ตัวเลือกสินค้า

คำสิงห์ ศรีนอก

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 1 จาก 1 รายการ

คำสิงห์ ศรีนอก 
เกิด 25 ธันวาคม พศ. 2473 
อำเภอบัวใหญ่ จังหวัด นครราชสีมา
อาชีพ นักเขียน
นามปากกา : 
         - ค.ส.น.
         - ชโย สมภาค (ใช้เขียนร้อยกรอง)
         - ลาว คำหอม
 
ประวัติ :
         ลาว คำหอม เป็นนามปากกาในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของ คำสิงห์ ศรีนอก เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองบัวสะอาด ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เป็นลูกชายคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๗ คนของครอบครัวชาวนา
         คำสิงห์ ศรีนอก สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๖ จากโรงเรียนประจำอำเภอบัวใหญ่ เมื่อสมัครสอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ จึงสมัครเข้าเรียนแผนกวิชาการหนังสือพิมพ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         ขณะที่ศึกษาอยู่แผนกวิชาการหนังสือพิมพ์อยู่นั้น คำสิงห์ ศรีนอก ได้เริ่มงานเป็นผู้สื่อข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายวัน และเริ่มเขียนเรื่องสั้นในนามปากกา “ค.ส.น.” ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันจันทร์ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๓–๒๔๙๔
         ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เข้ารับราชการเป็นพนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเชียงใหม่
         พ.ศ. ๒๔๙๙ ลาออกจากพนักงานป่าไม้เขต กลับคืนกรุงเทพฯ ทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันค้นคว้ามหาวิทยาลัยคอร์แนล ประจำประเทศไทย
         พ.ศ. ๒๕๐๑ เริ่มเขียนเรื่องสั้น ในนามปากกา ลาว คำหอม เริ่มด้วยเรื่อง “คนพันธุ์” พร้อมกับการก่อตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทอง จัดพิมพ์รวมเรื่องสั้นในชุด “ฟ้าบ่กั้น” 
        เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารและเป็นผู้นำรัฐบาล   ระยะนั้นบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ต้องเข้มงวดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของนักคิด นักเขียน      คำสิงห์ ศรีนอก จึงได้ลดงานเขียนลงเกือบจะสิ้นเชิง ผลสุดท้ายกลับไปประกอบอาชีพเป็นชาวไร่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
       ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๓ บรรยากาศด้านการเมืองผ่อนคลายลงมาก คำสิงห์ ศรีนอก หวนกลับมาเขียนหนังสืออีกครั้ง เริ่มจากเขียนเรื่องสั้นชื่อ “เมื่อฟ้ามาโปรด” และยังคงประกอบอาชีพเป็นชาวไร่อยู่เช่นเดิม
       พ.ศ. ๒๕๑๙ ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคมขึ้น บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะที่ต้องกวดขันสิทธิ - เสรีภาพของนักคิดนักเขียนอย่างเข้มงวดอีกครั้ง คำสิงห์ ศรีนอก พร้อมครอบครัว จึงได้ขอลี้ภัยทางการเมืองไปพำนัก ณ ประเทศสวีเดน กล่าวกันว่าเป็นสมาคมนักเขียนที่ไม่ใช่จะให้ใครเป็นสมาชิกได้ง่ายนัก การเป็นสมาชิกของเขาจึงหมายถึง เกียรติคุณเป็นที่ยอมรับของสมาคมนักเขียนดังกล่าวเป็นอย่างมาก
       พ.ศ. ๒๕๒๔ เหตุการณ์ในบ้านเมืองกลับสู่สภาวะปกติ คำสิงห์ ศรีนอก และครอบครัวเดินทางกลับประเทศไทย เริ่มสานต่องานเขียนและยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศไทย
 
ผลงาน :  รวมเรื่องสั้นอันลือเลื่องชุด “ฟ้าบ่กั้น” (๒๕๐๑), นวนิยายเรื่อง “แมว” (๒๕๒๗), ตลอดจนผลงานเล่มอื่นๆ อาทิ “ลมแล้ง” (๒๕๒๙) และ “กำแพงลม” (๒๕๓๕) ล้วนเป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงความเป็นนักเขียนเชิงวิจารณ์สังคม ที่มีสายตาเฉียบคม ลุ่มลึกในคำนำของรวมเรื่องสั้นชุด “ฟ้าบ่กั้น” ฉบับตีพิมพ์เป็นภาษาสวีดิช  

     ลาว คำหอม กล่าวไว้ว่า เขากำลัง “…เขียนคำร้องทุกข์ โดยตั้งใจจะเสนอภาพความยากไร้ ความเสื่อมโทรม และความล้าหลังของชาวนา… ด้วยเจตนาจะเรียกขานมโนธรรมของชาวเมือง”

      ลาว คำหอม ได้ใช้ศิลปะการประพันธ์เสนอคำร้องทุกข์ โดยการสร้างสรรค์ให้เป็นเรื่องสั้นที่มีตัวละครเป็นชาวไร่ชาวนาในชนบท ซึ่งมีชีวิตที่ต้องต่อสู้กับภัยรอบด้าน ทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติและภัยจากสังคมเมือง ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแผ่ซ่านเข้าไปจู่โจมชีวิตของชนบทอย่างไม่ให้โอกาสตั้งตัวรับ ดังที่ปรากฏในเรื่อง “ฟ้าโปรด” “เขียดขาคำ” “คนพันธุ์” “นักกานเมือง” เป็นต้น

 - กระเตงลูกเลียบขั้วโลก (บันทึกต่างแดน)- กำแพง (รวมเรื่องสั้นและบทความ)

- กำแพงลม (ทรรศนะว่าด้วยเมืองและชนบท)

- นิทานชาวบ้าน – ลมแล้ง (เรื่องสั้น)

- ฟ้าบ่กัน (รวมเรื่องสั้น)

- แมว (นวนิยาย)

   งานของลาว คำหอม นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและนิยมยกย่องในวงวรรณกรรมไทยแล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงวรณกรรมต่างประเทศ โดยมีการแปลงานของเขาเป็นภาษาอังกฤษ สวีดิช เดนนิช ดัชท์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา มาเลย์ เยอรมัน (จัดพิมพ์ 6 เรื่อง) และภาษาฝรั่งเศส (จัดพิมพ์ 4 เรื่อง)
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว