ตำรากลยุทธ์ทั้ง6 ของเจียงจื่อหยา(ปกแข็ง)

ผู้เขียน: เกียงจูเหย

สำนักพิมพ์: วารา

หมวดหมู่: จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง , การพัฒนาตัวเอง how to

0 (0) เขียนรีวิว

502.00 บาท

590.00 บาท ประหยัด 88.00 บาท (14.92 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 20 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Let’s Read หนังสือคุ้ม กับโค้ดลด คุ้ม คุ้ม ลดสูงสุด 30%*

Tags: วารา , เกียงจูเหย , จิตวิทยา , การพัฒนาตัวเอง , การพัฒนาตัวเอง , how to

502.00 บาท

590.00 บาท
590.00 บาท
ประหยัด 88.00 บาท (14.92 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 20 คะแนน

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
160 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.1 x 19.5 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.264 KG
บาร์โค้ด
9786168295793

รายละเอียด : ตำรากลยุทธ์ทั้ง6 ของเจียงจื่อหยา(ปกแข็ง)

  “หลิวเทา” เป็นตำราการทหารที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณของประเทศจีน เนื้อหาแบ่งออกเป็น 6 ตอน ได้แก่ • แผนการฝ่ายบุ๋น • แผนการฝ่ายบู๊ • แผนการมังกร • แผนการพยัคฆ์ • แผนการเสือดาว • แผนการสุนัข ตำราเล่มนี้เขียนโดยใช้รูปแบบบทสนทนาระหว่างกษัตริย์เหวินอ๋องแห่งแคว้นโจว กษัตริย์อู่อ๋อง และเจียงไท่กง (เจียงจื่อหยา) รวมเล่มเป็นโครงสร้างทฤษฎีทางการทหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นสารานุกรมทางการทหารและการปกครองในสมัยโบราณฉบับหนึ่ง ที่มีความสำคัญในฐานะสมบัติทางทฤษฎีการทหารสมัยโบราณของจีน และยังส่งผลต่อโลกยุคหลังเป็นอย่างมาก แวดวงวิชาการของจีนต่างก็เห็นว่า “หลิวเทา” เป็นตำราทางการทหารฉบับหนึ่งที่คนยุคหลังเขียนอ้างอิงถึง “เจียงไท่กง” ตำราดังกล่าวถูกเขียนขึ้นในปลายยุครณรัฐ (ยุคทำสงครามชิงดินแดนระหว่างรัฐต่าง ๆ) เป็นสิ่งล้ำค่าในบรรดามรดกทางวัฒนธรรมทางการทหารในสมัยโบราณของจีน และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัฒนธรรมดั้งเดิมอันโดดเด่น เจียงไท่กงเป็นบุคคลที่มีทั้งความสามารถและสติปัญญาล้ำเลิศ และยังเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ที่ “สูงส่ง ยิ่งใหญ่ และรอบรู้” ท่านหนึ่งในเวทีวรรณกรรมของจีน หนังสือแต่ละยุคในอดีตต่างก็ยอมรับบทบาททางประวัติศาสตร์ของท่าน นักปราชญ์ ผู้นับถือเต๋า ผู้ศึกษาธรรม ทหารและผู้คนทั่วสารทิศต่างก็ยอมรับท่านเป็นเหมือนบุคคลในสกุลเดียวกัน นับถือท่านเป็น “บรมครูทางตำราพิชัยสงคราม ปรมาจารย์ร้อยแซ่” จากการเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ทางวรรณกรรม ท่านได้มีบทบาทในโคลงกลอน นิทาน และละครงิ้ว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษที่เฉลียวฉลาดและกล้าหาญเป็นอย่างมาก เป็นเทพเจ้าแห่งการรบ เทพเจ้าแห่งสติปัญญาความเฉลียวฉลาด ได้รับการเคารพว่าเป็นเทพเจ้าผู้เฝ้าปกปักรักษาและคุ้มครอง ดังที่ว่า “ไท่กงอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็จะปราศจากสิ่งอันตราย” เจียงไท่กงมีบทบาทที่สูงส่งทางประวัติศาสตร์จีน เมื่ออ้างอิงถึงตำรา “หลิวเทา” ของท่าน ท่านก็มักจะได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการทหาร” “บิดาแห่งตำราพิชัยสงคราม” และ เป็น 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์สงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีน แม้แต่คัมภีร์ทางการทหาร “พิชัยสงครามซุนจื่อ” ที่เขียนขึ้นในยุคหลังจากนั้น ก็ได้อ้างอิงถึงแนวคิดทางการทหารจากตำรา “หลิวเทา”


สารบัญ : ตำรากลยุทธ์ทั้ง6 ของเจียงจื่อหยา(ปกแข็ง)

    กลยุทธ์ที่ 1 เหวินเทา : แผนการฝ่ายบุ๋น                                  
    • ลดความฟุ่มเฟือย
    • การปกครองประเทศ
    • หลักปฏิบัติของผู้นำ
    • ราชธรรม 6 ประการ
    • การรักษาประเทศชาติ
    • เทิดทูนบัณฑิต
    • ยกย่องบัณฑิต
    • การให้รางวัลและการลงโทษ
    กลยุทธ์ที่ 2 อู่เทา : แผนการฝ่ายบู้ 
    • คำสอนการปกครอง
    • หลักการปราบปราม
    • คุณสมบัติผู้ปกครองใต้หล้า
    • ข้อกังวลสามประการ            
    กลยุทธ์ที่ 3 หลงเทา : แผนการมังกร
    • กองทัพพระราชา
    • การเลือกเฟ้นแม่ทัพผู้มีคุณธรรม
    • การแต่งตั้งแม่ทัพ
    • อำนาจบารมีของแม่ทัพ
    • สัญญาณลับ
    • หนังสือลับ
    • อำนาจแห่งกองทัพ
    • กลลวงทหาร
    • บันไดเสียงทั้งห้า
    กลยุทธ์ที่ 4 หู่เทา : แผนการพยัคฆ์
    • ยุทโธปกรณ์
    • สามค่ายกล
    • รบฉับพลัน
    • การเคลื่อนไหว
    • ตัดขาดเส้นทาง
    • สงครามไฟ
    • กำแพงค่ายอ่อนแอ
    กลยุทธ์ที่ 5 เป้าเทา : แผนการเสือดาว
    • สงครามบนผืนป่า
    • ศัตรูที่แข็งแกร่ง
    • ทหารวิหกเมฆาคีรี
    • ยุทธวิธีวิหคเมฆานที
    • ยุทธวิธีกำลังพลกลุ่มน้อย
    • ยุทธวิธีสู้รบในที่อันตราย            
    กลยุทธ์ที่ 6 เฉียนเทา : แผนการสุนัข
    • การรวบรวมกำลังพล
    • การโจมตีเชิงรุก
    • ฝึกไพร่พล
    • สอนการต่อสู้
    • สมดุลกองทัพ
    • พลรถศึก
    • ทหารม้าออกศึก
    • ทหารราบออกศึก

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว