รายละเอียด : เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2)
เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2)
“เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 (เล่ม 2)” นี้ เราจะได้พบคําแนะนําที่เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงลูกในบริบทที่ขยับขยายขึ้นจากเล่มแรก จากหลักคิดพื้นฐานที่พ่อแม่ทํากันเองในบ้าน สู่การเลี้ยงลูกที่มีปัจจัยแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ท่ามกลางความเป็นจริงของสังคมที่ยิ่งทําให้ทุกอย่างดูเหมือนจะยากมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมไทยซึ่งขาดไร้องค์ประกอบเกื้อหนุนช่วยเหลือคนเป็นพ่อแม่ในทุกระดับ
สภาพสังคมเช่นนี้อาจทําให้เราจมอยู่กับความหวาดกลัว กังวล และผลักดันให้การเลี้ยงลูกกลายเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย น่าหนักใจ ชวนเคร่งเครียด แต่ดิฉันเชื่อมั่นว่า หากเราทําความเข้าใจคําแนะนําของคุณหมอให้แจ่มชัด และปฏิบัติด้วยความตั้งใจอย่างสม่ำเสมอ ความหนักอึ้งเหล่านั้นจะสามารถคลี่คลายและทําให้เรามองเห็นหัวใจที่แท้จริงของการเป็นพ่อแม่ได้ในที่สุด
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
สารบัญ : เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2)
- บทที่ 1-13 โครงสร้างครอบครัว
- บทที่ 14-15 การสื่อสารในครอบครัว
- บทที่ 16-20 กราฟครอบครัว
- บทที่ 21-25 ความจำ
- บทที่ 26-30 ไอคิว
- บทที่ 31-35 อ่าน เขียน เรียนเลข
- บทที่ 36-38 เรียนเมื่อไรดี
- บทที่ 39 เรียนเก่งแบบไหนดี
- บทที่ 40 เรียนอย่างไรดี
เนื้อหาปกหลัง : เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2)
เราจําเป็นต้องมาคุยเรื่องพัฒนาการเด็กและวิธีเลี้ยงลูกกันใหม่ เพราะบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงสําคัญคือการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคข้อมูลข่าวสารด้วยสปีดที่รวดเร็ว จนกระทั่งพ่อแม่และปู่ย่าตายายปรับตัวไม่ทัน มากกว่านี้คือ สภาพแวดล้อมของบ้านเราเองซึ่งรัฐมิได้วางโครงสร้างพื้นฐานช่วยพ่อแม่เลี้ยงลูก เราแทบไม่มีตัวช่วยในสังคมอย่างประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีสวัสดิการสําหรับคุณแม่มากพอ ไม่มีสวนเด็กเล่นที่ดีมากพอ ไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่ดีมากพอ และเรามีระบบการศึกษาที่ทําลายพัฒนาการซ้ำ ไม่มีเนอสเซอรี่ที่ดีมากพอ ไม่มีศูนย์เด็กเล็กมากพอ ไม่มีโรงเรียนที่ดีมากพอ
รีวิวโดยผู้เขียน : เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-100 ฉบับสมบูรณ์ (เล่ม 2)
หนังสือ “เลี้ยงลูกให้ได้ดี เล่ม 1 ตอนที่ 1-100” เล่าเรื่องวิธีเลี้ยงลูกที่เหมาะสมอย่างง่าย ใครๆ ก็ทําได้ โดยเน้นให้ความรู้แก่ พ่อแม่เป็นหลัก คนอื่นไม่เกี่ยว หนังสือ “เลี้ยงลูกให้ได้ดี เล่ม 2 ตอน ที่ 1-100” นี้จะพูดถึงปัจจัยมากมายที่จะกระทบการเลี้ยงลูก โดยเริ่มตั้งแต่เรื่องโครงสร้างครอบครัวไปจนถึงเงื่อนไขพิเศษ ปัญหาจําเพาะหลากหลายแบบ และลงลึกมากขึ้นเรื่อง Executive Function (EF) พ่อแม่มิได้อยู่โดดเดี่ยวอีกแล้ว แต่มีโครงสร้างบางอย่างที่ควรเรียนรู้และใช้ประโยชน์
ในบ้านเราการเลี้ยงลูกเป็นทุกข์ เพราะรัฐและโครงสร้างสังคมไม่ช่วยเอาเลย มิหนําซ้ำยังกระหนําซ้ำเติมด้วยการศึกษา การศึกษาเป็นทุกข์ เด็กไทยเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลคืออายุ 3 ขวบ และเรียนหนักตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-3 คืออายุ 4-6 ขวบ ในขณะที่หลายประเทศบนโลกรู้ว่าเด็กเล็กควรเล่นมากกว่าเรียน เพราะการเล่นสร้างสมอง ในขณะที่การเรียนดูเก่งดีตอนนี้แต่ทําลายสมองในวันหน้า สมัยก่อนทําลายได้ทําลายไป จะอย่างไรทุกคนก็จะได้ใช้แรงงานบนสายพานการผลิต แต่สมัยใหม่เราเข้าสู่ยุคไอทีที่เด็กๆ จะมีตัวเลือกของชีวิตเป็นแสน สมองที่ไม่ดีจะทําให้พวกเขาเลือกไม่เป็นไปไม่รอด
นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์