รายละเอียด : ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน
ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน
"โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูก ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่ทราบอาการจนกว่าจะมีกระดูกหักและเข้ารับการรักษาจึงทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ที่ผ่านมาเรามักเข้าใจว่าคนที่จะป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนต้องเป็นผู้หญิงสูงวัยและหมดประจำเดือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และพบผู้ป่วยได้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่และในเพศชายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโรคกระดูกพรุนจึงไม่ใช่โรคของผู้สูงวัยเพศหญิงอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีปัจจัยด้านการดำเนินชีวิตมาเป็นตัวกระตุ้นการเกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มคน เช่น การดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 3 แก้วต่อวัน ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋องต่อวัน ร่างกายไม่ถูกแสงแดดเลยในช่วงวัน ดังนั้นเราจึงควรรู้จักดูแลและบำรุงกระดูกของตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันและชะลอการเกิดกระดูกพรุนในอนาคต
การรู้จักสังเกต ตรวจสอบ และดูแลกระดูกของตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำอย่างถูกวิธี โดยคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาโรคกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่อาจกลายเป็นเรื่องร้ายแรงในอนาคตได้"
คำนำ : ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ทำให้เริ่มมีการเตรียมความพร้อมสำหรับประชากรกลุ่มนี้ในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขที่ต้องมีความพร้อมในการดูแลรักษา โรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยและ ต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์เป็นประจำ
โรคที่เกิดในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีส่วนมาจากพฤติกรรม ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว หากดูแลสุขภาพกายและใจเป็นอย่างดีในวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุย่อมทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความ เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้
หนึ่งในโรคที่เป็นภัยเงียบและมักเกิดในผู้สูงอายุคือ โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มวลกระดูกลดลง จนโครงสร้าง ภายในของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลง กระดูกเปราะบาง และ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในที่สุด
หลายคนมักเข้าใจว่า โรคกระดูกพรุนจะเกิดกับผู้สูงอายุ เพศหญิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้มีปัจจัยจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตในวัยหนุ่มสาวที่ทำซ้ำ ๆ มาเป็นเวลานาน ซึ่งไลฟ์สไตล์ ของหนุ่มสาวยุคใหม่มักมีการสังสรรค์ด้วยเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำอัดลม ชา และกาแฟเป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่ง ให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น
สารบัญ : ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน
- บทที่ 1 “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่พร้อมมาเยือนคุณทุกเมื่อ
- บทที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
- บทที่ 3 ทำความรู้จักการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคกระดูกพรุน
- บทที่ 4 แค่ “ปรับ” เท่ากับกระดูกแข็งแรง
- บทที่ 5 ที่นี่มีคำตอบเรื่องโรคกระดูกพรุน
รีวิวโดยผู้เขียน : ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุก็มีมากขึ้นตามลำดับ โรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ คือ โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนจัดเป็นภัยเงียบ หมายความว่า โรคนี้ไม่มีอาการหรืออาการแสดงใด ๆ จะมารู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนแล้ว
ตำแหน่งกระดูกหักที่พบบ่อยจากโรคกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อสะโพก การเกิดกระดูกหักเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และสังคม และยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย
ถึงแม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและคน รอบข้างเป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเหล่านี้ก็ยังไม่เคย ได้รับการตรวจและประเมินเรื่องโรคกระดูกพรุนเลย หลายคนยังคิดว่าโรคกระดูกพรุนเป็นเรื่องปกติที่พบในผู้สูงอายุ ทำให้ไม่ได้ มีการป้องกันและรักษาที่เหมาะสม และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
"หนังสือ ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน" เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน และใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะได้รับข้อมูลความรู้อันเป็นประโยชน์ ช่วยคลายกังวลและแก้ข้อสงสัยที่มีอยู่ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริง ในการเลือกปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนและหากเป็นแล้วจะได้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน นั่นคือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนนั่นเอง
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อาศิส อุนนะนันทน์
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ปรับชีวิต พิชิตโรคกระดูกพรุน