คุณปู่หลังความตายเป็นอย่างไรกันนะ?

ผู้เขียน: PIMM VAN HEST

สำนักพิมพ์: YF CULTURE

หมวดหมู่: หนังสือเด็ก , หนังสือภาพ นิทาน

4.5 (2) เขียนรีวิว

225.00 บาท

250.00 บาท ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

นี่คือหนังสือภาพที่จะทำให้เด็กๆ กล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นกับชีวิตของทุกคน < แสดงน้อยลง นี่คือหนังสือภาพที่จะทำให้เด็กๆ กล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นกับชีวิตของทุกคน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

225.00 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
36 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
29.5 x 21.5 x 0.8 CM
น้ำหนัก
0.402 KG
บาร์โค้ด
9786167976396

รายละเอียด : คุณปู่หลังความตายเป็นอย่างไรกันนะ?

คุณปู่หลังความตายเป็นอย่างไรกันนะ?

ผลงานเล่มใหม่ของ PiMM Van Hest นักเขียนชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้เขียน “ฉันกลืนความลับเอาไว้ในท้อง” หนังสือที่สอนให้เด็กมี Self-Empathy (เห็นอกเห็นใจตนเอง) และเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในผลงานใหม่เล่มนี้ PIMM Van Hest ได้ร่วมงานกับ Lisa Brandenburg นักวาดภาพประกอบชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ผลงานของเธอหลายเล่ม ได้รับการขายลิขสิทธิ์ไปยัง จีน เยอรมนี เดนมาร์ก อิจาลี รัสเซียฯลฯ

Maybe Dying is like Becoming A Butterfly by Pimm Van Hest (ความตายอาจจะคล้ายกับการกลายร่างเป็นผีเสื้อก็ได้นะ) เป็นหนังสือภาพที่ว่าด้วยการตั้งคำถามกับความตาย ซึ่งดูเหมือนจะไกลตัว ถ้าเราจะจับเข่าคุยเรื่องนี้กับเด็กๆ แต่ ปิมม์ ฟาน เฮสต์ กลับเห็นว่าเราสามารถเริ่มต้นคุยเรื่องความตายเช่นเดียวกับเรื่องสามัญอื่นๆ เช่น ความหลากหลายทางเพศ การคุกคามทางเพศ การกลั่นแกล้งรังแก การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหรือตนเอง

ความตายอาจมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นการสูญเสียสัตว์เลี้ยงแสนรัก การจากไปของเพื่อนร่วมชั้น  หรือกระทั่งการสูญเสียคนสำคัญในครอบครัว เด็กๆ อาจได้รับผลกระทบกระเทือนทางจิตใจ และกลายเป็นบาดแผลทางใจ (Trauma) ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเขาในอนาคต หากผู้ใหญ่อย่างเราไม่ได้เตรียมความพร้อมให้เด็กทำความเข้าใจกับความตายและจัดการกับเรื่องเหล่านี้อย่างผิดวิธี

มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การที่เราเริ่มเปิดอกพูดคุยกับเด็กเรื่องความสูญเสีย การจากลา หรือความตาย ได้เร็ว ก็ยิ่งเป็นการดีต่อเด็กมากเท่านั้น เราสามารถสร้างบทสนทนาเพื่อให้เด็กตั้งคำถาม และเราต้องค่อยๆ รับฟังและตอบคำถามพวกเขาอย่างตั้งใจ หากเราทำให้เรื่องความตายกลายเป้นเรื่องสามัญได้ เด็กๆ จะกล้าเปิดเผยความรู้สึกกับเรา หากพวกเขาตกอยู่ในความเศร้าหรือต้องสูญเสียอะไรบางอย่าง และมันจะทำให้พวกเขาเติบโตและเรียนรู้ความหมายของชีวิตได้ง่ายขึ้น

 

รีวิว


4.5
4.5 (2)
  • 5
    50 %
  • 4
    50 %
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว