คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

ผู้เขียน: มิยาโมโต้ มูซาชิ

สำนักพิมพ์: แอร์โรว์ มัลติมีเดีย

หมวดหมู่: บริหาร ธุรกิจ , การบริหารธุรกิจ

0 (0) เขียนรีวิว

171.00 บาท

190.00 บาท ประหยัด 19.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

ตำราเล่มนี้สอนวิธีคิด การจัดการซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำแบบนั้นได้อย่างไร < แสดงน้อยลง ตำราเล่มนี้สอนวิธีคิด การจัดการซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำแบบนั้นได้อย่างไร
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

171.00 บาท

190.00 บาท
190.00 บาท
ประหยัด 19.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
216 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 20.9 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.28 KG
บาร์โค้ด
9786164341883

รายละเอียด : คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

คัมภีร์ห้าห่วงและตำราพิชัยสงครามประจำตระกูลเป็นหนังสือสองเล่มที่สำคัญยิ่งในเรื่องของการต่อสู้และกลยุทธ์ซึ่งก่อกำเนิดมาจากวัฒนธรรมของนักรบชาวญี่ปุ่น ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นก็มิได้เขียนขึ้นสำหรับนักรบเท่านั้น พวกมันแสดงเจตนาที่ชัดเจนในการบอกเล่าขั้นตอนของการต่อสู้รวมถึงเรื่องราวของชีวิตและวิถีการดำเนินชีวิต

คัมภีร์ห้าห่วงเขียนขึ้นในปี 1643 โดย มิยาโมโต้ มูซาชิ นักรบผู้ไม่เคยแพ้พ่าย ซามูไรไร้สังกัด และอาจารย์ที่ไม่ขึ้นกับสำนักใด ตำราพิชัยสงครามประจำตระกูล เขียนขึ้นในปี 1632 โดย ยางิว มุเนโนริ นักรบผู้แกล้วกล้า ที่ปรึกษาของโชกุนและหัวหน้าของหน่วยสืบราชการลับ นักเขียนทั้งสองเป็นนักต่อสู้มืออาชีพที่เกิดมาท่ามกลางวัฒนธรรมการต่อสู้อันยาวนานซึ่งในที่สุดแล้วครอบงำการเมืองและสังคมทั้งหมดของญี่ปุ่น งานเขียนของพวกเขามิได้มีไว้เพื่อชนชั้นทหารซึ่งเป็นชนชั้นปกครองเท่านั้นแต่มีไว้สำหรับผู้นำทางด้านอื่นเฉกเช่นเดียวกับผู้ซึ่งแสวงหาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองไม่ว่าจะเลือกเดินบนเส้นทางใด


สารบัญ : คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

    • คัมภีร์ดิน
    • คัมภีร์น้ำ
    • คัมภีร์ไฟ
    • คัมภีร์ลม
    • คัมภีร์แห่งความว่างเปล่า
    • ดาบปลิดชีพ
    • ดาบให้ชีวิต
    • ไร้ดาบ

เนื้อหาปกหลัง : คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

"คัมภีร์ห้าห่วง" เขียนขึ้นโดย "มิยาโมโต้ มูซาชิ" นักรับผู้ไม่เคยแพ้พ่าย ส่วน "ตำราพิชัยสงครามประจำตระกูล" เขียนขึ้นโดย "ยางิว มุเนโนริ" นักรับผู้แกล้วกล้า คัมภีร์ทั้งสองเล่มนี้ เป็นหนังสือที่สำคัญยิ่งในเรื่องของกลยุทธ์และการต่อสู้ ซึ่งก่อกำเนิดมาจากวัฒนธรรมของนักรบชาวญี่ปุ่น โดยเนื้อหาชี้ให้เห็นถึงแนวทางการต่อสู้และการดำเนินชีวิตด้วยวิถีของซามูไรที่มีแบบแผนชัดเจน

นักเขียนทั้งสองเป็นนักต่อสู้ที่เกิดมาท่ามกลางวัฒนธรรมการต่อสู้อันยาวนานของญี่ปุ่นงานเขียนของพวกเขามิได้มีไว้เพื่อชนชั้นทหาร ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่มีไว้สำหรับผู้นำทางด้านอื่นๆ เฉกเช่นเดียวกับผู้ซึ่งแสวงหาการเรียนรู้เพื่อตนเอง ซึ่งไม่ว่าจะเลือกเดินบนเส้นทางใดก็สามารถมุ่งสู่ความสำเร็จในชีวิตได้อย่างแท้จริง



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : คัมภีร์ห้าห่วง THE BOOK OF FIVE RINGS

ผู้อ่านอาจเคยคุ้นกับตำราพิชัยสงครามของจีนกันมาพอสมควรแล้ว ครั้งนี้เป็นตำราพิชัยสงครามของญี่ปุ่นซึ่งเขียนขึ้นโดยนักรบผู้เป็นอาจารย์ของโชกุนและซามูไรผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เนื่องจากไม่เคยพ่ายแพ้แม้สักครา

จากประวัติการต่อสู้กว่า 60 ครั้ง ของมิยาโมโต้ มูซาชิ เขาไม่เคยแพ้เลยแม้แต่ครั้งเดียว มูซาชิเป็นซามูไรที่มีแบบแผนชัดเจน ฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะการฝึกจิตเพื่อเอาชนะศัตรูภายในตนเอง จึงมีความสามารถที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ทุกครั้ง และกล่าวกันว่ายอดซามูไรผู้นี้ไม่เคยหวีผม เขาใช้ชีวิตโดยสันโดษตลอดเวลาของการเป็นนักรบ

คำว่า "ชินเคน" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่า "ดาบจริง" แต่โดยทั่วไปแล้วในปัจจุบันมักถูกใช้เพื่อการเปรียบเปรย ในการทำสิ่งใดก็ตามโดยใช้ดาบจริงหมายถึง การกระทำซึ่งมีความมุ่งมั่นจริงจังที่สุด ทัศนคติที่เหมาะสมสำหรับดาบจริงคือการจริงจังอย่างที่สุด "ชินเคน โชบุ" แปลตรงตัวแล้วก็คือการประลองด้วยดาบจริง ซึ่งหมายความถึงบางสิ่งซึ่งกระทำอย่างจริงจังที่สุด

มีคำกล่าวกันว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงเด็ดเดี่ยวและมีทักษะความสามารถในการเอาชีวิตรอดและปรับตัวได้ดังเช่นที่พวกเขาเป็นอยู่ การฝึกปรือทางวัฒนธรรมภายใต้กฎการต่อสู้ของซามูไรในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ชาวญี่ปุ่นสามารถเผชิญและรับมือกับสถานการณ์ของความเป็นความตายแบบใดก็ได้ ตำราเล่มนี้สอนวิธีคิด การจัดการซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำแบบนั้นได้อย่างไร

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว