ตัวเลือกสินค้า

ไพลิน รุ้งรัตน์

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ

ชมัยภร แสงกระจ่าง
วันเดือนปี เกิด : 5 มิถุนายน 2493
 ภูมิลำเนา : จันทบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน : 100/246 ซอย3 บี หมู่บ้านนักกีฬา แขวง/เขต สะพานสู. กทม.
โทรศัพท์ : 023682689/7358306
อีเมล : [email protected]
นามปากกา :  ชมจันทร์ ,นศินี  วิทูธีรศานต์, ไพลิน รุ้งรัตน์ ,บัวแพน , นันทพิสัย แสนดาว ,ชมัยภร แสงกระจ่าง
ประวัติ :   เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2493 ที่บลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี บิดาเป็นชาวสวน มารดาเป็นครู เดิมชื่อชมัยพร วิทูธีรศานต์ แล้วเปลี่ยนเป็นชมัยภร แสงกระจ่าง และบางคมบางในปัจจุบัน               
               จบชั้นประถมศึกษาตอนต้น  จากโรงเรียนวัดพลับ (จันทบุรชีบาอุทิศ) พ.ศ. 2502   เรียนต่อมัธยมตอนต้นที่โรงเรียน ศรียานุสรณ์  จันทบุรี  พ.ศ. 2508  ส่วนมัธยมตอนปลายไปเรียนที่กรุงเทพฯ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  พญาไท  พ.ศ. 2510   จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2514  
          เมื่อ พ.ศ. 2515 – พ.ศ.2513  ได้เข้ารับราชการที่กองกลางสำนักเลขาฯ คณะรัฐมนตรี  สำนักนายรัฐมนตรี  ในช่วงที่รับราชการอยู่นั้นได้เกิดคดีปลอมแปลงเอกสารของพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  จึงทำให้พลอยโดนคดีไปด้วย  จนทำให้ต้องออกจากราชการ   และได้ยึดอาชีพนักประพันธ์เป็นอาชีพหลัก   พร้อมทั้งยังได้มีการเชิญไปเป็นอาจารย์เพิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ  เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ฯลฯ
            พ.ศ. 2514  ได้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ  ในปี พ.ศ.2515  ได้เขียนงานวิจารณ์รวมเรื่องสั้นและบทร้อยกรองชุด “ความเงียบ”  ของสุชาติ  สวัสดิ์ศรี  นับเป็นงานวิจารณ์ชิ้นแรกในชีวิต  และในปีถัดมาได้เขียนวิจารณ์ในนิตยสารประชาชาติอยู่ช่วงหนึ่ง  มีงานรอยกรองร่วมกับคนอื่นๆ เช่น เฉลิมศักดิ์  ศิลาพร  สุรศักดิ์  ศรีประพันธ์  ธารี  ปิยพันธ์  จัมปาสุต  วรา  จันทกูล  ในชุด “ใบไม้แห่งนาคร”  ในนามปากกา “ชมจันทร์”  ปีพ.ศ. 2516  มีผลงานในการเขียนวิเคราะห์ผลงานเรื่องสั้นและบทกวีของนักเขียนร่วมสมัย  ให้กับชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ ต่อมามีสำนักพิมพ์รวมไปพิมพ์เผยแพร่ชื่อ  “วิเคราะห์วรรณกรรมแนวประชาชน”  ใช้นามปากกา “นศินี  วิทูธีรศานต์” ซึ่งภายหลังเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ได้กลายเป็นหนังสือต้องห้ามใน ๑๐๖ รายการของคณะปฏิวัติ 
            หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙   ประมาณปี ๒๕๒๑   สิทธิชัยและชมัยภร  แสงกระจ่าง ได้จัดตั้งกลุ่มวรรณกรรมพินิจขึ้น เป็นการรวมตัวของชาววรรณศิลป์ จุฬาฯ   ประมาณ ๑๕ คน และได้มีการอ่านเรื่องสั้นและบทกวีในรอบปีที่ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ ในรอบปี  และคัดเลือกขึ้นมาประกาศเป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยมประจำปี  คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เคยขอให้กลุ่มเขียนเป็นบทรายงานสั้น ๆ ลงนิตยสารโลกหนังสืออยู่ระยะหนึ่ง   กลุ่มวรรณกรรมพินิจได้คัดเลือกเรื่องสั้นอยู่ ๒ ปี ก็เลิกรากันไปเพราะคนในกลุ่มออกไปทำงานต่างจังหวัดหลายคน ในปี ๒๕๒๔  คุณพรชัย วีระณรงค์ บรรณาธิการนิตยสารสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ในสมัยนั้นได้เปิดคอลัมน์ให้กลุ่มวรรณกรรมพินิจ  ทำให้เกิดกลุ่มนักวิจารณ์   ชมัยภร  แสงกระจ่าง ใช้นามปากกา ไพลิน  รุ้งรัตน์ วิจารณ์หนังสือ  พร้อมด้วย    วิจักขณ์ ประกายเสน  เวณุวัน  ทองลา  กรรแสง เกษมศานต์  ชีรณ คุปตะวัฒนะ  เพียงทัศน์  พินทุสร  คำดี เขมวนา     เป็นต้น  นับแต่นั้นมากลุ่มวรรณกรรมพินิจก็มีคอลัมน์วิจารณ์ประจำในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์   และมีไพลิน รุ้งรัตน์ เป็นผู้เขียนบทวิจารณ์เจ้าประจำ  ส่วนคนอื่น ๆนั้น ๆ ค่อยเขียนน้อยลง ๆ และเลิกราไปในที่สุด
          นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์อื่นๆ อีกหลายประเภท  หลายเล่มได้รับรางวัลงาสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ  เช่น  วรรณพินิจ – กฤษณา  อโศกสิน  บ้านหนังสือในหัวใจ  ในนาม  “ไพลิน  รุ้งรัตน์”  ร้อยกรองเรื่อง มิเหมือนแม้นอันใดเลยในนาม  “ชมจันทร์”  และนวนิยายเรื่อง  บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย  ในนามชมัยพร  แสงกระจ่าง  โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง  “บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย  มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์  และประสบความสำเร็จอย่างมาก
         ชมัยภร  แสงกระจ่าง เขียนบทวิจารณ์ระหว่างปี ๒๕๒๑ จนถึงปี ๒๕๓๘ (สิ้นสุดปีที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อนิจกรรม  และมีการเปลี่ยนตัวบรรณาธิการบริหารนิตยสาร)) รวมระยะเวลาที่เขียนบทวิจารณ์ประมาณ ๑๗ ปี บทวิจารณ์ที่ไพลิน รุ้งรัตน์ เขียนมีมากกว่า  ๕๐๐ ชิ้น  ทั้งหมดเป็นการวิจารณ์หนังสือเล่มในแต่ละยุคแต่ละสมัย  มีการรวมเล่มเพียงครั้งสองครั้งคือ  ปรากฎการณ์แห่งกวี เป็นการรวมบทวิเคราะห์กวีนิพนธ์ร่วมสมัย รวมเมื่อปี ๒๕๓๐  กับ วรรณพินิจ:กฤษณา อโศกสิน  เป็นการรวมบทวิจารณ์ผลงานของกฤษณา อโศกสิน  รวมเมื่อปี ๒๕๓๒  เล่มหลังได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดี  จากการประกวดหนังสือประจำปี ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ    ส่วนผลงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับการอ่านที่ใช้นามปากกา ไพลิน รุ้งรัตน์ และรวมเล่มก็คือบ้านหนังสือในหัวใจ   อันเป็นบันทึกความทรงจำของนักอ่านเกี่ยวกับหนังสือที่ได้อ่าน   
       สมรสกับคุณสิทธิชัย แสงกระจ่างที่เปลี่ยนชื่อเป็นดลสิทธิ์ บางคมบาง ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นนักเขียนนักแปลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง มีบุตรสองคน คือ บุตรสาว "กว่าชื่น" และบุตรชาย "กล้าก้าว"   และได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์  ”คมบาง” เพื่อจัดพิมพ์ผลงานของตัวเองและคนใกล้ชิด  รวมทั้งทำงานให้กับสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย  สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมในอีกหลายคณะ เช่น  กรรมการตัดสินและกรรมการคัดเลือกวรรณกรรมเพื่อรับรางวัลซีไรต์  รางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ  และร่วมเป็นคณะอนุกรรมการเผยแพร่วรรณกรรมไทยไปยังต่างประเทศเพื่อเกียนติภูมิ  ของคณะกรรมการเอกลักษณ์ไทย
        ปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา   ชมัยภร แสงกระจ่างเขียนนวนิยายต่อเนื่องอย่างจริงจัง  โดยเป็นนักเขียนนวนิยายประจำในนิตยสารสกุลไทย และนิตยสารขวัญเรือน  หลังจากตีพิมพ์เป็นตอน ๆแล้วจึงรวมเล่ม  ปัจจุบันมีนวนิยายรวมเล่มแล้ว ๓๐ เล่ม  รวมผลงานที่รวมเล่มอื่น ๆ ด้วยแล้วประมาณ ๔๐ เล่ม  ในปี ๒๕๔๖  ชมัยภร แสงกระจ่าง  ได้เขียนสารคดี ประวัติการสร้างสรรค์ผลงานของ “กฤษณา อโศกสิน” ในชื่อเล่มว่า  แกะลายไม้หอม  “กฤษณา อโศกสิน”
ผลงาน :  งานเขียนครั้งแรก
      งานเขียนงานวิจารณ์รวมเรื่องสั้นและบทร้อยกรองชุด “ความเงียบ” ของสุชาติ  สวัสดิ์ศรี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
            ผลงานรวมเล่ม
               ๒๕๑๖- ใบไม้แห่งนาคร (บทกวี) ร่วมกับคนอื่น ๆ
               ๒๕๑๙- วิเคราะห์วรรณกรรมแนวประชาชน (บทวิจารณ์) ใช้นามปากกา"นศินิ วิทูธีรศานต์"ใช้ครั้งเดียวแล้วไม่ได้ใช้อีกเลย
               ๒๕๒๕- เส้นทางของแม่ (นวนิยายขนาดสั้น) ใช้นามปากกา "แสนดาว" (นามปากกานี้ใช้ครั้งเดียวเช่นกัน)
               ๒๕๓๐- ปรากฏการณ์แห่งกวี (บทวิจารณ์)
               ๒๕๓๑- ๗ วันคดีเครื่องราช ฯ(บันทึกชีวิตจริง)
               ๒๕๓๒- ญ หญิงอดทน (รวมเรื่องสั้น)
               ๒๕๓๓-ผู้หญิงนะ (รวมเรื่องสั้น)
               ๒๕๓๔- บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย (วรรณกรรมเยาวชน)(รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น  จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ) สร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หนึ่งในห้าร้อยเล่มหนังสือดีของสมาพันธ์องค์การเพื่อการพัฒนาหนังสือและการอ่าน
               ๒๕๓๖- หนูน้อยตัวหนังสือ (บทกวี)
               ๒๕๓๗- คนในบ้านหนังสือ (สารคดีเชิงวรรณศิลป์)
               ๒๕๓๘- นางสิงห์มอเตอร์ไซค์ (รวมเรื่องสั้น)
               ๒๕๓๙- อ่านหนังสือเล่มนี้เถอะ..ที่รัก (นวนิยายสำหรับนักอ่าน-ไพลิน รุ้งรัตน์) (รางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น  จากคณะ    กรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ)
                               - บ้านไร่เรือนตะวัน (นวนิยาย) (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ )
                               - หน้าต่างสีชมพู ประตูสีฟ้า (นวนิยาย)(สร้างเป็นละครโทรทัศน์)
                               - มุมดี ๆของชีวิต (เรื่องสั้น ๆ_ไพลิน รุ้งรัตน์)
             ๒๕๔๐-  จากดวงตาดอกไม้ (นวนิยาย)
                             - ตะวันขึ้นที่ภูพระบาท (นวนิยาย)
             ๒๕๔๑- อรุณในราตรี (รวมบทกวี)
                             จดหมายถึงดวงดาว (นวนิยาย) (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ )
             ๒๕๔๒ - เช้าชื่น คืนฉาย (นวนิยาย)
                             - สู่ดวงใจแผ่นดิน (นวนิยาย)
                             - ดั่งมีงานเริงรื่น (เรื่องสั้น)
              ๒๕๔๓- กระท่อมแสงเงิน (นวนิยาย)(สร้างเป็นละครโทรทัศน์)
                             - บ้านนี้มีหมากับแมว (นวนิยาย)
                             - ปากไก่ลายทอง (สารคดี)
                             - ดอกไม้ในสายธาร (สารคดีธรรมะ)
               ๒๕๔๔- หมู่บ้านคนฝันดี (นวนิยาย)
                              - มิ่งมิตรในสวนดอกไม้ (นวนิยาย)
                              - วุ่นวายสบายดี (นวนิยาย) รอสร้างเป็นละครโทรทัศน์
                              - โลกนี้น่ารัก (วรรณกรรมเยาวชน)
                              - จอนิ โอ่โดเชา ปราชญ์นักสู้แห่งภูเขา (สารคดี)
                ๒๕๔๕- ส้มโอ น้าหมู หนูแมว (วรรณกรรมเยาวชน)
                              - เช้าครึ่งชาม เย็นครึ่งชาม (นวนิยาย)
                              - ห้องนี้รื่นรมย์ (นวนิยาย)
                ๒๕๔๖- สวัสดีข้างถนน (วรรณกรรมเยาวชน) (รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กอายุ ๑๔-๑๘ ปี จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๖)
                               -  ฤดูร้อน...มีดอกไม้บาน (นวนิยาย)
                               - แบ่งฟ้า ปันดิน (นวนิยาย)
                               - แกะลายไม้หอม กฤษณา อโศกสิน (สารคดี)
                  ๒๕๔๗- ริบบิ้นเขียวกับกล่องกระดาษแดง (นวนิยายเยาวชน) (สร้างละคร)
                                 - ยามบ่ายวันเสาร์ ยามเช้าวันอาทิตย์ (นวนิยาย)
                                 - แมวดำในสวนสีชมพู (นวนิยายเยาวชน)
                  ๒๕๔๘- บานไม่รู้โรย (นวนิยาย)
                                 -  ปุยนุ่นกับสำลี (นวนิยาย)
                 ๒๕๔๙ กุหลาบในสวนเล็ก ๆ คุณยายหวานซ่าส์  รังนกบนปลายไม้
 งานที่ได้รับรางวัล
-  วรรณพินิจ กฤษณา อโศกสิน (บทวิจารณ์) (รางวัลชมเชย ประเภทสารคดี จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๒)
-  บ้านหนังสือในหัวใจ (สารคดี) (รางวัลชมเชย ประเภทสารคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๓ )
-   มิเหมือนแม้นอันใดเลย (บทกวี) รางวัลชมเชย ประเภทบทกวี จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๓)
-   บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย (วรรณกรรมเยาวชน)(รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น  จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๔ )
-    อ่านหนังสือเล่มนี้เถอะ..ที่รัก (นวนิยายสำหรับนักอ่าน-ไพลิน รุ้งรัตน์) (รางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๙)
-    บ้านนี้มีรัก ( วรรณกรรมเยาวชน)(รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ )
-    พระอาทิตย์คืนแรม (นวนิยาย) (รางวัลชมเชย ประเภทนวนิยาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๓ )
-    คุณปู่แว่นตาโต (วรรณกรรมเยาวชน)(รางวัลดีเด่น ประเภทบันเทิงคดี
                  สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น  จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
                  พ.ศ.๒๕๔๓
-     ป้าจ๋า โก้ ติ๊ดตี่ น่ะจ้ะ (วรรณกรรมเยาวชน) (รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๔ )
-    แม่ลูกปลูกต้นไม้ (สารคดี) (รางวัลชมเชย ประเภทสารคดี สำหรับเด็กอายุ ๑๔-๑๘ ปี จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ )
-     สวัสดีข้างถนน (วรรณกรรมเยาวชน) (รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดี สำหรับเด็กอายุ ๑๔-๑๘ ปี จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖)
-    ในสวนฝัน (รวมเรื่องสั้น) (รางวัลชมเชย ประเภทเรื่องสั้น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ )
 -     เด็กหญิงแห่งกลางคืน (นวนิยายเยาวชน) (รางวัลชมเชย ประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กอายุ ๑๔-๑๘  จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๘ )
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว