รายละเอียด : คณะทหารหนุ่มยังเติร์ก อุดมการณ์ ความฝัน ความจริง
คณะทหารหนุ่ม หรือ "ยังเติร์ก" เป็นกลุ่มนายทหารบกระดับนายพัน จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองหลัง 6 ตุลาคม 2519 จนถึงยุครัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
มีหลายความรู้สึกในขณะนั้นที่สอดคล้องและเห็นตาม เช่น ความรู้สึกหดหู่ต่อความตกต่ำของทหารหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมทั้งคำถามที่อยู่ในใจต่อบทบาทของ "นายทหารชั้นผู้ใหญ่" ของกองทัพในขณะนั้น
ยังมีความรู้สึกที่เหมือนถูกปลุกจากความชาชินใต้กรอบวินัยทหาร เมื่อได้ยินคำขวัญ "เราจะเสี่ยงเพื่อชาติและราชบัลลังกืโดยไม่หวังลาภสักการะใดๆ" ของคณะทหารหนุ่มที่อยู่ในช่วงวันใกล้เคียงกัน
เมษายน 2524 คณะทหารหนุ่มชะตาขาด แต่ก็ยังคงมีทั้งความสงสัยและคำถามที่ตกค้างอยู่อยู่ในใจมากมาย จนกลายเป็นแรงผลักดันเพื่อค้นคว้าหาคำตอบอย่างจริงจัง ทั้งจากเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเอกสารแวดล้อม ทั้งจากคำบอกเล่าของคณะทหารหนุ่มบางท่าน แต่ก็คอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า "ประวัติศาสตร์ ไม่มีพระเอก ไม่มีผู้ร้าย" จนเกิดเป็นงานค้นคว้าเล่มนี้
คำนำ : คณะทหารหนุ่มยังเติร์ก อุดมการณ์ ความฝัน ความจริง
คณะทหารหนุ่ม หรือ "ยังเติร์ก" เป็นกลุ่มนายทหารบกระดับนายพัน จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลัง 6 ตุลาคม 2519 จนถึงยุครัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร เขียนถึงบทบาทของคณะทหารหนุ่ม ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 14 (ฉบับปรับปรุงใหม่) สำนักพิมพ์มติชน ไว้ว่า
"กลุ่มนายทหารระดับกลางมีความสำคัญเพราะเป็นฝ่ายคุมกองกำลังและอาวุธ โดยนายพลที่แก่งแย่งอำนาจกันต้องพึ่งพานายทหารระดับกลางเหล่านี้ทั้งสิ้น 'คณะทหารหนุ่ม' หรือ ยังเติร์ก (Young Turk) นั้นเป็นนายทหารระดับกลางประมาณ 90 นาย ที่จับกลุ่มกันเมื่อต้นทศวรรษ 2510 และมีบทบาทสำคัญในการเมืองสมัยรัฐประหารหลัง '6 ตุลา' พวกเขาส่วนใหญ่จบการศึกษาจากโรงเรียนที่สหรัฐฯ และได้ไปรบกับเวียดกงที่เวียดนาม พวกเขารังเกียจคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ (หลายคนมีบทบาทในการสลายการชุมนุมเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 1519) และยังรังเกียจทุนนิยมอีกด้วย
สารบัญ : คณะทหารหนุ่มยังเติร์ก อุดมการณ์ ความฝัน ความจริง
ภาค 1 : อุดมการณ์
- บทที่ 1 Band of Brothers
- บทที่ 2 กำเนิดยามพระเจ้าหลับใหล
ภาค 2 : ความฝัน
- บทที่ 3 แล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ
- บทที่ 4 กบฏ เสธ. ฉลาด
- บทที่ 5 โค่นธานินทร์ ครั้งที่ 1 : ไม่สำเร็จ
- บทที่ 6 โค่นธานินทร์ ครั้งที่ 2 : สำเร็จ
- บทที่ 7 นายกรัฐมนตรีชื่อเกรียงศักดิ์
- บทที่ 8 ทหารประชาธิปไตย
- บทที่ 9 พ.ศ. 2521 จุดเปลี่ยน
- บทที่ 10 หมดเวลาเกรียงศักดิ์ ถึงเวลาเปรม
- บทที่ 11 อาทิตย์ขึ้นที่กรุงเทพฯ
- บทที่ 12 ปฏิญญา 27 มิถุนา
- บทที่ 13 ต่ออายุ
- บทที่ 14 ข้อมูลใหม่?
- บทที่ 15 ศึกสายเลือด
ภาค 3 ความจริง : รบเถิดอรชุน
- บทที่ 17 กลับเข้ารับราชการ
- บทที่ 18 "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
เอกสารอ้างอิง