มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

ผู้เขียน: นายต่อ

สำนักพิมพ์: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์/Thaiqualitybook

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

378.00 บาท

420.00 บาท ประหยัด 42.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 15 คะแนน

“มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า” เป็นหนังสือที่นายต่อแปลภาษาพม่าเป็นภาษาไทย มาจากบางตอนของพงศาวดารพม่า “มานนาน มหายาสะวินดอจี” < แสดงน้อยลง “มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า” เป็นหนังสือที่นายต่อแปลภาษาพม่าเป็นภาษาไทย มาจากบางตอนของพงศาวดารพม่า “มานนาน มหายาสะวินดอจี”
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

378.00 บาท

420.00 บาท
420.00 บาท
ประหยัด 42.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 15 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
588 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16 x 22 x 3.6 CM
น้ำหนัก
0.81 KG
บาร์โค้ด
9786165146258

รายละเอียด : มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

เนื้อความในพงศาวดารของพม่าฉบับนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แม้รายละเอียดจะมีความแตกต่างกันบ้าง เพราะเป็นการมองเหตุการณ์คนละด้านและจากพื้นความคิดที่ต่างกัน แต่เรื่องโดยรวมก็สามารถที่จะกล่าวได้ว่าให้โครงภาพโดยรวมเป็นอย่างเดียวกัน หนังสือ มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า ฉบับนี้จึงน่าจะให้ประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในเอเชียอาคเนย์ได้ส่วนหนึ่ง หากมีการพิจารณาศึกษาในรายละเอียดให้มากยิ่งขึ้น

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมศิลปากร)


สารบัญ : มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

    • มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ตอนพระเจ้ากุนฉ่อจ่องผะยูพระราชบิดาพระเจ้าอนรทามางจอ จนถึงพระเจ้าอนรทามางจอทำศึกกับไทย
    • มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ตอนพระเจ้าหงษาวดีทำศึกกับไทย แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ตั้งแต่ จุ, ๙๐๘ จน ๑๐๙๕
    • มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ตอนพระเจ้ามางลองตีกรุงเก่า จนไทยไปตีเมืองทวายในรัชกาลที่ ๑ ตั้งแต่ จุ, ๑๑๒๑ จน ๑๑๕๙
    • นามศัพท์ ตอนที่ ๑
    • นามศัพท์ ตอนที่ ๒
    • ตารางคำอธิบายวิธีอ่านหนังสือพม่าของนายเทียน

เนื้อหาปกหลัง : มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

ยาสะวินพม่าเป็นหลักฐานสําคัญที่ตีแผ่มิติภายในของพม่าทั้งในด้านโลกทัศน์และข้อเท็จจริงเชิงเหตุการณ์ซึ่งเป็นคุณประการสําคัญ เพราะช่วยให้ผู้ศึกษาได้ขยายความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย-พม่ายุคโบราณกว้างไกลไปกว่าข้อเท็จจริงที่เคยรับรู้และเชื่อถือกันมา หนังสือ มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า จึงนับเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและพม่าพึงมีไว้ในครอบครอง

บางตอนของบทความพิเศษ โดย ศ. ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

“มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า” เป็นหนังสือที่นายต่อแปลภาษาพม่าเป็นภาษาไทย มาจากบางตอนของพงศาวดารพม่า “มานนาน มหายาสะวินดอจี” (Hmannan Mahayazawindawgyi) หรือที่นักวิชาการทั่วไปรู้จักกันในนาม “พงศาวดารฉบับหอแก้ว” (The Glass Palace Chronicles) ซึ่งชําระขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ในสมัยของพระเจ้าพยีดอ (King Bagyidaw) ชาวไทยรู้จักพงศาวดารฉบับนี้จากการถอดความภาษาพม่าเป็นภาษาอังกฤษ โดยหลวงไพรสณฑ์ สาลารักษ์ชาวพม่าที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือวารสารสยามสมาคม ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยศึกษาประวัติศาสตร์พม่าที่เกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรสยาม หมอแฟรง เฟอร์เตอร์ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จึงประสานกับเจ้าหน้าที่หอสมุดหลวงของพม่าว่าจ้างคนคัดลอก (ภาษาพม่า) พงศาวดาร ฉบับหอแก้ว แล้วส่งให้สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ซึ่งพระองค์ท่านได้มอบหมายให้นายต่อแปลเป็นภาษาไทย ในปี ๒๔๕๒ แปลเสร็จเก็บไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์มิได้พิมพ์เผยแพร่แต่อย่างใด จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๕ สํานักพิมพ์มติชนได้เห็นความสําคัญและคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มขึ้นครั้งแรก แต่น่าเสียดายที่นับตั้งแต่มีการจัดพิมพ์ครั้งนั้นจนถึงบัดนี้ ยังไม่มีผู้ใดจัดพิมพ์เผยแพร่อีกเลย

สํานักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์เห็นถึงคุณค่าและความสําคัญของงานประวัติศาสตร์ “มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า” และเพื่อเผยแพร่งานประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ให้กว้างขวางต่อไป จึงได้จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ในครั้งนี้ โดยยังคงไว้ตามต้นฉบับที่สํานักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์ขึ้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเนื้อหาใดๆ ปรับปรุงเฉพาะภาพประกอบ และการจัดรูปเล่มนําเสนอ เพื่อดํารงไว้ซึ่งต้นฉบับที่ซื่อตรงและถูกต้อง

ศิริญากรณ์ โชคประเสริฐศรี (บรรณาธิการ)

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว