SEWN SHIP เรือเครื่องผูก : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปี

ผู้เขียน: เอิบเปรม และ ยุวดี วัชรางกูร

สำนักพิมพ์: ยิปซี/Gypzy

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

288.00 บาท

320.00 บาท ประหยัด 32.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปีของชาวทะเลอาหรับกับชาวทะเลจีนใต้และชาวสยาม แกะรอยการเดินทางติดต่อค้าขายของบรรพชนสองซีกโลก < แสดงน้อยลง ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปีของชาวทะเลอาหรับกับชาวทะเลจีนใต้และชาวสยาม แกะรอยการเดินทางติดต่อค้าขายของบรรพชนสองซีกโลก
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

288.00 บาท

320.00 บาท
320.00 บาท
ประหยัด 32.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
384 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 20.9 x 2.1 CM
น้ำหนัก
0.467 KG
บาร์โค้ด
9786163016928

รายละเอียด : SEWN SHIP เรือเครื่องผูก : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปี

SEWN SHIP เรือเครื่องผูก : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปี

หลักฐานซากเรือเครื่องผูกเก่าแก่ที่สุด พบที่มหาพีระมิดแห่งกีเซ ประเทศอียิปต์ นักโบราณคดีชาวอียิปต์พบซากเรือ ทั้งภายในและภายนอกสุสานฟาโรห์คูฟู อายุราว 4,500 ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการต่อเรือเครื่องผูก อาจมีต้นกําเนิดในแถบทะเลแดง ก่อนแพร่กระจายไปยังอ่าวเปอร์เซีย มหาสมุทรอินเดีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา หมู่เกาะอินโดนีเซีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยรูปทรงของเรือมีรูปร่างแตกต่าง ไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ข้อมูลจากหนังสือ “Guide to the Pyramids of Egypt” เขียนโดย Alberto Siliotti จัดพิมพ์ปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) ที่ประเทศอียิปต์ อธิบายเกี่ยวกับซากเรือโบราณภายในมหาพีระมิดแห่งกีเซว่า เรือในแง่วัฒนธรรมไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะเป็นพาหนะสําหรับขนส่ง หรือใช้ในการประมงเท่านั้น หากมีนัยสําคัญเกี่ยวกับคติความเชื่อ นั่นคือเป็นพาหนะของเทพเจ้า


สารบัญ : SEWN SHIP เรือเครื่องผูก : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปี

    • บทที่ 1 แคมป์ข้างเมรุ กับ ซากเรือใต้บ่อกุ้ง
    • บทที่ 2 ตามรอย...ต้นทางเรือเครื่องผูก
    • บทที่ 3 เรือพันปี เชื่อมอดีตสองซีกโลก
    • บทที่ 4 บรรพชนแห่งดินแดนพระจันทร์เสี้ยว
    • บทที่ 5 บรรพชนแห่งลุ่มน้ำฮวงโหถึงลุ่มน้ำแยงซี
    • บทที่ 6 เส้นทางสายแพรไหมทางทะเล
    • บทที่ 7 เส้นทางสายเครื่องเทศของชาวยุโรป


รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : SEWN SHIP เรือเครื่องผูก : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์นับพันปี

เรือ เป็นหนึ่งปัจจัยที่ (ทุกบ้าน) ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นเรือเล็กหรือเรือใหญ่ ที่มีไว้ใช้ในครัวเรือนยามจำเป็น กระทั่งใช้เป็นพาหนะในการทำมาหากินหรือล่องเรือค้าขายสินค้าต่างๆ 3 ใน 4 ของน้ำที่มีอยู่บนโลกจึงเป็นเส้นทางการเดินเรือที่เชื่อมโยงโลกตะวันตกและทั่วทั้งโลกใบนี้ ประวัติศาสตร์ของเส้นทางการเดินเรือจึงมีที่มายาวนานกว่าจะมาสู่พัฒนาการของเรือในรูปแบบหลากหลายในยุคปัจจุบัน การนำพาของสายน้ำนี่เองที่ผลักนำให้การเดินทางของ เรือเครื่องผูก ให้เคลื่อนไหลผ่านกาลเวลามายาวนาน จากรูปลักษณ์หนึ่ง ค่อยๆ เปลี่ยนไป สู่อีกรูปแบบหนึ่งตามวันเวลา สถานการณ์และภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆ ตามแต่ความเหมาะสม

กว่า 4,500 ปีที่นักโบราณคดีชาวอียิปต์ได้พบซากเรือบริเวณสุสานฟาโรห์คูฟู นั่นอาจหมายความว่า เทคนิคการต่อเรือเครื่องผูกมีต้นกำเนิดมาจากแถบทะเลแดง ก่อนจะไหลเลื่อนไปยังย่านน้ำต่างๆ ทั้งแถบอ่าวเปอร์เซีย มหาสมุทรอินเดีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา หมู่เกาะอินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และมาถึงสยามประเทศ ดังที่กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นพบในพื้นที่ที่เป็นบ่อกุ้งของชาวบ้านในอำเภอพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปลายปี พ.ศ.2556 เป็น "ซากเรือเครื่องผูก" อายุราว 1,300-1,200 ปี ที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ที่สุดที่พบในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว

เรือที่ถูกขุดพบในบริเวณบ่อกุ้งลำนี้ตั้งชื่อตามเจ้าของสถานที่ที่ขุดพบคือ นายสุรินทร์และนางพนม ศรีงามดี จึงได้ชื่อว่า "แหล่งเรือโบราณพนมสุรินทร์" จากการขุดค้นครั้งนี้ นักวิชาการหลายคนลงความเห็นตรงกันว่า แหล่งเรือโบราณอายุเกินพันปีแห่งนี้ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมทางโบราณคดีที่ทรงคุณค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หรืออาจไม่ต่างกันมากจากยุคสมัยของกาหลิบฮารูน อัล รอชีด แห่งราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ และจักรพรรดิถังเจ๋อตง แห่งราชวงศ์ถัง ก็เป็นได้ แหล่งกำเนิด ที่มาที่ไป มีกลุ่มประเทศใดบ้างที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเรือเครื่องผูก และความจริงของเส้นทางการนำพาเรือพนมสุรินทร์ลำนี้มาสู่สยามประเทศ รวมถึงพัฒนาการเรือเครื่องผูกของเหล่าอาณาอารยประเทศจะเป็นเช่นไรนั้น เชิญผู้อ่านเปิดหนังสือเล่มนี้โดยพลัน

สำนักพิมพ์ยิปซี

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว