสำหรับผู้ใหญ่) หากจะบอกว่า การ์ตูนเป็นจุดเริ่มต้นของควมรักการอ่านหนังสือ ก็คงไม่ผิดนัก

การกำเนิดของการ์ตูนในเมืองไทยต้องย้อนหลังไปเกือบ 150 ปี ทุกแหล่งข้อมูลลงความเห็นเหมือนๆ กันว่า ภาพเขียนด้วยอารมณ์ขันบางส่วนของ ขรัวอินโข่ง ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี นับเป็นการ์ตูนชิ้นแรกๆ ของเมืองไทย จากนั้นการ์ตูนก็พัฒนาเรื่อยมา แยกแยะไปหลายรูปแบบ เช่น การ์ตูนช่องเดียว, หลายช่องจบ,นิยายภาพและการ์ตูนล้อการเมือง การ์ตูนมีทั้่งช่วงเวลาที่เฟื่องฟูและโรยรา จนกระทั่งถึงยุคโซเชียลมีเดีย แม้พฤติกรรมและสื่อในการอ่านเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง แต่การ์ตูนก็ยังคงอยู่และเป็นที่ต้องการของสังคม

คำนิยม โดย ทิวา สาระจูฑะ


สารบัญ : 140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557)

    • 1 "คำ" และ "ความหมาย" ของ "การ์ตูน"
    • 2 จุดเริ่มต้นอันหลากหลายของ "การ์ตูน" ตะวันตก
    • 3 ช่วงตั้งต้นแห่ง "การ์ตูน" สยาม ในรัชกาลที่ 5
    • 4 เมื่อเมล็ดพันธุ์ "การ์ตูน" งอกงาม ในสมัยรัชกาลที่ 6
    • 5 วิวัฒนาการ "การ์ตูน" สยาม ใน 3 รัชกาล
    • 6 "การ์ตูน" ในรัชกาลที่ 9 ยุคสมัยความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย
    • 7 "การ์ตูน" เมืองไทย ในพุทธทศวรรษที่ 2500 (พ.ศ.2500-2509/ค.ศ.1957-1966)
    • 8 พุทธทศวรรษที่ 2510 สู่ศักราช "การ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทย" (พ.ศ.2510-2519/ค.ศ.1967-1976)
    • 9 ยุคเฟื่องฟูของ "การ์ตูนเล่มละบาท" กับพุทธทศวรรษที่ 2520 (พ.ศ.2520-2529/ค.ศ.1977-1986)

รีวิว


4.0
4 (1)
  • 5
    0%
  • 4
    100 %
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว