รายละเอียด : "มอง" ไม่ได้แปลว่า "เห็น" Ways of Seeing
"มอง" ไม่ได้แปลว่า "เห็น" Ways of Seeing
Way of Seeing เป็นหนังสือวิพากษ์ศิลปะขึ้นหิ้งที่จอห์น เบอร์เกอร์ นักวิจารณ์
ศิลปะระดับตำนาน จะพาคุณสำรวจวิถีแห่งการมองเห็นที่แตกต่างในแต่ละบุคคล
ผ่านผลงานศิลปะตั้งแต่ยุคภาพวาดไปจนถึงสื่อโฆษณา ความลุ่มลึก และการกระ
ตุกต่อมคิดในแง่มุมต่างๆ ทำให้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นแบบเรียนและเอกสารอ้าง
อิงที่วงการศิลปะทั่วโลกต้องศึกษา และในปี 2022 ที่ฉบับภาษาไทยได้ตีพิมพ์ก็
เป็นวาระครบรอบ 50 ปีของหนังสือเล่มนี้พอดี
จอห์น เบอรเกอร์ ชี้ให้เราเห็นวิถีการมองอันหลากหลาย ต่อให้เราและคนอื่นจะมอง
ภาพเดียวกัน แต่ภาพที่สะท้อนในสมองย่อมแตกต่างไปตามประสบการณ์ การเรียนรู้
หรือสภาพแวดล้อมของแต่ละคน เกิดความหมายที่ทวีคูณ และความจริงใจเวอร์ชัน
ต่างๆ อยู่ที่ว่าเราจะเชื่ออะไร
จอห์น เบอร์เกอร์ ยังวิพากษ์งานศิลปะในมิติทางการเมืองและลำดับชั้นทางสังคม
ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของภาพวาดที่ถูกยกย่องเป็นสินทรัพย์เลอค่าที่สงวนไว้เฉพาะ
ชนชั้นสูง การวาดภาพโป๊เปลือยของสตรีราวกับเป็นวัตถุทางเพศให้บุรุษแสดงอำนาจ
เหนือกว่า หรือขนบภาพวาดสีน้ำมันที่มักใช้เพื่อโอ้อวดความมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ
หนังสือเล่มนี้ยังตีความสื่อโฆษณาที่เชื่อมโยงโดยตรงกับระบบทุนนิยม โดยทำหน้าที่
ชักจูงชั้นกลางให้รู้สึกไม่พอใจสภาพปัจจุบัน และกระหายอยากได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์
ที่นำเสนอ เพื่อหวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนมากก็เป็นความเพ้อฝันที่เกินจริง
การอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่ต่างกับการเดินท่องไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะหลากหลายยุคใหม่
ที่เราจะได้ละเลียดชมผลงานพร้อมตีความภาพที่เห็น ซึ่งสะท้อนถึงวิถีมองโลกที่กว้าง
ขึ้น รวมถึงวิถีที่เรามองสะท้อนตัวเองด้วย
Sophia
เนื้อหาปกหลัง : "มอง" ไม่ได้แปลว่า "เห็น" Ways of Seeing
"ผู้เขียนสวมบทบาทของนักปรัชญา นักฟัง และบางครั้งก็เป็นนักมายากล
ผู้สร้างโลกอันเย้ายวนให้ปรากฏ และทำให้ภาพดลวงตาเลือนหาย"
-Oxford Culture Review-
John Berger นักวิจารณ์ศิลปะคนสำคัญของโลก ชวนขบคิดถึง "วิถีการมองเห็น"
ในภาพแทบทุกประเภทตั้งแต่งานศิลปะ ภาพถ่าย จนถึงงานโฆษณา
เคยไหม เวลาไปเยือนพิพิธภัณฑ์ศิลปะล้ำค่า แต่ไม่เข้าใจความหมายในภาพนั้น
ไม่รู้ว่าทำไมผลงานบางชิ้นถึงสูงทั้งมูลค่าและคุณค่า ขณะที่บางชิ้นจัดเป็นผลงาน
ดาษดื่น หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจบริบทที่ซุกซ่อนอยู่ในรูปภาพหลากหลาย
ประเภทเข้าใจปริศนาว่าทำไมภาพเหมือนของชนชั้นสูงถึงดูแข็งทื่อ ห่างเหิน และ
ไม่มีรอยยิ้มเลย และภาพวาดหญิงสาวเปลื้องผ้าตรงหน้านับเป็นภาพโป๊หรือภาพ
เปลือย และแม้แต่ภาพที่เห็นรอบตัวเราอย่างภาพโฆษณา
จอห์น เบอร์เกอร์ ก็จุดประเด็นให้เราเห็นว่ามันคือมาตรวัดสภาพสังคมเราอย่างไร
เช่น สังคมไร้ประชาธิปไตยมีส่วนกระตุ้นให้ผู้คนกระหายการบริโภคไม่จบสิ้น
นี่คือตำราคลาสสิกเกี่ยวกับการวิพากษ์ศิลปะที่ตัวมันเองกลายเป็นงานศิลปะ
ซึ่งมีชีวิตยืนยาวร่วมครึ่งศตวรรษ