ภัสดานาง

ผู้เขียน: อุมาริการ์

สำนักพิมพ์: เป็นหนึ่งสำนักพิมพ์

หมวดหมู่: นิยาย , นิยายโรแมนติก

0 (0) เขียนรีวิว

306.00 บาท

360.00 บาท ประหยัด 54.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Let’s Read หนังสือคุ้ม กับโค้ดลด คุ้ม คุ้ม ลดสูงสุด 30%*

Tags: เป็นหนึ่งสำนักพิมพ์ , อุมาริการ์

306.00 บาท

360.00 บาท
360.00 บาท
ประหยัด 54.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
จำนวนหน้า
392 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.6 x 20.9 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.423 KG
บาร์โค้ด
9786168246795

รายละเอียด : ภัสดานาง

   เข็มขาวเป็นลูกสาวอนุภรรยาของขุนนางเล็กๆ ที่ไม่ได้อวยยศมาหลายปี ชีวิตราบเรียบเหมือนผิวน้ำในคลองยามลมสงบ จู่ๆ บุรุษที่มาสู่ขอนางถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏ บิดาเลยนำนางออกขาย เข็มขาวไม่อยากถูกตราหน้าว่าเป็นหญิงแพศยา จึงดิ้นรนหนี แต่บุรุษที่มาช่วยนางกลับเป็นเจ้าของโรงหญิงนครโสเภณี ซ้ำเขายังขอเธอมาเป็นเมียพระราชทาน


คำนำ : ภัสดานาง

     ใดโรงหนึ่งในจำนวนนั้น ส่วนนางเอกคือบุตรีขุนนางที่ถูกนำมาขายให้เป็นหญิงแพศยา โดยที่นางไม่ได้กระทำชั่ว และคนที่บิดานางขายให้ก็ไม่ใช่พระเอก ขณะเดียวกันนางก็มีความเกี่ยวพันกับออกหลวงผู้นั้น เรื่องราวจะเป็นเช่นไร
     แต่พอได้ธีมเรื่อง ได้พลอตหลัก พลอตรองเรียบร้อย และลงมือเขียน ดิฉันกลับพบว่างานชิ้นนี้ยิ่งเขียนยิ่งยาก และยากมากขึ้นไปอีกเมื่อสิ่งที่เขียนมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะ และเรื่องราวของอยุธยานั้นมีผู้รู้มากมาย ทั้งยังมีข้อเท็จจริงที่หลากหลาย ขึ้นกับว่าประวัติศาสตร์ช่วงนั้นจะถูกวิเคราะห์โดยใคร ถูกหยิบมามองในมุมไหน ขณะเดียวกันคำพูดคำจาตัวละคร ข้าวของเครื่องใช้ โรคภัยหยูกยา อาหารการกินและวิถีชีวิตคนที่ย้อนหลังไปราวสี่ร้อยกว่าปีก่อน ไปถึงสถานที่ตั้งบ้านเรือนของชนกลุ่มน้อย สายน้ำที่ไหลในลำคลอง เรือที่พวกเขาพาย ผ้าที่พวกเขานุ่งห่ม ตำแหน่งขุนนาง ศักดินา ราชทินนามต่างๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดิฉันคุ้นชิน ดิฉันจึงเลือกเล่าเรื่องนี้ โดยใช้ฉากเป็นอยุธยา
และที่ดิฉันเลือกใช้คำว่า อยุธยา แทน อโยธยา เพราะยึดจากแผนที่ซึ่งอาจารย์มานิต วัลลิโภดม และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เสนอเรื่อง การดำรงอยู่ของเมืองอโยธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จากการศึกษาหลากหลายแขนงวิชาและนำมาบูรณาการ ทำให้พบว่าอโยธยากับอยุธยานั้นตั้งอยู่คนละตำแหน่งกัน แผนที่อโยธยาไม่ครอบคลุมถึงปากคลองขุนละครไชยบ้านพระเอกของดิฉัน นอกจากนี้เอกสารทางประวัติศาสตร์บางชิ้น เช่น พระราชสาส์นลาวจากพระไชยเชษฐาถึงพระมหาจักรพรรดิ ก็เรียกอยุธยาไม่ใช่อโยธยา และนักวิชาการบางท่านก็ตั้งทฤษฎีว่าเพิ่งเปลี่ยนมาเรียก 'อยุทธยา' สมัยหลังเสียกรุง พ.ศ. 2112
ดิฉันเลยเลือกใช้คำว่า อยุธยา เวลาเอ่ยถึงเมืองในเรื่อง เพราะแม้ใน ภัสดานาง จะไม่ได้ระบุยุคสมัยหรือชื่อกษัตริย์ที่ปกครองในช่วงเวลานั้นโดยตรง แต่ช่วงเวลาที่ดำเนินในเรื่องเกิดหลังจากการเสียกรุงครั้งที่หนึ่งแน่นอน และดิฉันเองก็มีช่วงเวลาที่ปักหมุดไว้แล้วทว่าเลือกที่จะไม่เจาะจงลงไปในหน้านิยาย
นอกจากนี้ดิฉันยังพยายามไม่เขียนถึงบุคคลใดๆ ที่มีอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์เลย ชื่อยศ ตำแหน่งของขุนนางบางท่านที่เอ่ยถึงก็ถูกเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น ในประวัติศาสตร์ระบุว่า จมื่นสรรเพชญ์ภักดี กับจมื่นไวยวรนาถ คือตำแหน่งมหาดเล็กเวรขวา ดิฉันก็ได้แก้ราชทินนามของท่านเหล่านี้เสียใหม่ เพื่อสะดวกในการเชียนถึงและจดจำง่าย
และดิฉันได้พยายามใช้บทสนทนาที่เจือกลิ่นอายโบราณแค่เพียงเล็กน้อยพอให้ได้อรรถรสเท่านั้น
เรื่องราวต่างๆ ของบุคคลที่อยู่ในนิยายเรื่องนี้ รวมถึงการกระทำ การใช้ชีวิต คำพูดคำจาของพวกเขาล้วนเกิดขึ้นจากจินตนาการของดิฉันทั้งหมด ดังนั้นเรื่องราวบางช่วงบางตอนที่เกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับจดหมายเหตุหรือพงศาวดารบางฉบับ แต่การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ไม่ได้มาจากเจตนาที่จะบิดเบือน กล่าวหา หรือสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ใดหรือประวัติศาสตร์ช่วงใดทั้งสิ้น
ทั้งนี้เป็นเพราะ ภัสดานาง เป็นนิยายรัก ไม่ใช่สารคดีเชิงประวัติศาสตร์ เป็นนิยายที่ดิฉันตั้งใจแต่งให้คนอ่านได้เพลิดเพลินไปกับผู้คนและบ้านเรือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังคงงดงามสมกับคำว่า “กรุงศรีอยุธยายศยิ่งฟ้า”
       เพราะอยุธยามีประวัติศาสตร์ยาวนานถึงสี่ร้อยกว่าปี เรื่องราวบนแผ่นดินนี้ย่อมไม่ได้มีแต่ศึกรบ หรือประวัติศาสตร์เชิงสงคราม แต่ยังมีประวัติศาสตร์เชิงสังคม ทั้งศึกรัก ศึกระหว่างขุนน้ำขุนนาง ศึกระหว่างเชื้อพระวงศ์ ศึกระหว่างพ่อค้า ศึกระหว่างนางกำนัล หรือโสเภณี ไปถึงบุคคลอื่นๆ อีกมากมายให้เราได้ร่วมผจญภัยไปด้วยกัน เมื่ออ่านจบ ดิฉันหวังว่าทุกท่านจะได้รับความอิ่มเอมใจและหลงรักชีวิตชาวกรุงศรีอยุธยาเมื่อสามร้อยกว่าปีก่อนยิ่งขึ้นไปอีกจากนิยายเรื่องนี้
ด้วยรัก   อุมาริการ์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว