เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

ผู้เขียน: ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์

สำนักพิมพ์: มูลนิธิสถาบันสร้างสร

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

198.00 บาท

220.00 บาท ประหยัด 22.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

ทัศนะสำหรับเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ < แสดงน้อยลง ทัศนะสำหรับเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com เปิดคลังลด หนังสือลดเลย 10%

198.00 บาท

220.00 บาท
220.00 บาท
ประหยัด 22.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
192 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.8 x 0.9 CM
น้ำหนัก
0.221 KG
บาร์โค้ด
9786164407947

รายละเอียด : เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

ชีวิตมนุษย์มีมิติหลายด้าน ด้านหนึ่งเป็นด้านของการต่อสู้กับธรรมชาติและสังคม อีกด้านหนึ่งเป็นด้านของการยอมรับความเป็นจริงของธรรมชาติและสังคม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามนุษย์จะมีชีวิตทั้งสองด้านนี้อย่างไร มนุษย์ก็มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เผชิญอยู่ได้ ความรู้ที่เรียนรู้และสั่งสมกันมารุ่นต่อรุ่นเป็นประโยชน์ไม่น้อย แต่ในทางพระพุทธศาสนา ปัญญาที่ช่วยให้บุคคลมีความรับรู้ที่รอบด้านและลึกลงไปถึงจิตจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์และมีประสิทธิผลแบบยั่งยืน ถ้าบุคคลมีปัญญาและดําเนินชีวิตเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ความ สามารถของบุคคลนั้นก็จะเป็นทั้งความสามารถที่ให้คุณประโยชน์ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว สังคมที่ตนดําเนินชีวิตอยู่และต่อโลก ความสามารถนั้นจึงมีความกลมกลืนในตัวเอง มีความมั่นคงถาวรและไม่ก่อพิษใดๆ

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่แสดงถึงความสามารถของชีวิตที่ได้ผ่านอุปสรรคด้วยตนเอง โดยอาศัยแนวทางสายกลางที่มีความลึกซึ้งอย่างเพียงพอ หนังสือเล่มนี้จะครอบคลุมประเด็นจํานวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตของบุคคลบนโลกที่มีความยุ่งยากลําบากและมีการต่อสู้แข่งขันท่ามกลางความวิตกกังวลและการแสวงหาผลประโยชน์ทางวัตถุ

ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์


สารบัญ : เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

    • 1 ทางสายกลางและความทะยานอยาก
    • 2 เศรษฐศาสตร์ของความพอประมาณ
    • 3 ความยากลำบากและทางออกของบุคคล
    • 4 สงครามและความขัดแย้งที่รุนแรง
    • 5 ทัศนะใหม่เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
    • 6 การแสวงหาความยืนยาวของชีวิต
    • 7 การผสมมรรคในพระพุทธศาสนา
    • 8 พระภิกษุและการสืบทอดพระพุทธศาสนา

เนื้อหาปกหลัง : เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

“เศรษฐศาสตร์ เป็นผลผลิตของลัทธิเสรีนิยมและมองการแก้ไขปัญหาจากปัจเจกบุคคลหรือจากตนเอง มนุษย์มีต้นแบบที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นสัตว์สังคมที่สัมพันธภาพกับผู้อื่นมีบทบาทสําคัญ เศรษฐศาสตร์จึงเป็นความรู้ที่มีจุดแข็งในแง่ของการบริหารจัดการทรัพยากร ให้ก่อประโยชน์โภคผลแก่ตนเองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนถูกมองว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าถูกตีความว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งก็เป็นโรคที่รักษาไม่ได้และไม่มีประโยชน์ที่จะหาหนทางรักษา ในขณะที่แนวทางของศีล สมาธิ ปัญญาในพระพุทธศาสนา เป็นทั้งการแก้ไขปัญหาความสุดโต่งและการพัฒนาแนวทางสายกลาง ให้เกิดขึ้นในชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคม โรคและพิษร้ายของความเป็นสัตว์เศรษฐกิจจึงเยียวยารักษาได้” – ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง (The Middle Path Of Economics)

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือการนําเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่ต้องดําเนินชีวิตในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ที่อยู่ท่ามกลางกระแสการพัฒนาแบบวัตถุนิยมและบริโภคนิยม โดยที่บุคคลและสังคมยังมีความทะยานอยาก ความ ยากลําบาก ความขัดแย้ง ความต้องการชีวิตที่ยืนยาว ความไม่รู้จักพอ ฯลฯ ซึ่งนับวันสังคมยิ่งจะสลับซับซ้อนมากขึ้น เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลางนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการดําเนินตามวิถีการพัฒนาแบบเศรษฐศาสตร์ตะวันตก ซึ่งยังมีข้อจํากัดที่บุคคลและสังคมจะผ่านพ้นความยากลําบาก มีความสามารถ มีภูมิคุ้มกันในการดํารงอยู่ได้อย่างมีความสุขและไม่เบียดเบียนกัน พร้อมอธิบายควบคู่กับการนําเสนอว่า หากดําเนินตามแนวคิดของหลักธรรมทางศาสนาพุทธในประเด็นเดียวกันแล้ว จะมีความเหมือนและต่างกันอย่างไรในเชิงหลักคิดและหลักปฏิบัติ กล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ความลึกซึ้งและความลุ่มลึกทั้งมุมมองและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและหลักคิดของศาสนาพุทธที่นักนโยบาย นักพัฒนา นักการศาสนา นักวิชาการ นักศึกษาและผู้สนใจไม่ควรพลาด

ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%