ร็อกศึกษา: สุนทรียะ - การเมือง - พื้นที่

ผู้เขียน: วิริยะ สว่างโชติ

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

238.50 บาท

265.00 บาท ประหยัด 26.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทสัมภาษณ์และบทความวิเคราะห์ดนตรีแนวร็อกในแนวทางแบบหลัง ที่ครอบคลุมร็อกรูปแบบต่างๆ ในโลกตะวันตกและในเอเชีย < แสดงน้อยลง หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทสัมภาษณ์และบทความวิเคราะห์ดนตรีแนวร็อกในแนวทางแบบหลัง ที่ครอบคลุมร็อกรูปแบบต่างๆ ในโลกตะวันตกและในเอเชีย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

238.50 บาท

265.00 บาท
265.00 บาท
ประหยัด 26.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
192 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.5 x 20 x 1 CM
น้ำหนัก
0.2 KG
บาร์โค้ด
9786168179024

รายละเอียด : ร็อกศึกษา: สุนทรียะ - การเมือง - พื้นที่

ร็อกศึกษา: สุนทรียะ - การเมือง - พื้นที่

นับจากดนตรีร็อกถือกําเนิดขึ้นในอเมริกาช่วงต้นทศวรรษ 1950 ร็อกไม่เคยตาย แต่ได้กลายรูปเป็นแนวดนตรีรูปแบบอื่นอีกมากมาย ที่ครองใจคนหนุ่มสาวในทศวรรษต่างๆ แต่ยิ่งกว่านั้น ร็อกยังไม่ได้เป็นแค่แนวดนตรี แต่ยังเป็นกระแสวัฒนธรรมที่มีปริบททางการเมืองและสังคมอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นของการเป็นกระแสต้านวัฒนธรรมกระแสหลัก แม้ว่าในด้านหนึ่ง ดนตรีร็อกกระแสหลักได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางการตลาดในระบบทุนนิยมไปแล้วก็ตาม

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทสัมภาษณ์และบทความวิเคราะห์ดนตรีแนวร็อกในแนวทางแบบหลัง ที่ครอบคลุมร็อกรูปแบบต่างๆ ในโลกตะวันตกและในเอเชีย แม้แต่ในบทสัมภาษณ์ก็ไม่ใช่แค่สัมภาษณ์นักวิชาการที่ศึกษาร็อกหรือนักดนตรีแค่นั้น แต่ยังตบท้ายด้วยบทวิเคราะห์ของผู้เขียนที่ช่วยเสริมความเข้าใจปริบทเบื้องหลัง รวมถึงข้อเสนอต่อยอดความคิดใน ประเด็นนั้นๆ ซึ่งผู้เขียนสามารถนําเสนอประเด็นได้ในเชิงลึกอย่างน่าสนใจยิ่ง

ร็อกศึกษา ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวัฒนธรรมศึกษา ศึกษาอะไร เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณจะเกิดความเข้าใจพื้นฐานระดับหนึ่งเกี่ยวกับร็อกศึกษา เริ่มเข้าใจความคิดบางส่วนของผู้ศึกษาดนตรีร็อกอย่างเป็นวิชาการ มองเห็นอิทธิพลของร็อกต่อสังคม และอิทธิพลของสังคมต่อร็อก ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากคนชั่วรุ่นหนึ่งไปยังอีกชั่วรุ่น หนังสือเล่มนี้จึงเป็นทั้งการบุกเบิกร็อกศึกษาในสังคมไทย และการคิดต่อยอดทางวิชาการในด้านวัฒนธรรมศึกษา อันนับเป็นย่างก้าวที่สําคัญสําหรับการทําความเข้าใจวัฒนธรรมร่วมสมัย

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ (คำนิยม)


สารบัญ : ร็อกศึกษา: สุนทรียะ - การเมือง - พื้นที่

    • บทที่ 0 วาย (วัย) ร้ายที่เรียกว่า ร็อก
    • บทที่ 1 ร็อกไม่เคยตาย...ใครบอกมึงวะ
    • บทที่ 2 ด็อกร็อก: บทสัมภาษณ์ ลอว์เรนซ์ กรอสเบิร์ก
    • บทที่ 3 ซิกกี้กีต้าร์อีซ้ายผู้มีเซ็กส์กับอินทรี...ใครเหรอ
    • บทที่ 4 "อินดี้อินเอเชีย/อิงแลนด์" : เศรษฐกิจ = การเมือง = อัตลักษณ์
    • บทที่ 5 "ร็อกเปลี่ยนโลก/โลกเปลี่ยนร็อก": ศิลปินร็อกกับโลกาภิวัฒน์ของเวิลด์มิวสิค
    • บทที่ 6 อ๋ายหยา! ลวดลายมังกรร็อก: การเมืองทางวัฒนธรรมของดนตรีร็อกในจีนและไต้หวัน
    • บทที่ 7 ศาสดาของข้าคือพังก์!!: บทสัมภาษณ์ The Rebel Riot

เนื้อหาปกหลัง : ร็อกศึกษา: สุนทรียะ - การเมือง - พื้นที่

ร็อกเป็นปรากฏการณ์ในระดับโลกนับตั้งแต่ทศวรรษแรกที่ถือกําเนิดเมื่อเกือบ 70 ปีก่อน ดังนั้นมันยังมีนิทานพื้นบ้านว่าด้วยร็อก (rock folktale) ในแต่ละที่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอีกมากมาย นิทานเหล่านี้มีทั้งที่เกิดในบริบทความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก ในบริบทของการกลายเป็นตะวันตก (Westernization) การทําให้เป็นอเมริกัน (Americanization) การทําให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) รวมถึงนิทานในบริบทข้ามวัฒนธรรม/ข้ามพรมแดนรัฐชาติ (transcultural/transnational) เราจะเห็นว่ามีคนเลียนแบบ เอลวิส เพรสลีย์, บ็อบ ดีแลน, เคิร์ท โคเบน, เลียม กัลลาเกอร์ ไปทั่วโลก เราจะเห็นว่าอุดมการณ์ร็อกต้านสังคม/ร็อกเปลี่ยนโลก มาพร้อมๆ กับมโนทัศน์วัฒนธรรมเสื่อม (decadent culture) ที่ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาต่างนับญาติกับ “พวกร็อก” อย่างไม่สนิทใจ ยังไม่นับรวมรัฐบาลประชาธิปไตยและเผด็จการในต่างๆ ที่ พร้อมเป็นทั้งมิตรและศัตรูกับพวกร็อก

บางส่วนจาก “วาย(วัย)ร้ายที่เรียกว่า ร็อก”

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว