รายละเอียด : Burn-out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
Burn-out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
เมื่อใครสักคนมีท่าทางหดหู่ ปลีกตัว หรือนิ่งเฉย เรามักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก คงมีไม่กี่คนจะคิดว่านี่เป็นเพียงภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งไม่ใช่โรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟในการทำงานแค่รู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน ไม่มีใจ หมดแรงที่จะทำงานต่อไป ซึ่งอาการจะส่งผลต่อร่างกายได้ เช่น นอนไม่หลับ กังวลใจทุกครั้งที่ต้องไปทำงาน รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน สิ่งที่ต้องทำคือ เพิ่มทัศนคติด้านบวกให้กับตนเอง หยุดพักเพื่อจัดการความเครียด ออกกำลังกาย มองหาแรงบัลดาลใจ และปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น จัดโต๊ะใหม่ ปรับความสมดุลในชีวิต แยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้ชัดเจน หรือถ้ารับมือไม่ไหวก็ควรพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดอาการทางกายและใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าที่อาจเกิดตามมาได้
รับมือกับภาวะหมดไฟก่อนที่สุขภาพร่างกายและจิตใจจะทรุดโทรมไปมากกว่านี้
สารบัญ : Burn-out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
- เพราะภาระงานหรือบรรยากาศการทำงาน
- แท่งงานและสิ่งแวดล้อม
- แท่งงานและการจัดลำดับความสำคัญ
- แท่งงานและ Executive Function (EF)
- บรรยากาศการทำงานและอำนาจ
- บรรยากาศการทำงานและการแบ่งชั้นวรรณะ
เนื้อหาปกหลัง : Burn-out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นกลุ่มอาการที่เป็นผลรวมจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานที่ไม่สามารถจัดการให้ลุล่วงได้มีลักษณะ 3 ประการ
- มีความรู้สึกหมดพลังหรือหมดสิ้นเรี่ยวแรง
- ไม่รู้สึกรู้สากับงานมากขึ้น รู้สึกต่องานใหม่ในแง่ลบหรือต่อต้าน และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- ตามประกาศขององค์กรการอนามัยโลกล่าสุดให้ใช้กับเรื่องงาน อาชีพ ไม่ใช่กับประสบการณ์ด้านอื่นของชีวิต
หากใครพบว่าตนเองกำลังมีภาวะเหล่านี้ ขอให้รีบนำร่างกาย จิตใจ สมอง และสติกลับคืนมาโดยเร็ว เพื่อให้อาการเบิร์น-เอ๊าต์หนีหายไป และไฟกลับมาลุกโชนพร้อมลุยงานใหม่ได้อีกครั้ง
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : Burn-out Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน
"เบื่องาน เบื่อเจ้านาย เบื่อระบบงาน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อทุกอย่างในที่ทำงาน" ถ้าเคยมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่กำลังเสี่ยงหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงานถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายอีกครั้ง เมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ประกาศยกสถานะภาวะหมดไฟในการทำงานหรือเบิร์น-เอ๊าต์ ให้เป็นกลุ่มอาการที่เจาะจงเฉพาะเรื่องงาน อาชีพ นั่นแสดงให้เห็นว่าประชากรโลกวัยแรงงานกำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงานเพิ่มมากขึ้นทุกที
หนังสือ "ภาวะหมดไฟในการทำงาน" เล่มนี้จะเป็นคู่มือสำรวจตนเองและบุคคลใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงานในแง่มุมสุขภาพ หากใครพบว่าตนเองกำลังหมดไฟในการทำงาน ขอให้รีบนำร่างกาย จิตใจ สมอง และสติกลับคืนมาโดยเร็ว เพื่อให้อาการเบิร์น-เอ๊าต์หนีหายไป และไฟกลับมาลุกโชนพร้อมลุยงานใหม่ได้อีกครั้ง