นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม

ผู้เขียน: สุรเดช โชติอุดมพันธ์

สำนักพิมพ์: สยามปริทัศน์/SIAMPARITUT

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

495.00 บาท

550.00 บาท ประหยัด 55.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 19 คะแนน

หนังสือเล่มนี้ได้นําเสนอเป็นวิธีวิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างวรรณกรรมกับการเข้าใจมนุษย์และสังคมในบริบทร่วมสมัย < แสดงน้อยลง หนังสือเล่มนี้ได้นําเสนอเป็นวิธีวิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างวรรณกรรมกับการเข้าใจมนุษย์และสังคมในบริบทร่วมสมัย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

495.00 บาท

550.00 บาท
550.00 บาท
ประหยัด 55.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 19 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
640 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.5 x 24 x 3.7 CM
น้ำหนัก
0.994 KG
บาร์โค้ด
9786164860025

รายละเอียด : นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม

นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม

นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม เป็นผลงานวิจัยในโครงการ “วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม” ภายใต้ชุดโครงการ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ซึ่งวิเคราะห์การก่อตัวของกลุ่มนักวิจารณ์ที่สร้างสรรค์มุมมองและทฤษฎีใหม่ๆ ในการพิจารณาวรรณกรรมในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา วิธีวิทยาใหม่ๆ ในการศึกษาวรรณกรรมที่หนังสือเล่มนี้ได้นําเสนอเป็นวิธีวิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างวรรณกรรมกับการเข้าใจมนุษย์และสังคมในบริบทร่วมสมัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิทัศน์ร่วมสมัยแห่งการศึกษาวรรณกรรม อันจะมีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาวิจัยไม่เพียงเฉพาะทางวรรณกรรมศึกษา หากแต่เป็นงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์ร่วมสมัยในวงกว้าง


คำนำ : นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม

นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม เป็นผลมาจากความต้องการสํารวจภูมิทัศน์ทฤษฎีและวิธีวิทยาที่ใช้ศึกษาวรรณกรรมและภาพยนตร์ที่ปรากฏในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จวบจนถึงปัจจุบัน นับเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ปัญหาความขัดแย้ง พัฒนาการการรับรู้ของมนุษย์ การประกอบสร้างตัวตนและความเป็นอื่น ในบริบทสังคมวัฒนธรรมที่เปราะบางและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวเกิด “หัวเลี้ยว" ต่าง ๆ ที่ทําให้เห็นความซับซ้อนและความแตกต่างหลากหลายของการถกเถียงทางทฤษฎีในการวิเคราะห์และวิจารณ์ปรากฏการณ์ของสังคมร่วมสมัยในแง่หนึ่ง นักวิชาการด้านวรรณกรรมศึกษายังคงตระหนักถึงพันธกิจของวรรณกรรมในการทําความเข้าใจชีวิตมนุษย์และสังคมโดยรวม แต่สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ทวีความซับซ้อนได้ส่งผลให้ภูมิทัศน์ทางวรรณคดีวิจารณ์ซับซ้อนตามไปด้วย

บทความต่าง ๆ ที่นําเสนอในหนังสือ นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม เป็นการสํารวจภูมิทัศน์ดังกล่าว บทความทั้ง 9 บท รวมถึงบทสังเคราะห์นับเป็นผลงานวิจัยจากโครงการวิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม ภายใต้ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการด้านวรรณกรรมศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์วิธีวิทยาร่วมสมัยต่าง ๆ ที่นักวิชาการโลกตะวันตกใช้ในการศึกษาวรรณกรรม โดยปูรากฐานให้เป็นที่มา พัฒนาการ และความหลากหลายของประเด็นถกเถียงในวิธีวิทยาแต่ละแบบ ก่อนที่จะทดลองประยุกต์ใช้วิเคราะห์ตัวบทคัดสรร เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของการตีความจากวิธีวิทยาหนึ่ง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

สุรเดช โชติอุดมพันธ์


สารบัญ : นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม

    • สู่การตั้งคำถามเรื่องเวลาและสถานที่
    • การรับรู้ของมนุษย์: การจ้องมอง ผัสสะ อารมณ์
    • ว่าด้วยโลกและมนุษย์
    • ว่าด้วยการแปลและสื่อดิจิทัล

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว