คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (ฉบับปรับปรุง)

ผู้เขียน: อานันท์ กาญจนพันธุ์

สำนักพิมพ์: สยามปริทัศน์/SIAMPARITUT

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

189.00 บาท

210.00 บาท ประหยัด 21.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

ย่อยความคิดต่างๆ ของฟูโกต์พร้อมกับแนะนำการเชื่อมโยงกับเรื่องราวรอบตัวในสังคมไทยประกอบการอภิปรายอย่างหลากหลาย < แสดงน้อยลง ย่อยความคิดต่างๆ ของฟูโกต์พร้อมกับแนะนำการเชื่อมโยงกับเรื่องราวรอบตัวในสังคมไทยประกอบการอภิปรายอย่างหลากหลาย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

189.00 บาท

210.00 บาท
210.00 บาท
ประหยัด 21.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
216 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
21 x 23 x 14.2 CM
น้ำหนัก
0.261 KG
บาร์โค้ด
9786164860032

รายละเอียด : คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (ฉบับปรับปรุง)

คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (ฉบับปรับปรุง)

ความโดดเด่นของ “คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา" มิได้มีเพียงความนิยมกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักอ่านจนทําให้ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ต้องค้นคว้าและเขียนเพิ่มเติมจนกลายเป็นฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3 (ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่สามที่ผลิตขึ้นในชุด “ตําราสังคมศาสตร์เคล็ดไทย-สสมส.”) เท่านั้น หากเป็นเพราะความรู้/ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้เขียนต่อนักคิดระดับโลกอย่างมิเชล ฟูโกต์

ความคิดและข้อเสนอของฟูโกต์มีความสําคัญหลายประการ ทว่า ประเด็นที่สําคัญยิ่งที่ผู้เขียนได้เสนอในที่นี้คือ “ฟูโกต์ให้ความสําคัญกับการตั้งคําถามกับปัญหาของความรู้ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ความเข้าใจในความรู้ที่ดํารงอยู่” โดยเขา “ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากความคิดหลักของยุครู้แจ้ง โดยเฉพาะความคิดเชิงวิพากษ์จากอิมมานูเอล ค้านท์ ขณะที่ฟูโกต์เองก็วิพากษ์วิจารณ์ความคิดอื่น ๆ ของค้านท์อย่างรุนแรง ลักษณะขัดแย้งในตัวเองเช่นนี้ของฟูโกต์ กลับกลายเป็นพลังผลักดันให้เขาศึกษาอย่างทุ่มเทเพื่อค้นหาที่มาของปัญหาของความรู้” และเขาได้ค้นพบว่าพื้นฐานของความเข้าใจในความรู้นั้น อยู่ที่วิธีวิทยาของความรู้ เขาจึงหันมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาวิธีวิทยาของความรู้ขึ้นมาใหม่ โดยได้รับอิทธิพลจากสํานักคิดอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างนิยม สัญศาสตร์ และสํานักการตีความ รวมทั้งความคิดของนิทเช่ด้วย ในระยะแรกๆ ทีเดียวนั้น ฟูโกต์นําเสนอวิธีวิทยาของความรู้ ที่เรียกว่า “โบราณคดีของความรู้” แต่ในระยะต่อมาก็เปลี่ยนมาเสนอวิธีวิทยาของความรู้อีกแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า “วงศาวิทยาของความรู้”

เพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ของความรู้ ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับปัญหาของอํานาจและระบอบของความจริง จนช่วยให้เขาค้นพบว่าความรู้อาจจะไม่ใช่ความรู้เสมอไป แต่อาจจะเป็นการครอบงําก็ได้ จากความเข้าใจเบื้องต้นตรงนี้เอง ฟูโกต์ จึงเน้นความสําคัญของการวิพากษ์ความรู้อย่างมาก เพื่อช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นออกจากการครอบงํา ฟูโกต์อาจไม่ใช่นักคิดคนแรกๆ ที่อภิปรายถึงเรื่องการครอบงํา แต่เป็นที่ชัดเจนว่าคําอธิบายและข้อเสนอของเขาทําให้เราเข้าใจเรื่องการครอบงําได้อย่างกระจ่างขึ้น มีมุมมองที่เป็นระบบ และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอํานาจและความรู้ และนี่คือจุดเด่นสําคัญประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้


สารบัญ : คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (ฉบับปรับปรุง)

    • บทที่ 1 บทนำ : การวิพากษ์ปัญหาของความรู้
    • บทที่ 2 มองความคิดของฟูโกต์ผ่านสำนักคิดร่วมสมัย
    • บทที่ 3 วิธีวิทยาแบบโบราณคดีของความรู้กับการวิเคราะห์วาทกรรม
    • บทที่ 4 วิธีวิทยาแบบวงศาวิทยากับการศึกษาประวัติศาสตร์
    • บทที่ 5 ปัญหาของอัตบุคคลกับวาทกรรมของอำนาจ
    • บทที่ 6 ปัญหาของอำนาจและความรู้ในฐานะวาทกรรม
    • บทที่ 7 ปัญหาของการปกครองในสังคมสมัยใหม่
    • บทที่ 8 ปัญหาของอัตตาและเพศวิถี

เนื้อหาปกหลัง : คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (ฉบับปรับปรุง)

อำนาจในที่นี้ไม่ได้เป็นสมบัติของใคร หรือหมายความว่าจะต้องมีใครหรือผู้มีอำนาจมาควบคุม เราจึงจะบังคับตัวเอง แต่อำนาจชีวะนี้ทำงานได้ แม้ไม่มีผู้มีอำนาจมาบงการ คนเราก็ยังต้องบังคับและกำกับตัวเอง เพราะผู้ควบคุมไม่ใช่เป็นหน่วยอะไรที่มองเห็นได้ แต่เป็นระบอบความจริง

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว