รายละเอียด : อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงาน
อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงาน
ทำไมโต๊ะของคนที่ไม่เคยทำงานเกินเวลาถึงโล่ง สะอาด เพราะคนเหล่านี้รู้จักความลับของโต๊ะทำงานนั่นเอง โดยการจัดสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เหลือน้อยที่สุด (minimal) เช่น ลดจำนวนเครื่องเขียน ไม่เพิ่มพื้นที่เก็บของ หรือแยกพื้นที่ระหว่างสิ่งของที่ใช้ กับของที่ซื้อมาสำรอง เป็นต้น ศิลปะการจัดระเบียบสไตล์มินิมอล! ที่จะช่วยปลดพันธนาการคุณออกจาก กองเอกสารทั้งปวง
สารบัญ : อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงาน
- บทที่ 1 สร้างระบบไหลเวียนกระดาษ เช่น เอกสาร สมุดโน้ต และนามบัตร
- บทที่ 2 มินิมัลลิสต์บนโต๊ะทำงาน
- บทที่ 3 บริหารเวลาแบบมินิมัลลิสต์
- บทที่ 4 ชีวิตส่วนตัวสไตล์มินิมัลลิสต์
เนื้อหาปกหลัง : อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงาน
- เอกสารที่คั่งค้าง คือสัญญาว่าคุณทำงานไม่เป็น
- ปากกาที่มากไป แสดงว่าคุณใส่ใจอุปกรณ์มากกว่าผลงาน
- To Do List คือความล้มเหลวของระบบจัดการของสมอง
- เพิ่มพื้นที่ให้โต๊ะทำงาน=เพิ่มพื้นที่ให้สมอง
ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุปกรณ์เครื่องเขียนเปิดเผยความลับการจัดสิ่งของและโต๊ทำงานสไตล์มินิมัล ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกโล่งสบายและใช้ชีวิตง่ายขึ้นหลายเท่า ดังนี้
- แยก "การนำมาใช้" กับ "การจัดเก็บ" ออกจากกันอย่างชัดเจน
- ประยุกต์พื้นที่แคบๆ ให้ดูกว้างขึ้น
- เลือกสมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนให้เหมาะกับตัวเอง
- จดโน้ตให้อ่านเข้าใจง่ายและทำตามได้ทันที
ตัดความกังวลต่อสิ่งของที่ไม่สำคัญกลับคืนสู่ความเรียบง่ายแล้วคุณจะทำงานได้ดี และมีความสุขกว่าเดิม
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงาน
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราคงคุ้นเคยกับแนวคิด "มินิมัลลิสต์" ซึ่งหมายถึง ความเรียบง่ายที่มาจากการเก็บเฉพาะส่วนที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น และคัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แต่รู้ไหมว่า ความสุขจากแนวคิดมินิมัลลิสต์ไม่ใช่แค่การปรับวิถีชีวิตประจำวันให้น้อยแต่มากเท่านั้น แต่ยังนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
เรากำลังพูดถึงการจัดโต๊ะทำงานให้ "มีสิ่งของน้อย แต่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น" หลายคนอาจแย้งว่า โต๊ะทำงานรกๆ นี่แหละที่ช่วยกระตุ้นไอเดียเจ๋งๆ นั่นอาจเป็นกรณีเฉพาะสำหรับบางคนแต่ถ้าโต๊ะยังรกโดยที่ผลงานไม่ได้ดีไปด้วย ก็อาจเป็นสัญญาว่าถึงเวลาสะสางเอกสารที่กองสุมเป็นภูเขา คัดเลือกอุปกรณ์ทำงานที่ไม่จำเป็น (แต่ยังเก็บไว้เพราะคิดว่าสักวันคงได้ใช้) แล้วทิ้งหรือจัดการให้อยู่ถูกที่ถูกทาง คงจะดีไม่น้อยถ้าสิ่งของเหล่านั้นกลายเป็น "ตัวช่วย" ให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น แทนที่จะเป็น "ภาระ" อย่างที่เราเคยคิดมาตลอด
ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุปกรณ์เครื่องเขียน เปิดเผยความลับการจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังนี้ แยก "การนำมาใช้" กับ "การจัดเก็บ" ออกจากกันอย่างชัดเจน, ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสับเปลี่ยนภายในหัว, สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนที่ตามหามานาน, สรุปรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดให้เหลือเพียงอย่างเดียว
เชื่อเหลือเกินว่า เคล็ดลับในหนังสือเล่มนี้จะช่วยปลดพันธนาการคุณออกจากสิ่งของและกองเอกสารทั้งปวง เริ่มตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะตกใจกับผลลัพธ์จนไม่อยากเชื่อเลยแหละ
AMARIN HOW-TO