รายละเอียด : ชลารักษ์บพิตร:การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทย
พื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยามีชุมชนเมืองตั้งอยู่ ซึ่งชุมชนเมืองเหล่านั้นนักวิชาการบางคนจะเรียกว่า “สังคมเมืองน้ำ” เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตและวิถีการผลิตของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้การจัดการน้ำจึงเป็นพันธกิจหนึ่งของผู้ปกครองในดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ได้ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการต่างๆ เพื่อมาจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงพิธีกรรม เช่น พิธีเสี่ยงทาย พิธีขอฝน พิธีขอขมาพระแม่คงคา พิธีไล่น้ำ ฯลฯ หรือในเชิงปฏิบัติ เช่น การขุดคลอง การสร้างประตูน้ำและเหมืองฝาย ไปจนถึงการใช้วิทยาการความรู้จากตะวันตก โดยการจัดการน้ำของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์นั้น มีความสัมพันธ์อย่างมากกับความชอบธรรมและอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครอง
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทด้านการจัดการน้ำโดดเด่นมาก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์หลายโครงการเกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ และด้วยพระราชกรณียกิจของพระองค์เช่นนี้เองที่นำมาซึ่งพระราชอำนาจนำเหนือสังคมไทย
คำนำผู้เขียน
1 ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับสังคม “เมืองน้ำ” ในประวัติศาสตร์ไทย
ความสำคัญและสมมติฐานของหนังสือ
สถานภาพองค์ความรู้และการเชื่่อมโยงประเด็นศึกษา
2 สังคม “เมืองน้ำ” ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและพระมหากษัตริย์ผู้เสด็จฯ มาใน “ฤดูน้ำ”
“ทุ่งน้้ำท่วม” ในเขตลุ่มน้้ำเจ้าพระยา
รัฐ อาณาจักร และผู้คนแห่งสังคม “เมืองน้ำ” จากกรุงศรีอยุธยาสู่กรุงเทพฯ
จาก “เทวราชา” สู่ “ธรรมิกราชาธิราช” และพระมหากษัตริย์ผู้เสด็จฯ มาใน “ฤดูน้ำ”
3 เทคโนโลยีและวิธีวิทยาในการบริหารจัดการน้ำสมัยจารีตถึงต้นรัตนโกสินทร์
“น้ำ” กับพระราชพิธีเพื่่อการบูรณาการรัฐ ละสังคมสมัยจารีต
“อาสยุชพิธี”: แข่งเรือเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
“จองเปรียงลดชุดลอยโคม”: ความต่อเนื่องของพิธีกรรมหลวงสู่ประเพณีราษฎร์กับความเชื่อเรื่องการเกื้อกููลต้นข้าวในนา
“ไล่เรือ-ไล่น้ำ”: การ “ปราบน้ำ” ด้วยกฤษฎาภินิหารของพระมหากษัตริย์
พระราชกรณียกิจว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำที่่สะท้อนภาพ “มนุษยนิยม” และ “เหตุผลนิยม” สมัยต้นรัตนโกสินทร์
4 ชลประทานหลวงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การขุุดคลองกับกระบวนการเปิดพื้นที่่นา พ.ศ. 2398-2440
จาก “โครงการรังสิต” ถึง “โครงการป่าสักใต้” เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการน้ำสมัยสมบููรณาญาสิทธิราชย์
5 “พระราชอำนาจนำ” กับ “การบริหารจัดการน้ำ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุุลยเดช
“พระราชอำนาจนำ” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
“พระราชอำนาจนำ” บนเส้นทางลอยฟ้า
โครงการขนาดใหญ่ด้านการบริหารจัดการน้ำยุุคสมัยแห่งการพัฒนาที่ยังไม่ปรากฏ “พระราชอำนาจนำ”
การบริหารจัดการน้ำในมิติ “พระราชอำนาจนำ”
ภาพสะท้อนพระราชอำนาจนำในโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่่อนขุนด่านปราการชล
6 บทสรุุป
บรรณานุุกรม