“ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารอยุธยา

ผู้เขียน: เริงวุฒิ มิตรสุริยะ

สำนักพิมพ์: ดินแดนบุ๊ค/Dindan book

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

5 (1) เขียนรีวิว

243.00 บาท

270.00 บาท ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

อยุธยาในสายตานักบันทึก นักพงศาวดารผู้มาในรูปของพ่อค้า นักแสวงหา และนักล่าอาณานิคม < แสดงน้อยลง อยุธยาในสายตานักบันทึก นักพงศาวดารผู้มาในรูปของพ่อค้า นักแสวงหา และนักล่าอาณานิคม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

243.00 บาท

270.00 บาท
270.00 บาท
ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
276 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.8 x 20.8 x 1.6 CM
น้ำหนัก
0.331 KG
บาร์โค้ด
9786169257561

รายละเอียด : “ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารอยุธยา

“ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารอยุธยา

หนังสือประวัติศาสตร์เรื่อง “ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารสยาม นี้ แต่เดิมผมตั้งชื่อว่า ฝรั่งบันทึกสยาม จัดพิมพ์ผ่านมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมีการนํามาจัดพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 3 ผมจึงขอเปลี่ยนชื่อมาเป็นดังที่เห็น ทั้งนี้เพราะมองว่า ชื่อเรื่องที่ตั้งใหม่เหมาะกับเนื้อหาและเรื่องราวที่หนังสือได้นําเสนอ กระนั้นก็ได้พ่วงชื่อเดิมของหนังสือเอาไว้ด้วย สิ่งหนึ่งที่ผมสนใจมานานนั้นคือ เราได้อ่านได้เรียนรู้มาตลอดว่ามีนักเขียนชาวตะวันตก เข้ามาเห็นภาพของอยุธยานับแต่สมัยโบราณกระทั่งถึงปัจจุบัน และคนเหล่านี้มีไม่น้อยที่มีผลงานเขียนที่กล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา กระทั่งผลงานเหล่านั้นกลายมาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่คนไทยให้การยอมรับ และได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าข้อมูลที่เรามีมาแต่เดิม

กระนั้น น้อยนักที่เราจะได้รู้ว่าแท้จริงคนเหล่านี้ที่ปรากฏชื่อเอาไว้นั้น เขาเป็นใครมาจากไหน นอกเพียงจากรู้ว่าเขาเป็นชาวประเทศนั้นๆ หากแต่ในรายละเอียดแล้วเราแทบไม่เคยรู้เลยว่า ลักษณะ ตัวตน หรือแม้แต่ชีวิตของเขาเป็นอย่างไร ไปมาอย่างไรทําไมจึงเข้ามาเขียนเรื่องของอยุธยากระทั่งบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาได้อย่างที่เห็น ด้วยเหตุนี้ผมจึงเริ่มต้นค้นคว้า และแสวงหาข้อมูลรวมถึงเรื่องราวของคนเหล่านั้น นํามาเรียบเรียงและนําเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จักเขาเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลที่ไม่เคยปรากฏในเอกสารของไทยมาก่อน รวมไปถึงที่มีการบันทึกกันเอาไว้บ้างแล้ว

สิ่งหนึ่งที่ผมพบในการเขียนหนังสือเล่มนี้ นั่นก็คือ คนเหล่านี้ล้วนแต่เดินทางเข้ามายังอยุธยาเพื่อแสวงหาประโยชน์ไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่ง บ้างเข้ามาในฐานะนักผจญภัย บ้างเข้ามาในนามของพ่อค้า บ้างก็มาในนามของนักการทูต กระทั่งทั้งหมดต่างล้วนแต่มีเป้าหมายเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือชาติตัวเองให้มากที่สุด สภานะหนึ่งเขาเหล่านี้ก็คือนักล่าอาณานิคมที่พยายามทําความรู้จักอยุธยาให้มากที่สุดนั่นเอง ผลงานการเขียนของคนเหล่านี้ แม้จะมีจุดประสงค์เพื่อการบางอย่าง หากแต่ในที่สุดเราก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่พวกเขาบันทึกเอาไว้นั้น ต่างเป็นประโยชน์ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับคนไทยเราที่ได้อ่านได้ศึกษามันในที่สุด

เริงวุฒิ มิตรสุริยะ


สารบัญ : “ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารอยุธยา

    • เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto)
    • เมื่อพ่อค้ามาเป็นนักเขียน กับผลงานอันลือลั่นของวันวลิต (Jeremias van Vliet)
    • เชอวาลิเยอร์ เดอ ฟอร์บัง (Chevalier de Forbin)
    • บาทหลวงฟรังซัวส์ ตีโมเลอ็อง เดอ ชัวซีย์ (Francois Timoleon de Choisy)
    • บาทหลวงตาชาร์ดแห่งคณะเยซูอิต (Guy Tachard)
    • ซิมอง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere)
    • เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer)

เนื้อหาปกหลัง : “ปินโต” บันทึก “แกมป์เฟอร์” เขียน เมื่อนักล่าอาณานิคมสร้างพงศาวดารอยุธยา

“หลังจากนั้น 9 วันพระองค์ก็เสด็จมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมืองสําคัญของอาณาจักรทั้งมวลของพระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่สงวนไว้เป็นพระราชวังของพระองค์ ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงไพร่ฟ้าประชาชนของพระองค์ได้ทําการเฉลิมฉลองต้อนรับอย่างหรูหรา ซึ่งพวกเขาสละเงินตราเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมายเป็นการทําขึ้นเพื่อรับการเสด็จกลับมาของพระองค์ ระหว่างเวลา 6 เดือนที่พระองค์ไม่อยู่ พระราชินีผู้เป็นพระชายาของพระองค์ได้ประพฤติผิดประเวณีกับคนส่งอาหารให้พระราชวัง (purveyor) ของพระนาง ชื่อออกขุนชินราช (Uquum cheniraa) และครั้นพระเจ้าแผ่นดินเสด็จกลับมา พระนางทรงรู้สึกพระองค์ว่าได้ทรงมีครรภ์กับออกขุนชินราชได้ 4 เดือนแล้ว พระนางทรงกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะทรงทราบการกระทําของพระนาง ดังนั้นเพื่อรักษาตนให้รอดพ้นจากอันตรายที่พระนางจะทรงได้รับ จึงทรงแก้ปัญหาโดยการวางยาพิษพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพระสวามีของพระนางเสีย” - เฟอร์เนา แมนเดส ปินโต

“สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรัชกาลปัจจุบันนี้ทรงมีพระชนมายุราวห้าสิบพรรษา อาจกล่าวได้โดยปราศจากข้อโต้แย้งว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือกษัตริย์ทุกพระองค์ที่ครองประเทศมา พระองค์ทรงมีพระวรกายค่อนข้างเตี้ยกว่าระดับปานกลาง แต่สง่าผ่าเผยและสมส่วนสัด สีพระพักตร์ยิ้มแย้มแจ่มใส และพระอิริยาบถเต็มไปด้วยความนิ่มนวลอ่อนโยนแสดงพระราชอัธยาศัยดี...พระองค์ทรงมีพระอาการกระฉับกระเฉง คล่องแคล้วเป็นศัตรูของความเกียจคร้าน...” - บาทหลวงตาชาร์ด

รีวิว


5.0
5 (1)
  • 5
    100 %
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว