รายละเอียด : 2475 เส้นทางคนแพ้
2475 เส้นทางคนแพ้
2475 : เส้นทางคนแพ้ เห็นตัวเลข นักอ่านทุกท่านน่าจะเดาออกว่า ตัวเลขนั้นคือ เป็นปีที่ประเทศสยามก้าวเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ ถ้าระบุวันเวลาให้แน่ชัดไปเลยก็คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั่นเอง แล้วต่อด้วยประโยคที่ว่า "เส้นทางคนแพ้" ก็ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรทั้งสายทหารและพลเรือนสมประสงค์ตามแผนที่วางเอาไว้ จะมีคนแพ้ได้อย่างไร? หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่งานวิชาการ แต่เป็นการนำเสนอชีวิตของนายทหารแกนนำหลักในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่มีสมญานามว่า "สี่ทหารเสือ" ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พระยาประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ท่านสุดท้ายนี้ในฐานะกบฏเมื่อคราวกบฏบวรเดช เรื่องราวมิตรภาพของ "สี่ทหารเสือ" กลุ่มนายทหารผู้เสี่ยงชีวิตเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งก่อนหน้าและเริ่มแรก มิตรภาพก็มั่นคงเป็นเช่นนั้น แต่เพียงชั่วเวลาแค่ข้ามปี ทุกอย่างกลับเปลี่ยนผัน พลันตามมาด้วยชะตากรรมอันแสนเศร้า ไม่ว่าจะมองในมุมของความเป็นมนุษย์ และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อมองในมุมแห่ง "มิตรภาพ" หาก "หอกดาบ" มิอาจสามารถทำลายมิตรภาพในหมู่ทหารหาญได้แต่ "อำนาจ" ทำได้
สารบัญ : 2475 เส้นทางคนแพ้
- น้ำร่วมสหาย
- สี่ทหารเสือ
- ไผ่แยกกอ
- อำนาจ
- เส้นทางคนแพ้
- พระยาศรีสิทธิสงคราม
- พระยาทรงสุรเดช
- พระยาฤทธิอัคเนย์
- พระยาประศาสน์พิทยายุทธ
เนื้อหาปกหลัง : 2475 เส้นทางคนแพ้
เรื่องราวมิตรภาพของ "สี่ทหารเสือ" กลุ่มนายทหารผู้เสี่ยงชีวิตเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งก่อนหน้าและเริ่มแรก มิตรภาพก็มั่นคงเป็นเช่นนั้น แต่เพียงชั่วเวลาแค่ข้ามปี ทุกอย่างกลับเปลี่ยนผันพลันตามมาด้วยชะตากรรมอันแสนเศร้า ไม่ว่าจะมองในมุมของความเป็นมนุษย์ และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อมองในมุมแห่ง "มิตรภาพ" หาก "หอกดาบ" มิอาจสามารถทำลายมิตรภาพในหมู่ทหารได้แต่ "อำนาจ" ทำได้
รีวิวโดยผู้เขียน : 2475 เส้นทางคนแพ้
"ความรักสามัคคีในหมู่คณะ" ของเหล่าทหารทั้งในยามสงบและในยามออกรบ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก นี่คือสิ่งที่ทุกกองทัพในโลกล้วนยึดถือเป็นกฎเหล็กที่ต้องปลูกฝังและยังเกิดขึ้นเองในหมู่พวกเขาจนนำไปสู่ตำนานมากมายที่เล่าขานถึงความรักที่พวกเขามีต่อกัน กระทั่งมีคำกล่าวติดปากที่นำมาพูดต่อๆ กันว่า "No one left behind ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" หรืออย่าง "เอาศพคืนไม่ได้ก็เพิ่มศพเข้าไป" ของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
มิตรภาพของ "สี่ทหารเสือ" ผู้เสี่ยงชีวิตเข้าเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเช้ามืด 24 มิถุนายน 2475 ทั้งก่อนหน้าและเริ่มแรกก็เป็นเช่นนั้น แต่ชั่วเวลาแค่ข้ามปี ทุกอย่างพลันเปลี่ยนไป แล้วติดตามมาด้วยชะตากรรมอันน่าเศร้า ไม่ว่าจะมองในมุมของความเป็นมนุษย์ และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อมองมุมแห่ง "มิตรภาพ" "หอกดาบ" อาจไม่สามารถทำลายมิตรภาพในหมู่ทหารได้ แต่ "อำนาจ" ทำได้ นี่คือที่มาของ "2457 : เส้นทางคนแพ้"
บัญชร ชวาลศิลป์
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : 2475 เส้นทางคนแพ้
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่งานวิชาการ เป็นการนำเสนอชีวิตของนายทหารแกนนำหลักในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่มีสมญานามว่า "สี่ทหารเสือ" ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พรยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พระยาประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ท่านสุดท้ายนี้ในฐานะกบฏเมื่อคราวกบฏวรเดช
หลังจากวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ไปแล้ว นอกจากชีวิตประเทศเปลี่ยนไปแล้ว ชีวิตของนายทหารดังกล่าวก็เปลี่ยนตามไปด้วย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ "อำนาจ" หรือ "อุดมการณ์" ทำให้นายทหารทั้ง 5 ท่านนี้กลายเป็น "น้ำแยกสาย" ที่ไม่มีวันไหลบรรจบกัน แต่ละท่านเคยมีชีวิตที่รุ่งโรจน์ก็มาเจอเส้นทางชะตาชีวิตที่ตกระกำลำบาก บางท่านก็จบด้วยการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นี่กระมัง? จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือว่า 2475 : เส้นทางคนแพ้
สำนักพิมพ์แสงดาว