พระราชพิธีแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่โบราณกาลถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

ผู้เขียน: H.G. Quaritch Wales

สำนักพิมพ์: ริเวอร์ บุ๊คส์

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

1,140.00 บาท

1,200.00 บาท ประหยัด 60.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 45 คะแนน

เนื้อหาในเล่มนี้จะเน้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเป็นพระราชพิธียิ่งใหญ่และสําคัญต่อพระมหากษัตริย์ไทย < แสดงน้อยลง เนื้อหาในเล่มนี้จะเน้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเป็นพระราชพิธียิ่งใหญ่และสําคัญต่อพระมหากษัตริย์ไทย

1,140.00 บาท

1,200.00 บาท
1,200.00 บาท
ประหยัด 60.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 45 คะแนน

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
368 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
17.6 x 24.7 x 3 CM
น้ำหนัก
1.176 KG
บาร์โค้ด
9786164510043

รายละเอียด : พระราชพิธีแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่โบราณกาลถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

พระราชพิธีแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่โบราณกาลถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

หนังสือ พระราชพิธีแห่งกรุงสยามตั้งแต่โบราณกาล ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ แปลจาก Siamese State Ceremonies ที่ประพันธ์โดย H. G. Quaritch Wales นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาศึกษาและรวบรวมเรื่องพิธีต่างๆ ในสยามระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงคติความเชื่อโบราณ แนวคิดทางประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของพระราชพิธีสยามที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนา และเชิงเปรียบเทียบที่มีต่อพระราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยผู้แต่งได้นําข้อมูลมาวิเคราะห์ ร่วมกับทฤษฎีของนักมานุษยวิทยาคนสําคัญท่านอื่นเพื่อประกอบการเรียบเรียงด้วย

เนื้อหาในเล่มนี้จะเน้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเป็นพระราชพิธียิ่งใหญ่และสําคัญต่อพระมหากษัตริย์ไทยเป็นพิเศษ รวมทั้งพระราชพิธีสําคัญอื่นๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งผู้แต่งก็ได้อธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนและให้รายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงพระราชพิธีที่สาบสูญไปจากราชสํานักและสังคมไทยด้วย เช่น พระราชพิธีธัญเทาะห์ พระราชพิธีเคณฑะ พระราชพิธีเฉวียนพระโคกินเลี้ยง บางพระราชพิธีก็เป็นพระราชพิธีที่เคยมีมาสืบต่อกันอย่างยาวนาน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปก็ถูกยกเลิก เช่น พระราชพิธีพรุณศาสตร์ พระราชพิธีจองเปรียงและพระราชพิธีสารท เป็นต้น

เนื่องจากผู้แต่งมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงชั้นเยี่ยมจากบุคคลที่มีความรู้หรือมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพระราชพิธีโดยตรง รวมทั้งได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ในงานสําคัญต่างๆ ย่อมทําให้ข้อมูลในหนังสือนี้ถูกต้องน่าเชื่อถือและใช้อ้างอิงได้สําหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ มีภาพประกอบในเล่มเกือบ ๔๐๐ ภาพ รวมทั้งผังขบวน เชิงอรรถและดัชนีค้นคําที่ท้ายเล่มด้วย


คำนำ : พระราชพิธีแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่โบราณกาลถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

สําหรับนักศึกษาและนักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่อง วัฒนธรรมอินเดียและชาติที่รับวัฒนธรรมอินเดียนั้น พิธีทางศาสนาและพระราชพิธีที่คงความสําคัญในสังคมชาวสยาม ถือเป็นภาคสนามที่สําคัญสําหรับการค้นคว้าอยู่เสมอ มีนักวิชาการไม่กี่คน ที่เข้าถึงได้ แต่ข้าพเจ้าหวังว่า การบุกเบิกเรื่องนี้จะเป็นรากฐานของการศึกษาในอนาคต และหวังว่านักศึกษาคนอื่น โดยเฉพาะคนสยามเองจะเผยแพร่ความรู้ทั้งด้านวรรณกรรมและขนบธรรมเนียมให้รู้กันมากขึ้น ซึ่งอาจเติมเต็มความรู้เรื่องพระราชพิธีที่เรายังขาดอยู่ก็เป็นได้

มีสองประเด็นที่ขอชี้แจงเพื่อไม่ให้เข้าใจผิดกัน ประการแรก พระราชพิธีส่วนใหญ่มักเป็นแบบฮินดู มีพิธีพราหมณ์อย่างเคร่งครัด แสดงให้เห็นว่า คนสยามนับถือทั้งศาสนาพุทธและฮินดูคู่กันมาหลายศตวรรษแล้ว ประการที่สองคือ ปัญหาการถอดความ ในบทแรกข้าพเจ้าอ้างอิงระบบภาษาของยอร์ช เซเดส์ เพื่อถอดคําสันสกฤตและรับจ้างอ่านศิลาจารึกภาษาไทย ซึ่งนํามาใช้กับงานในปัจจุบันได้อย่างน่าทึ่ง อีกทั้งมีข้อคิดเห็นเรื่องนี้ด้วย จึงนําเสนอให้ทราบพอสังเขป ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอบอกก่อนว่า “คําราชาศัพท์ในพระราชพิธี” นั้น มีศัพท์ภาษาอินเดียอยู่มาก นักศึกษาที่สนใจตามรอยวัฒนธรรมอินเดียในสยามจะเข้าใจระบบสัทศาสตร์หรือการออกเสียงได้อย่างง่ายดาย แต่ในเวลาเดียวกัน การศึกษาแบบนี้ก็ยากพอสมควร เพราะคนสมัยก่อนอาจบันทึกตกหล่น รักษารากศัพท์บาลีสันสกฤตเอาไว้ไม่ครบถ้วน เพราะขาดความรู้ความเข้าใจใน ภาษาอินเดียโบราณ ระบบใหม่นั้นตามหารากศัพท์ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้อักษรไทยเขียนได้ตามต้องการ แม้คําไทยแท้ก็เปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าระบบสัทศาสตร์และการศึกษาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์จําเป็นต้องใช้ในการศึกษาศัพท์ภาษาไทยอย่างมาก แต่บางครั้งทั้งสองระบบก็วิเคราะห์ไม่ได้ว่า ศัพท์คํานี้เป็นภาษาไทยหรืออินเดียกันแน่ ส่วนวิธีการของข้าพเจ้านั้นมีลักษณะพิเศษ ที่บางครั้งไม่อิงกับระบบสัทศาสตร์และการศึกษาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์เลย

เอช. จี. คิว. ดับบลิว กรุงลอนดอน


สารบัญ : พระราชพิธีแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่โบราณกาลถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

    • บทนำ
    • บทที่ ๑ พระมหากษัตริย์
    • บทที่ ๒ พราหมณ์ในราชสำนัก
    • บทที่ ๓ พระราชพิธีเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
    • บทที่ ๔ พระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
    • บทที่ ๕ พระราชพิธีขึ้นระวางช้างสำคัญ
    • บทที่ ๖ บทส่งท้าย

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว