รักเอย

ผู้เขียน: รสมาลิน ตั้งนพกุล

สำนักพิมพ์: อ่าน/read

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

162.00 บาท

180.00 บาท ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

162.00 บาท

180.00 บาท
180.00 บาท
ประหยัด 18.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
107 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.6 x 21.1 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.25 KG
บาร์โค้ด
9786167158174

รายละเอียด : รักเอย

หนังสือ รักเอย จัดพิมพ์ครั้งแรกเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจของคุณอำพล ตั้งนพกุล หรือที่คนจำนวนไม่น้อยรู้จักในชื่อ “อากง” ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าวคือกระทำการใดๆ ที่ถูกตีความว่าเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ในประเทศที่เรียกระบอบการปกครองของตนว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” อย่างประเทศไทย คุณอำพลก็เป็นเช่นเดียวกับ
ผู้ต้องหาในคดีนี้ส่วนใหญ่ คือไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ถูกจองจำอย่างไม่แยแสต่อสุขภาพพลานามัย ต้องทำใจกับกระบวนพิจารณาคดีและพิพากษาที่ไพล่ไปสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และจะไม่มีวันได้รับอิสรภาพจนกว่าจะกราบกรานขอพระราชทานอภัยโทษ ไม่ว่าตนจะมีความคิดความรู้สึกอย่างไร และไม่ว่าจะกระทำ “ผิด” จริงหรือไม่ก็ตาม

จึงไม่น่าประหลาดใจ ที่เมื่อคุณอำพลต้องเสียชีวิตอย่างน่าสะเทือนใจในเรือนจำ ประชาชนผู้มีความรู้สึกรู้สมในทางมนุษยธรรมจึงได้ร่วมกันมาไว้อาลัยในพิธีศพอย่างล้นหลาม หนังสืออนุสรณ์ รักเอย ได้ถูกแจกจ่ายจนหมด และมีเสียงเรียกร้องให้จัดพิมพ์ใหม่เพื่อจำหน่ายทั่วไป สำนักพิมพ์อ่านจึงได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้ง โดยมอบค่าลิขสิทธิ์แด่
คุณรสมาลิน ตั้งนพกุล และจะมอบรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายให้แก่เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจาก
มาตรา 112 โดยในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รวมคำไว้อาลัยจากเพื่อนร่วมชะตากรรมในเรือนจำที่เคยพิมพ์อยู่ใน
ฉบับอนุสรณ์มาไว้ด้วย

รักเอย มิใช่คำประกาศท้ารบอันยิ่งใหญ่ พสกใดเล่าจะกล้าทายท้าต่อชะตากรรมอันอยุติธรรมที่กระทั่งจะเอ่ยนามก็ยังไม่ได้ ขณะเดียวกัน รักเอย ก็หาใช่การมาฟูมฟายให้ถูกเหยียดหยันว่าดราม่า หรือร้องขอความเมตตาให้ถูกครหาว่าสำออย แต่มันคือปากคำจากความทรงจำของ “หญิงผู้เป็นภรรยา” ที่แม้สูญสิ้นจนถึงที่สุดแล้วก็ยังยืนยันในศักดิ์ศรีอย่าง “ผู้หญิงที่ยังอยู่” ศักดิ์ศรีของครอบครัวคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำที่ผ่านการศึกษาในระบบเพียงน้อยนิด แต่ได้มาเรียนรู้ด้วยชีวิตถึงศักดิ์และสิทธิของความรัก ทั้งที่เป็นความรักอันไม่อาจลืมเลือนชั่วกาล และความรักที่ประหัตประหารจนสิ้นแล้ว.

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว