1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มหานครแห่งความคับแค้น

ผู้เขียน: จอร์จ ออร์เวลล์

สำนักพิมพ์: แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊ค

หมวดหมู่: วรรณกรรม , เรื่องสั้น

0 (0) เขียนรีวิว

243.00 บาท

270.00 บาท ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

สัมผัสโลกในดินแดนโอเชียเนียก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า นั่นคือแบบจำลองของการปกครองในบางประเทศของโลกในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง < แสดงน้อยลง สัมผัสโลกในดินแดนโอเชียเนียก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า นั่นคือแบบจำลองของการปกครองในบางประเทศของโลกในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

243.00 บาท

270.00 บาท
270.00 บาท
ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
352 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 21 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.428 KG
บาร์โค้ด
9786164341791

รายละเอียด : 1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มหานครแห่งความคับแค้น

1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มหานครแห่งความคับแค้น

‘1984’ เป็นวรรณกรรมการเมืองที่คลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่อง และลีลาการประพันธ์ที่ทั่วโลกยอมรับอีกเล่มหนึ่งของจอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งโดดเด่นและเข้มข้นจริงจัง รวมทั้งมีสีสันสำนวนการเขียนที่เสียดสีการปกครองอย่างสุดขีด มีการสร้างภาษาใหม่ด้วยการเล่นคำ ให้ผู้อ่านได้พึงใจกับนัยภาษาอย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่าภาษา ‘นิวสปีค’ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในแต่ละคำนั้นนอกจากต้องการสื่ออย่างมีนัยยะและเน้นหนักแล้ว ยังแฝงด้วยอารมณ์เสียดสี เยาะหยัน และขัดแย้งไว้ด้วย เช่น พี่เบิ้ม,เบิ้ม (Big Brother)  ย้อนแย้ง (Doublethink), อาชญากรรมความคิด (Thoughtcrime),  2 + 2 = 5 และหลุมความทรงจำ (Memory hole) เป็นต้น


เนื้อหาปกหลัง : 1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มหานครแห่งความคับแค้น

"1984" เป็นบันเทิงคดีการเมืองที่ดำเนินเรื่องภายใต้การสอดแทรกเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ด้วยนวัตกรรมแปลกใหม่ เช่น จอโทรภาพที่สามารถรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้ในเวลาเดียวกันเครื่องเขียนตามคำบอก เครื่องประพันธ์ร้อยกรอง และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ในการแก้ไขบิดเบือนความจริง รวมทั้งเครื่องมือในการทรมานนักโทษด้วย

อย่างไรก็ดี แม้ในยุค 1984 จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้ หากทว่าความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่นั้นกลับล้าหลัง สกปรก อัตคัด แร้นแค้น มีการแบ่งระดับชนชั้นอย่างชัดเจน ผู้ใต้ปกครองจะถูกกดทับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทุกประการโดยสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่าน การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น การตั้งคำถาม การรับสื่อหรือแม้กระทั่งการร่วมกิจกรรมทางเพศ

"1984" ถูกคัดเลือกให้เป็นหนังสือหนึ่งในร้อยนวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดของนิตยสารไทม์ ช่วงปี ค.ศ. 1923-2005 รวมทั้งยังเป็นงานวรรณกรรมที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่ 13 ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่อง (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายของคริสต์ศตวรรษที่ 20



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : 1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มหานครแห่งความคับแค้น

หากโลกนี้มียููโทเปีย ดินแดนแห่งอุดมคติที่มีแต่ความดีงามอยู่ในซีกโลกหนึ่งอีกซีกโลกหนึ่งควรจะบังเกิด "โอเชียเนีย" นครแห่งความอึดอัด คับแค้นขึ้นมา เพื่อให้เกิดความสมดุลซึ่งกันและกัน

โอเชียเนียเป็นรัฐใหญ่ที่มีความมั่งคั่ง และมีเทคโนโลยีที่ก้าวไกลประชาชนทุกคนล้วนอยู่ภายใต้การนำของ พี่เบิ้ม แห่งรัฐบาลอิงซ็อก แต่แม้ว่าโอเชียเนียจะดูเจริญก้าวหน้าสักเพียงใด หากทว่าประชาชนในประเทศนั้นกลับอัตคัด แร้นแค้น ทุกคนที่เป็นพลเมืองของที่นี่จะต้องมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน และดำเนินชีวิตตามคำสั่งของรัฐบาล "โดยปราศจากข้อสงสัย" หากเมื่อใดที่สงสัย เมื่อนั้นถือได้ว่าคุณคืออาชญากรทางความคิด!

"1984" คือนวนิยายเสียดสีการปกครองเผด็จการแบบสุดขั้วของ จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนและนักวิจารณ์การเมืองผู้สร้าง แอนิมอล ฟาร์ม ให้โลกเป็นที่โจษจันและวิพากษ์กันอย่างแพร่หลาย

"1984" ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1940 ซึ่งในช่วงนั้นนวนิยายเรื่องนี้ถูกขนานนามว่าเป็น "นวนิยายสมมติแห่งโลกอนาคต" ด้วยเนื้อเรื่องที่สอดแทรกแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอถึงความน่าสะพรึงกลัวของโลกอนาคต หากทว่าหลายปีต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องราวหรือแนวคิดหลายอย่างที่จอร์จ ออร์เวลล์กล่าวไว้ในนวนิยายได้กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเสียแล้ว

"1984" เล่มนี้มาแปลและเรียบเรียงขึ้นใหม่ในรูปแบบภาษาที่อ่านง่าย แต่ยังคงความเข้มข้นของเนื้อหาไว้เช่นเดิม และเมื่อสัมผัสโลกในดินแดนโอเชียเนียก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า นั่นคือแบบจำลองของการปกครองในบางประเทศของโลกในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว