รายละเอียด : แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส The Paris Library
แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส The Paris Library
"หนังสือคืออากาศบริสุทธิ์ที่เราสูด เพื่อให้หัวใจยังคงเต้น สมองยังคง
จินตนาการ และความหวังยังคงอยู่ต่อไป"
โอดีลทำงานในฝันที่ห้องสมุดปารีส ชีวิตแสนงดงามพังทลายเมื่อสงคราม
คืบคลานสู่ฝรั่งเศส หนังสือคือความหวังสุดท้ายของเธอและชาวปารีส
เรื่องราวความกล้าหาญบนหน้ากระดาษจึงเริ่มต้น
คำนำ : แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส The Paris Library
แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส เป็นนิยายอิงกับห้องสมุด
อเมริกันในปารีสซึ่งนำเสนออีกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสือเกี่ยวกับ
สงครามโลกครั้งที่ 2 อื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวของนักโทษในค่าย
กักกัน นี่คือเรื่องของกลุ่มบรรณารักษ์ของห้องสมุดที่พยายามทำทุก
อย่างเพื่อที่จะให้สมาชิกของห้องสมุดที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อที่
จะให้สมาชิกของห้องสมุดได้มีหนังสืออ่าน เพราะหนังสือคือเพื่อน
คือ ความบันเทิง คือการปลอบประโลม คือการหนีจากความจริงที่
แสนจะน่าเกลียด
นี่คือเรื่องราวที่สนุกสนานซึ่งนำเสนอผ่านตัวเอกสองตัวคือ โอดีล
บรรณารักษ์ชาวปารีสที่รักหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ กับลิลลี สาวน้อย
วัยรุ่นกำพร้าแม่ในชนบทอันไกลโพ้นในมอนแทนา สหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีคู่หูจอมแก่นที่จะมาสร้างความเฮฮา และทำให้หนังสือครบทุก
รส ทั้งสุข เศร้า ปริศนา ลึกลับ และที่แน่นอนคือเรื่องราวเกี่ยวกับ
หนังสือ หนังสือ และหนังสือ!
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส The Paris Library
"หนังสือก็เหมือนคน ถ้าไม่ได้พบปะเจอะเจอผู้คน ก็ไม่มีอยู่" ประโยค
ดังกล่าวจาก แล้วเราจะได้พบกันอีก ณ ห้องสมุดปารีส อธิบายการมี
อยู่ของสิ่งที่เราเรียกว่าหนังสือได้อย่างน่าขบคิด กล่าวคือ หนังสือจะ
ไม่มีความหมายเลยหากไม่มีผู้อ่าน นักอ่านเป็นเหมือนผู้เขียนความ
หมายให้วัตถุ ซึ่งความหมายที่ถูกเขียนออกมาย่อมไม่เหมือนกัน
ความหมายของหนังสือจึงเป็นสิ่งลืนไหล เปลี่ยนแปลงไปตามปัจเจก
บุคคล
นักอ่านจะพบว่าตัวละครในเรื่องต่างให้ความหมายต่อหนังสือแตกต่าง
กันไป บางคนมองว่าหนังสือเป็นสิ่งสำคัญต่อโลกเหลือเกิน บางคนโกรธ
ที่คนอื่นไม่เข้าใจในความรักต่อหนังสือของตัวเอง บางคนมองว่าหนังสือ
เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ บางคนพร้อมตายเพื่อปกป้องหนังสือ บางคน (หรือ
บางประเทศ) อยากแบนหนังสือเพราะมองว่าหนังสือทำให้สังคมเกิด
ความแตกแยก
การปะทะกันของความหมายตลอดทั้งเรื่องจะเชิญชวนให้เราตั้งคำถาม
ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะตัวละครทุกตัวในเรื่องต่างมีข้อผิดพลาดในตัวเอง
(Flawed Character) ความหมายที่พวกเขาสร้างให้หนังสือย่อมไม่ใช่
สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป จริงหรือที่เราทุกคนต้องรักในหนังสือเหมือนเธอ
จริงหรือที่หนังสือทำให้สังคมแตกแยกเหมือนที่คุณบอก จริงหรือที่หนังสือ
จะช่วยให้ทุกคนเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์คับขันเหมือนที่เธอเจอ
และเมื่อเราตั้งคำถามต่อทุกความหมาย ความยิ่งใหญ่ของหนังสือยิ่ง
ปรากฏชัดตรงหน้า หนังสือจะเป็นอะไรในสายตาใครก็ได้ เพราะไม่มีอยู่
จึงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะในท้ายที่สุด หนังสือนั้นกว้างใหญ่เกินกว่า
จะถูกตีกรอบอยู่ในความหมายใดความหมายหนึ่ง
ความคิดนี้อาจด้อยค่าตัวเรามากเกินไป ทำให้นักอ่านดูโดดเดี่ยวไร้ซึ้งพลัง
เพราะสิ่งที่เราอ่านไม่มีทางครอบคลุมความเป็นไปได้อันเป็นอนันต์ที่หนังสือ
มอบให้เราได้ แต่เพราะเหตุนี้เองไม่ใช่หรือที่จะทำให้เราอ่านหนังสือได้โดย
ปราศจากกรอบอันใด
แพรวสำนักพิมพ์