ภววิทยาแม่น้ำโขง เขื่อน น้ำของ และผู้คน

ผู้เขียน: กนกวรรณ มะโนรมย์

สำนักพิมพ์: ศรีปัญญา/SRIPANYA

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

162.00 บาท

180.00 บาท ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

เนื้อหาของหนังสือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะเป็นหมุดหมายสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาและทำความเข้าใจสังคมต่อไปในอนาคต < แสดงน้อยลง เนื้อหาของหนังสือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะเป็นหมุดหมายสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาและทำความเข้าใจสังคมต่อไปในอนาคต
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

Tags: สังคมศาสตร์ , มานุษยวิทยา , สิ่งแวดล้อม , วัฒนธรรม , การเมือง

162.00 บาท

180.00 บาท
180.00 บาท
ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
222 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 21 x 1.3 CM
น้ำหนัก
0.298 KG
บาร์โค้ด
9786164860612

รายละเอียด : ภววิทยาแม่น้ำโขง เขื่อน น้ำของ และผู้คน

ภววิทยาแม่น้ำโขง เขื่อน น้ำของ และผู้คน

ภาวิทยาแม่น้ำโขง (Mekong Ontology) : เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน เป็นหนังสือที่ กนกวรรณ มะโนรมย์ ในฐานะผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการทำความเข้าใจสัมพันธภาพของ สภาวะ ในการอยู่ร่วมสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น อันจะชวนให้ผู้อ่านหวนกลับมาทำความเข้าใจและตั้งคำถามกับการศึกษาทางสังคมศาสตร์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ยากจะแยกขาดกับสรรพสิ่งโดยรอบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

หนังสือเล่มนี้ ได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ ที่ช่วยให้เนื้อหาของหนังสือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะเป็นหมุดหมายสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาและทำความเข้าใจสังคมต่อไปในอนาคต


สารบัญ : ภววิทยาแม่น้ำโขง เขื่อน น้ำของ และผู้คน

    • บทนำ ทำไมต้อง ภววิทยาแม่น้ำโขง?
    • บทที่ 1 มุมมอง: การซ้อนทับระหว่าง เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน
    • บทที่ 2 สรรพสิ่งในแม่น้ำของ
    • บทที่ 3 ผู้กระทำการ กับ แม่น้ำผู้ (ไม่) ทันสมัย
    • บทที่ 4 ความยากจน จาก การไม่เป็นสมัยใหม่ ของแม่น้ำโขง
    • บทที่ 5 คลี่: การประกอบสร้างเทคโนโลยีเขื่อนน้ำของ
    • บทส่งท้าย

เนื้อหาปกหลัง : ภววิทยาแม่น้ำโขง เขื่อน น้ำของ และผู้คน

ภววิทยาแม่น้ำโขง ตั้งคำถามสำคัญต่อการทำความเข้าใจพลวัตและความสัมพันธ์ที่คร่อมข้ามโลกของนิเวศ วัฒนธรรม การเมือง และ เทคโนโลยีในลุ่มน้ำโขง กนกวรรณ มะโนรมย์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดในการศึกษาทำความเข้าใจประเด็นปัญหาในลุ่มแม่น้ำโขงมายาวนานชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาลุ่มน้ำ ภายใต้อภิมหาโครงการของ ความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งประกอบสร้างขึ้นจากวาทกรรมการพัฒนา ความรู้เชิงเทคนิค นโยบายและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค การจัดการระบบนิเวศผ่านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการคัดง้างเชิงอำนาจผ่านปฏิบัติการของชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม กนกวรรณเสนอให้พิจารณา ความยากจน ในฐานะผลผลิตของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความล้มเหลว ไม่เพียงเฉพาะนโยบายการพัฒนาการเจรจาต่อรอง และการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเท่านั้น ที่ซึ่งโลกถูกตัดแบ่งระหว่างความเป็นเทคนิค-สังคม ธรรมชาติ-วัฒนธรรม แม่น้ำ-ผืนดิน และ ความรู้-ความเชื่อ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงนั่นเอง

-รองศาสตราจารย์ ดร.จักกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-

ภววิทยาแม่น้ำโขง เชื้อชวนให้เรากลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานะทางภววิทยาของแม่น้ำ ภววิทยาหมายถึง การเป็น โดยมีนัยถึงการชักชวนให้เราพิจารณาแม่น้ำโขงเสียใหม่ที่ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุของความรู้หรือทรัพยากรธรรมชาติ แต่แม่น้ำ มีชีวิต และชีวิตของแม่น้ำก็เฉกเช่นเดียวกับชีวิตอื่นๆ กรอบการวิเคราะห์ของหนังสือเล่มนี้จึงใหญ่กว่าเรื่องของแม่น้ำโขงและภูมิภาคศึกษา แต่กลับเป็นการตั้งคำถามถึงสภาวะสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการไหล ความเหลว ความขัดแย้ง และ ภาวะความผะอืดผะอม อันมีแม่น้ำเป็นตัวเชื่อมต่อสำคัญของความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนเกินกว่าจะลดทอนให้เป็นเรื่องของมนุษย์ ธรรมชาติ หรือเทคโนโลยีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

-รองศาสตราจารย์ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว